คำพิพากษา
คำพิพากษา
เป็นข่าวมาโดยตลอดต่อกระบวนการพิจารณาของศาล เริ่มตั้งแต่คดีแม่ประนอม คดีสาวอายุ48ปีที่ไปทำเนียบเพื่อเผาตัวเองและล่าสุดคดีหมอกับคนไข้ที่ทำให้หมอออกมากล่าวหาศาลอย่างรุนแรง ว่าขาดความรู้
ทำให้ศาลยุติธรรมไม่อาจนิ่งเฉยได้ ต้องออกมาประกาศให้ปชชทราบว่า หากไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือ กต ได้
คณะกรรมการฯนี้ อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ตั้งอยู่ที่ชั้น5 ของอาคารดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ
นับจากนี้ไป การทำงานบนบัลลังค์ของผู้พิพากษาจะถูกสังคมตรวจสอบ และ ศาลยุติธรรม จะต้องปรับตัวในการทำงาน ปัญหา เล่นพวก เข้าข้าง ตั้งเป็นกลุ่ม และ แตะต้องไม่ได้ จะถูกแปรเปลื่ยน
มิเช่นนั้น จะอยู่ยากในสังคมปัจจุบัน ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน๊ตไปเร็วทั่วโลกจะทำให้ภาพพจน์ขององค์กรศาล ต้องเสื่อมเสียเป็นที่รังเกียจต่ออารยประเทศและในประเทศ
จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ศาลยุติธรรมจะออกหน้ามาให้การสนับสนุนของปชช.ที่ข้องใจในคำตัดสินของผู้พิพากษา ฃึ่งที่ผ่านๆมาแม้จะมีผู้พิพากษาได้รับการไล่ออกไปหลายคน ด้วยจำนนต่อหลักฐานแต่ยังมีอีกมากที่ควรจะได้รับการตรวจสอบ
ขณะเดียวกันน่าแปลกที่นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี กลับทำหนังสือถึงนาย มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 191 ว่าด้วยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เพื่อบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมที่มีอิสระ ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการ เป็น ก.ต. จะเปิดทางให้เกิดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและเป็นการทำลายหลักนิติธรรม
ฃึ่งนาย มีชัย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่ากรณีที่ กรธ.บัญญัติให้มีบุคคลภายนอกร่วมเป็น ก.ต. เพราะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ อย่างไรก็ตามบุคคลที่ภายนอกจะเข้ามาดำรงตำแหน่งได้นั้นคือต้องผ่านการคัดเลือกจากผู้พิพากษามาก่อน
ทั้งนี้ก่อนหน้า คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ก็มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นกรรมการมาอยู่แล้ว 2ท่าน ก็มิได้เห็นว่า 2ท่านที่ผ่านมาตลอดหลายปีเหล่านั้นจะแทรกแฃงหรือทำลายหลักนิติธรรมตามที่องคมนตรีท่านนี้อ้างแต่อย่างใด
การมี 2 ท่าน จากบุคคลภายนอกเข้าไปร่วมเป็นผลดี ต่อทั้งศาลและปชช เพราะเท่ากับเป็นคนกลางของทั้งสองฝ่ายในการรับรู้เรื่องราวของผู้พิพากษา
ประเด็นสำคัญคือ คำพิพากษา การใช้ดุลยพินิจ ให้เกิดความเป็นธรรม เป็นจริงได้แค่ไหนในปัจจุบัน
ต้องบอกว่า หากศาลได้เข้มงวดกวดขันให้ผู้พิพากษาอยู่ในกรอบของจริยธรรมข้าราชการตุลาการอย่างจริงจัง มีการจัดอบรมคุณธรรม ศีลธรรม และ ความรู้ในคดีที่เกี่ยวพันกับกฎหมายลูกๆของหน่วยงานอื่นอันจะทำให้ผู้พิพากษามีความรู้ ความเข้าใจ ได้มากขึ้น อีกทั้งความรู้รอบตัวในเรื่องคดีนั้นๆ จะทำให้มีความกระจ่างในการพิจารณาคดีและใช้ดุลยพินิจได้ชัดเจน
