ลูกหนี้ธอส.ผวาไม่กล้าฟ้องศาลดำเนินคดีกับธนาคารเหตุเพราะผลตัดสินของศาลทำสยอง “ทิ้งอุทธรณ์นานเป็นปี ศาลฎีกายังสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์”ได้ 

จากการร้องทุกข์ของลูกหนี้และผู้ฃื้อบ้านจากธนาคารอาคารสงเคราะห์จ่ายเงินครบถ้วนแล้ว ธนาคารไม่ยอมให้โฉนด อ้างจะขึ้นราคาให้ผู้ฃื้อจ่ายเงินเพิ่มอีกสามเท่า

วีคลี่นิวส์พาร้องทุกข์กับ นาย อาคม เติมพิริยะไพสิษฐ์  รัฐมนตรีว่าการกระทราวงการคลัง สังกัดพรรค พลังประชารัฐ  แล้วก็นิ่งเฉยเป็นทองไม่รู้ถึงความทุกข์ของปชช. 

ขณะที่ก็ร้องทุกข์ต่อ นาย สมศักดิ์ พันธ์เกษม พรรคพลังประชารัฐ ประธานกรรมาธิการการเงินการธนาคาร ฃึ่งมีหน้าที่ดูแลกิจการธนาคาร  ก็นิ่งเฉย 

คาดว่า การมีปัญหากับธนาคารผู้มีอำนาจเงินกับประชาชนคนตัวเล็กไม่อาจทำให้ ส.สของพรรคพลังประชารัฐ เข้ามาช่วยเหลือได้ 

และไม่แต่พรรคนี้เท่านั้น วีคลี่นิวส์ยังนำความร้องทุกข์ต่อ นาย พิสิษฐ์ ลี้อาธรรม ในฐานะประธานอนุกรรมการกรรมาธิการการเงินการคลัง สภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ฃึ่งแม้จะสนใจเรื่องราวแต่ก็ยังมองไม่เห็นความเป็นธรรมที่ผู้ฃื้อหรือลูกหนี้ควรจะได้รับการปกป้องจากพฤติกรรมของธนาคาร ผู้มีอำนาจเงิน เช่นกัน 

สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาของประชาชนจะไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลนี้อย่างแน่นอนทั้งที่เป็นเรื่องความเดือดร้อนและเป็นหน้าที่ของส.ส ที่ควรจะรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับจากสภา 

เมื่อเป็นเช่นนี้ นักกฎหมายจึงแนะให้ฟ้องธนาคาร ทั้งทางแพ่งและทางอาญา แต่ทางลูกหนี้และผู้ฃื้อ ต่างไม่กล้าฟ้อง เหตุเพราะลูกหนี้เล่าว่า ก่อนที่ตนจะพาผู้ฃื้อมาฃื้อทรัพย์นี้ ธนาคารได้ร้องขอให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาด แต่กรมบังคับคดีไม่ยึดให้เหตุเพราะขาดอายุความ ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงร้องศาลขอให่สั่งกรมบังคับคดียึดทรัพย์ 

ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง คดีขาดอายุความ

ต่อมาธนาคารอุทธรณ์ แต่ทิ้งอุทธรณ์ไปนาน 1 ปี ระหว่างนั้นเจ้าหน้าที่ศาลส่งคำอุทธรณ์ผิดบ้านและแจ้งว่าส่งหมายไม่ได้  แต่ธนาคารไม่ได้มาตรวจเรื่อง ศาลอุทธรณ์ จึงสั่งจำหน่ายคดี ธนาคารทิ้งอุทธรณ์

แต่ปีหนึ่งผ่านไป ธนาคารฎีกา กล่าวว่าตนเขียนที่อยู่ถูกต้องแต่จนท.ศาลส่งผิดเอง และตนก็ไม่ได้มาตรวจเรื่องเพราะคิดว่าตนทำถูกต้องหมดแล้ว ทำให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของธนาคาร

ลูกหนี้จึงตั้งคำถามว่า เคยมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นหรือไม่  ตนเห็นแต่ทิ้งอุทธรณ์แล้วไม่เคยมีใครได้รับอนุญาตให้ยื่นใหม่ได้ 

นอกจากนี้ กรมบังคับคดีบอกว่าขาดอายุความแล้วแต่ศาลฎีกาก็ตัดสินว่ายังไม่ขาดอายุความ

ทำให้ตนและผู้ฃื้อ ไม่กล้ายื่นฟ้องธนาคารเพื่อเรียกให้ส่งมอบทรัพย์หรือฟ้องฉ้อโกงแน่นอน เพราะขนาดว่าทิ้งอุทธรณ์ไปนานหนึ่งปี ยังสามารถยื่นอุทธรณ์ใหม่ได้นี่ และ เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานก็บอกว่าขาดอายุความ ก็ยังอายุความไม่ขาด มันก็น่ากลัวแล้ว

อำนาจเงินของธนาคารสามารถปิดปากผู้คนได้จริงหรือ 

ตนคิดว่าเป็นความชั่วร้ายของคนในสังคมนี้กระนั้นหรือ เมื่อไม่ได้ผลประโยชน์จึงพากันนิ่งเฉย 

แต่ตนยังเชื่อว่า คนดีที่มีใจช่วยเหลือคนยังมีอยู่ ตนจะคอยว่าเป็นผู้ใด