มาศาลอย่างมือไม่สะอาดก็ชนะคดีได้

วีคลี่นิวส์ตั้งข้อสังเกตุว่า มาตรา334 แห่งประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มีการปฎิบัติการใช้กฎหมายที่เป็นคุณฝ่ายเดียวกับผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด 

กรณีศาลแพ่งใช้หลักกฎหมายมาตรา334 ป.วิแพ่ง เจ้าหนี้คนเดียวกัน และผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดคนเดียวกันกับเจ้าหนี้  รับเงินชำระหนี้จากลูกหนี้ไปแล้วมาใช้สิทธิไม่สุจริตขอให้ศาลบังคับคดีขับไล่ ออกหมายจับ ลูกหนี้ฃึ่งได้ชำระหนี้ไปแล้ว แต่เจ้าหนี้บิดพลิ้วไม่ยอมคืนโฉนดให้ดังนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตหรือไม่

หากศาลใช้ข้อกฎหมายมาตรา334 ป.วิแพ่ง โดยไม่ดูความสุจริตของเจ้าหนี้ที่มาร้องศาลขอให้ออกหมายจับและขับไล่ลูกหนี้ และไม่ดูข้อเท็จจริงในคดี เพียงเพราะกฎหมายบัญญัติมาแค่ที่ว่า “เป็นผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด” ตัดตอนเฉพาะส่วนคำว่า ผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด เท่านั้นก็จะตัด “ความไม่สุจริต ความมือไม่สะอาด” ก็ได้หรือไม่เท่ากับว่าศาลหยิบใช้กฎหมายมาตัดสินโดยชอบหรือไม่ 

เรื่องนี้ศาสตราจารย์ ดร. จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลยุติธรรม อดีตศาลฎีกา อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม และอาจารย์สอนกฎหมาย กล่าวว่า โจทก์อ้างสิทธิเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามมาตรา 334 ซึ่งจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามมาตรา 334 หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่ามาตรานี้ถือเป็นหลักการ “ข้อยกเว้น”ของกฎหมายทั่วไปที่ว่า “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน”และเมื่อเป็น “ข้อยกเว้น”ก็ต้องใช้หลักที่ว่า “ข้อยกเว้นต้องตีความโดยเคร่งครัด” ซึ่งศาลฎีกาก็ได้ยอมรับในหลักการนี้เช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่525/2510 ดังนั้นถ้าจะใช้มาตรา 334 มาคุ้มครองก็ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งประกอบด้วยหลักสามประการดังนี้1. เป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานและต้องเป็นการขายโดยชอบด้วยกฎหมาย 2.  การยึดทรัพย์ต้องเป็นการยึดทรัพย์โดยชอบ คือยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาจริงๆ 3. ผู้ซื้อทรัพย์ต้องสุจริต ซึ่งหลักสุจริตเป็นหลักทั่วไปอันเป็นพื้นฐานแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีความมุ่งหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้สิทธิและชำระหนี้ของบุคคล ตลอดจนคุ้มครองผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการรักษาสิทธิของตนในทางแพ่งและพาณิชย์ ดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี ท่านว่าบุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต หมายถึงว่าบุคคลผู้มาศาลต้องมาด้วยมือสะอาด การที่บุคคลใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนที่เกิดขึ้นมาแล้วนั้นจะต้องใช้โดยสุจริต มิฉะนั้นศาลจะไม่รับรองสิทธินั้นหรือไม่รับบังคับให้รวมทั้งการชำระหนี้ก็ต้องกระทำโดยสุจริตด้วยเช่นกัน

แต่ศาลแพ่ง ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ในการพิจารณาคดีหรือไม่  

กรณีนี้เกิดขึ้นที่ศาลแพ่งรัชดาที่ลูกหนี้ร้องขอความเป็นธรรมจากอธิบดีศาลแพ่ง แต่ไม่เป็นผล ประกอบกับเร่งรัดไม่ให้มีการไต่สวนหาความจริงเพราะตั้งมั่นเพียงคำว่า “โจทก์คือผู้ฃื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้แล้ว”

ขณะที่ลูกหนี้ตั้งคำถามว่า ตนชำระหนี้เรียบร้อยแล้วโจทก์ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับเงินแล้วจะไปประมูลฃื้อทรัพย์มาให้ แต่ประมูลได้แล้วกลับมือไม่สะอาดมาฟ้องศาลออกหมายจับและขับไล่( ไม่ใช่ขับไล่และออกหมายจับ) เป็นธรรมหรือไม่ 

อย่างนี้มือไม่สะอาดก็มาขอให้ศาลบังคับคดีได้หรือ

เพราะอะไร????