สอดคล้องกับการเรียงคำพิพากษา การเขียนคำพิพากษา ต้องให้เป็นที่ยอมรับของคู่ความทั้งสองฝ่ายให้ได้
มิใช่เรียงหรือเขียนคำพิพากษาแบบตีหัวเข้าบ้าน สั้น กระชับ แต่ไม่กล่าวถึงประเด็นที่แต่ละฝ่ายหยิบยกขึ้นมาต่อสู้ให้ชัดเจน จนคู่ความสามารถเชื่อมั่นและยอมรับในคำตัดสินนั้นได้
อาทิ เจ้าพนักงานบังคับคดีกล่าวว่าโจทก์ไม่สามารถยึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ เพราะหมดอายุความในการดำเนินการ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้ปฎิบัติตามระเบียบขั้นตอนในการขอยึดทรัพย์ ฃึ่ง กรมบังคับคดีกำหนดให้ว่าโจทก์จะต้องนำเอกสารประกอบในการขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ ดังนี้ แต่โจทก์เพียงแต่ได้นำเงินค่าวางทรัพย์เพียงอย่างเดียว แล้วไม่มาติดต่ออีกจนหมดอายุความไปนาน เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่อาจยึดให้ได้
ศาลชั้นต้นเห็นด้วยกับเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วย ศาลฎีกา เห็นด้วยกับศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งสั้นๆได้ใจความว่า คดีไม่หมดอายุความ
แน่นอนว่าคู่ความฝ่ายที่แพ้ ฃึ่งไม่ได้คิดอยากจะได้ของฟรี แต่คำพิพากษาออกมาอย่างนี้ก็คงยากจะเชื่อมั่นได้ว่า คำพิพากษานั้นเป็นไปตามกฎหมายหรือเป็นไปตามดุลยพินิจที่ชอบธรรมตามกฎหมาย
หรืออย่าง จำเลยฟ้องโจทก์ว่าฉ้อโกง ต่อมาจำเลยถอนฟ้อง เพราะจำเลยฟ้องเพื่อบีบให้โจทก์กลัวในคดีอาญา แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฉ้อโกงตามฟ้อง จำเลยถอนฟ้องก่อนการพิจารณาคดี โจทก์นำความไปแจ้งความว่าจำเลยฟ้องเท็จ ผู้พิพากษาตัดสินสั้นๆว่า ยกฟ้อง เพราะจำเลยไม่เจตนา
คู่ความตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าจำเลยไม่เจตนา จำเลยจะนำความไปฟ้องได้อย่างไร เจตนาของจำเลยโดยคำแนะนำของทนาย และความสมยอมของจำเลยตั้งใจจะให้โจทก์ต้องโทษในคดีอาญา จำเลยรู้ดีอยู่แล้วว่าการฟ้องของจำเลยไม่เข้าข่ายคดีฉ้อโกง แต่จำเลยก็ยังฟ้อง การมาอ้างว่าสำคัญผิดนั้นจำเลยมีทนายเป็นที่ปรึกษาอยู่แล้ว ทนายจำเลยย่อมรู้ว่า การกระทำของโจทก์เข้าองค์ประกอบของการฉ้อโกงหรือไม่ ข้อหาฟ้องเท็จที่โจทก์แจ้งความไว้ แม้จำเลยจะถอนฟ้องไปก่อนก็ถือว่าเป็นการฟ้องเท็จแล้ว
แต่คำพิพากษาตัดสินว่า จำเลยไม่มีเจตนา ยกฟ้อง
การเขียนคำพิพากษาจึงเป็นเรื่องสำคัญ มิฉะนั้นจะทำให้คู่ความต้องสงสัยในคำพิพากษา ขาดความเชื่อมั่นในคำตัดสิน ในอดีตกาลที่ผ่านมาหลายสิบๆปี คำพิพากษาได้รับการยอมรับจากคู่ความทั้งสองฝ่าย เพราะผู้พิพากษาเขียนคำพิพากษาในทุกประเด็นที่มีการต่อสู้ของคู่ความอย่างละเอียด ชัดเจน
ในเรื่องนี้ท่านวิชา มหาคุณ ได้เคยเขียนถึงไว้ น่าที่ผู้พิพากษาจะได้หยิบหามาอ่านกัน
นอกจากนี้แม้ผู้พิพากษาบางท่านจะเขียนคำพิพากษาได้ทุกประเด็น ครบใจความ น่าเป็นที่เลื่อมใสของคู่ความให้ยอมรับในคำตัดสินทั้งสำนวนโวหารในการเขียนเป็นอย่างดี แต่ยังขาดองค์ประกอบของความรู้ในเรื่องๆนั้น
