เปรียบเทียบไตร่ตรองกับเจตนาฆ่าต่างกันที่ตรงไหน
ธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟซบุ๊กแย้งตำรวจคดีชายพิการถูก 6 โจ๋รุมฆ่า ชี้เข้าข่ายเป็นฆ่าโดยไตร่ตรองได้ พร้อมยกฎีกาเทียบ แต่ในที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับศาลเป็นสำคัญ
นาย ธวัชชัย ไทยเขียว พล.ต.ท ศานิตย์ มหถาวร
เฟซบุ๊ก ธวัชชัย ไทยเขียว ของนายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้โพสต์ความเห็นเกี่ยวกับคดี 6 วัยรุ่นรุมฆ่าชายพิการ โดยระบุฎีกาตัดสินคดีไตร่ตรองไว้ดังนี้
#ไตร่ตรองหรือไม่ดูง่ายมาก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและถกแถลงแบบสมานฉันท์สันติวิธีวัฒนธรรม จึงนำมาแชร์ครับ..!!!
คดีนี้ คงเป็นที่ชัดเจนว่า พนักงาน
สอบสวน ไม่เห็นว่าเป็นการฆ่าโดย
ไตร่ตรองไว้ก่อน #เหตุผลคือ ยัง
ไม่มีพยานหลักฐานว่าเป็นการไตร่
ตรองไว้ก่อน
แต่ผมกลับเห็นตรงข้ามกับพนักงาน
สอบสวน ตอนแรกๆผมไม่ฟันธงว่า
ไตร่ตรองหรือไม่ จนกระทั่งมีคลิป
ของธนาคารฯ ที่อยู่บริเวณนั้นเผย
แพร่ออกมา
#ปรากฏว่า ผู้ต้องหามีการโทรศัพท์
และยืนรออยู่ #สักพัก เพือรอพรรคพวก
ที่จะตามมาพร้อมกับอาวุธมีดดาบ
พฤติการณ์ที่ “ยืนรอสักพัก” ตรงนี้ถือ
ว่าเกี่ยวข้องกับระยะเวลาซึ่งสอดคล้อง
กับ #หลักเกณฑ์ของศาล ที่ใช้พิจารณา
ว่าไตร่ตรองหรือไม่
ศาลฎีกา ถือหลักเกณฑ์ 2 ประการ
ในการชี้ขาดว่าเป็นไตร่ตรองหรือไม่
1.#ระยะเวลาก่อนเกิดเหตุ
2.มีการวางแผนก่อนเกิดเหตุ
ต้องเข้าใจก่อนว่า กฎหมายไม่เคยมีคำ
จำกัดความของ การไตร่ตรอง ว่ามีความ
หมายแบบใด ดังนั้น #แนวฎีกา จึงสำคัญ
เพราะจะบอกเราว่า ศาลตีความกฎหมาย
ไว้อย่างไร มาดูกันว่า กรณีที่นอกจากการ
วางแผนแล่วนั้น ศาลตีความเรื่องระยะ
เวลาอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 218/2527
“…หลังจากทะเลาะกัน ผ่านไป
10 นาที จำเลยกลับมาใช้ปืน
ยิงผู้เสียหาย
ถือว่า ระยะเวลา 10 นาที เพียง
พอที่จะทำให้จำเลยคิดและมีสติ
ได้ จึงถือว่าเป็นการไตร่ตรอง…”
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 834/2520
“…หลังจากทะเลาะกัน ผ่านไป
10 นาที จำเลยกลับมาพร้อม
ปืนมายิงผู้เสียหาย
ถือว่า จำเลย #มีโอกาส ไตร่ตรอง
คิดทบทวนดีแล้ว ในช่วงเวลา 10
นาที ดังกล่าว จึงถือว่าไตร่ตรอง
ไว้ก่อน…”
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1248/2509
“…จำเลยเกิดโทสะไปแล้ว ความคิด
#ต่อจากนั้น จึงเป็นเรื่องของการคิด
ไตร่ตรอง
จะมาอ้างว่ายังมีโทสะอยู่ ไม่ได้…”
คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2217/2556
“…การที่มีเวลาคิดไตร่ตรอง ย่อม
จะไม่ใช่เกิดเหตุปัจจุบันทันด่วน…”
Cr.คดีโลก คดีธรรม
หมายยเหตุ :: ทั้งหมดต้องดูข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตามวีคลี่นิวส์ออนไลน์ ได้ค้นข้อก.ม ในการแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กับการแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” มาตรา 289 (4) นั้นมีความแตกต่างในผลของคดีอย่างไร เพราะโทษของทั้งสองข้อหา ก็มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตเท่ากัน
การแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กับการแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” มาตรา 289 (4) นั้นมีความแตกต่างในผลของคดี แม้ว่าจะมีโทษประหารเช่นกัน แต่กฎหมายเปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษกับผู้กระทำความผิดได้ หากเห็นว่ากระทำผิดจริง โดยกฎหมายกำหนดดุลยพินิจให้กับศาลในข้อหานี้ไว้หลายอย่างโดยกฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ” มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี”
ขณะที่โทษในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน บัญญัติอยู่ในมาตรา 289 ระวางโทษประหารชีวิตสถานเดียว
ความต่างของความผิด 2 ฐานนี้ ก็คือ ในชั้นพิจารณาคดีของศาล หากศาลเห็นว่ากลุ่มวัยรุ่นฆ่าหนุ่มพิการโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก็ไม่สามารถใช้ดุลพินิจเป็นอื่นได้ นอกจากพิพากษาให้ประหารชีวิตสถานเดียว หากมีเหตุอันควรลดโทษ เช่น ให้การเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี หรือยอมรับสารภาพ ก็อาจลดโทษลงกึ่งหนึ่ง แต่โทษจริงที่ได้รับก็ยังสูงถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต และระหว่างจำคุกหากทำความดี หากมีการอภัยโทษ โอกาสที่จะออกมาสู่โลกภายนอกก็ยังมี
คดีนี้จึงอยู่ที่ผู้พิพากษาจะมองเป็นอย่างไร ฎีกามีเปรียบเทียบอยู่แล้ว
ใส่ความเห็น