เช่น ในเรื่องของก.ม ระเบียบ สำนักงานที่ดิน เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน การขอแบ่งแยกเอกสารสิทธิ์ที่ดิน ที่สามารถทำได้หลายขั้นตอนในวันเดียวกัน หรือ การเข้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทันทีที่ได้รับโอน และ เวลาในการดำเนินการแบ่งแยกเอกสารสิทธิ์ที่ดินฃึ่งมีกำหนดเวลาในการปฎิบัติงานของเจ้าพนักงานที่ดินอยู่ แต่หากผู้พิพากษาไม่รู้วิธีการปฎิบัติของเจ้าพนักงานที่ดิน ฃึ่งแม้จะมีการนำสืบไว้แล้ว จะทำให้เข้าใจได้ว่า คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่ปฎิบัติตามสัญญา ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ ทั้งที่กรรมสิทธิ์นั้นสามารถโอนเป็นเจ้าของได้ในวันนั้นแล้ว
หรือกรณีเรื่องสดๆดังๆวันนี้กรณีศาลฎีกาตัดสินให้คดีน้องหมิวชนะความและบรรดาหมอออกหน้ามากล่าวหาว่า “ผู้พิพากษาไม่มีความรู้ด้านการแพทย์” นั่นเพราะเกิดจากการเขียนคำพิพากษาที่ไม่สามารถทำให้คู่ความฝ่ายหมอยอมรับได้ นั่นเอง
ความไม่เข้าใจให้ถ่องแท้จึงทำให้มีการใช้ดุลยพินิจไม่เป็นที่ยอมรับของคู่ความและมีการกล่าวหาคำตัดสินของผู้พิพากษาอย่างรุนแรง
กฎหมายรัฐธรรมนูญของเราจึงกำหนดให้สถาบันตุลาการเป็นระบบสิทธิ สามารถใช้สิทธิในการต่อสู้คดีไว้ สามศาล คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
แต่กลับเป็นว่า ศาลออกคำสั่ง ออกก.ม ฃึ่งจะตามข้อเสนอของหน่วยงานใดหรือของศาลเอง ก็ตาม ให้เหลือการพิจารณาคดี เพียง ศาลเดียว คือ ศาลชั้นต้น หรือ สองศาล จากศาลชั้นต้น ขึ้นสู่ศาลฎีกา
เพียงเพื่อให้การพิจารณาคดีมีความรวดเร็ว ไม่ล่าช้า
โดยไม่คำนึงถึงความยุติธรรมที่ปชช.ควรได้รับ ไม่คำนึงถึงหลักกฎหมายของปท
และสำคัญยิ่งคือ การใช้อำนาจของศาลให้มีอำนาจล้นฟ้า นั่นคือ การออกพรบ.ต้องขออนุญาตฎีกาในคดีแพ่ง และ ในคดีอาญา (ในเร็วๆนี้)เพียงเพื่อจะคัดกรองคดีก่อนส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาเพื่อมิให้รกโรงรกศาล
เพียงเท่านี้
แต่ปชชจะไม่ได้รับความยุติธรรมตามระบบที่เขาควรจะได้
ฃึ่งอาจกล่าวได้ว่า ความยุติธรรมหายไปไหน หายไปได้อย่างไร
กระบวนการพิจารณาของศาลเป็นที่เชื่อมั่นต่อปชช.ได้มากแค่ไหน เพียงใด
การมีคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เพื่อจะตรวจสอบคำร้องทุกข์ของปชช.ที่มีขึ้นมา แต่จะมีปชช.กี่คนที่หาญกล้าร้องทุกข์ผู้พิพากษา เพราะมักจะปรากฎว่าเมื่อหนังสือร้องทุกข์อยู่ในมือของผู้พิพากษาที่ถูกร้องแล้ว มักจะมีการนำหนังสือร้องทุกข์นั้นไปฟ้องต่อศาลด้วยกันเองว่าเป็นข้อความที่หมิ่นประมาททำให้ผู้พิพากษานั้นเสื่อมเสีย เสียหาย
หากเป็นผู้พิพากษากลุ่มเดียวกัน มีหรือที่ผู้ร้องจะรอดจากดุลยพินิจ
การที่โฆษกศาลยุติธรรมออกมาประกาศเจตนารมย์ว่าหากปชช.มีความข้องใจในคำพิพากษาหรือการกระทำของผู้พิพากษาสามารถดำเนินการได้โดยผ่านคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม นับเป็นนิมิตหมายที่ดีของสังคม เป็นนิมิตหมายในการทำงานของศาลยุติธรรมที่สามารถตรวจสอบได้
ต่อไปศาลจะสถิตย์เพื่อความยุติธรรมอย่างแท้จริง?
พัชรินทร์ วิกิตเศรษฐ
ใส่ความเห็น