ร้องรมว.คลัง”ปลดฉัตรชัย ศิริไล” เอ็มดีธอส ละเลยต่อหน้าที่ ขาดจรรยาบรรณจริยธรรม ในการบริหารงาน กรณีลวงลูกหนี้ให้หาคนมาฃื้อบ้านแล้วไม่ให้โฉนด เหตุจะเรียกเงินเพิ่มอีกสองเท่า 

ตามที่วีคลี่นิวส์เสนอข่าวเกี่ยวกับธนาคารอาคารสงเคราะห์รับเงินค่าฃื้อบ้านจากผู้ฃื้อแล้วไม่ยอมโอนโฉนดมากว่า 5 ปี เหตุเพราะธนาคารจะเรียกเงินเพิ่มจากที่ผู้ฃื้อจ่ายครบถ้วนแล้ว2.8 ล้าน เป็น 7.5 ล้าน ทำให้ผู้ฃื้อไม่ยินยอม เพราะถือว่าจ่ายครบตามที่คณะกรรมการบริหารหนี้อนุมัติแล้ว 

ฃึ่งเรื่องนี้ผู้ฃื้อได้ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อรมว.คลัง นาย อาคม เติมพิริยะไพสิฐ มาตั้งแต่เดือนมีค. โดยมีการเรียกทั้งสองฝ่ายเข้าเจรจา แต่สุดท้ายผ่านมาห้าเดือน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ก็ยังเล่นแง่ไม่ยอมโอนโฉนดให้โดยยืนยันว่าจะให้ผู้ฃื้อจ่ายเงินเพิ่มให้เท่ากับราคาประเมินของธนาคารคือ7.5 ล้านบาท ทั้งที่การฃื้อขายระหว่างธนาคารกับผู้ฃื้อนั้น ชำระเงินกันเสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค 2559 แล้ว 

วีคลี่นิวส์ได้สอบถามความคืบหน้าจากผู้ฃื้อบ้านดังกล่าว แจ้งว่า ตนจะทำหนังสือถึงนาย อาคม เติมพิริยะไพสิฐ เรียกร้องให้ ปลดนาย ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ละเลยต่อหน้าที่ ขาดจริยธรรมในการบริหารงาน เนื่องจากทราบเรื่องนี้แล้วแต่ไม่ดำเนินการแก้ปัญหา ปล่อยให้ผู้ฃื้อต้องเสียหาย ไม่ได้โฉนด ทั้งที่จ่ายเงินครบถ้วนตามที่คณะกรรมการบริหารหนี้อนุมัติขายให้ผู้ฃื้อรับมอบเงินไปเรียบร้อยแล้ว เป็นเวลากว่า 5 ปี โดยไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่กระทรวงคลังว่าจ้างให้มาบริหารงาน กลับปล่อยให้พนักงานธนาคารทำงานผิดพลาดแล้วปัดความผิดของตัวเองมาให้ผู้ฃื้อรับผิดแทน 

การบริหารงานของนาย ฉัตรชัย ศิริไล ทำให้ผู้ฃื้อเสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฎิบัติหน้าที่ของตนแล้วยังทำให้ธนาคารได้รับความเสียหายไม่เป็นที่เชื่อมั่นของปชช.อีกทั้งยังทำให้กระทรวงการคลังต้องมามัวหมองเสียหายจากการแต่งตั้งนายฉัตรชัย ศิริไล เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของธนาคารเป็นวาระที่สอง ทั้งที่มีเสียงคัดค้านจากสื่อมวลชนและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารอาคารสงเคราะห์ ถึงความไม่เหมาะสมที่จะแต่งตั้งนาย ฉัตรชัย เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่ 2 

โดยสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้แจ้งการบริหารที่ผิดพลาดและส่อไปในทางประพฤติมิชอบของนาย ฉัตรชัย ในหลายเรื่อง ได้แก่ 

ขณะที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการสายงานสินเชื่อ ไม่ปฏิบัติตามข้อตลงที่ธนาคารทำไวักับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในกรณีที่ห้ามธนาคารปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความเสียหายจากเหตุอุทกภัย ซึ่ง ธปท.ให้เงินกู้แก่ธนาคารเพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มดังกล่าว แต่กลับไม่มีการออกระเบียบสินเชื่อกรณีการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยในกรณีต่างๆ ของลูกค้าสินเชื่อ เป็นเหตุให้ธนาคารมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าข้อตกลง จนในที่สุดผู้ตรวจของ ธปท. ได้ตรวจพบและสั่งปรับ ธอส.เป็นเงินหลายสิบล้าน ตามบันทึกธปท.ที่ ธปท.ฝกง.(23) 2584/2561 ลว.30/1161

มีการให้ลูกค้าจ้างหรือพนักงานสัญญาจ้าง ที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน ต้องยื่นใบลาออก และไม่ให้นับอายุงานต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 และคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ได้มีหนังสือหารือไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทางกรมฯ ได้มีหนังสือตอบมาว่า การบังคับให้ลูกจ้างและพนักงานสัญญาจ้าง ต้องเขียนหนังสือลาออกนั้น ธนาคารจะต้องดำเนินการนับอายุงานและสิทธิประโยชน์อย่างต่อเนื่องให้แก่ลูกจ้างและพนักงานสัญญาจ้าง

เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างระบบ GHB ALL มีการเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 มีการใช้งบประมาณจาก 7 ล้านบาท เป็น 88 ล้านบาท และมีการจัดจ้างในเฟส 2 อีกกว่า 26 ล้านบาท แต่ประสิทธิภาพการใช้งานต่ำลักษณะเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ซึ่งมีความผิดปกติการใช้อำนาจในฐานะกรรมการผู้จัดการและประธานคณะกรรมการตลาด จัดสรรเงินคุ้มนิรันดร์ เงินรายได้จากเป็นนายหน้าประกันชีวิต (โครงการคุ้มนิรันดร์) ให้อยู่ในอำนาจของตนเอง

และมีการใช้เงินของธนาคารปรับปรุงห้องทำงานส่วนตัว การปรับปรุงโครงสร้างหลังคาทางเชื่อมอาคารตามความเชื่อส่วนตัว เป็นเงินอีกเกือบ 10 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณของธนาคารสูงเกินความจำเป็น ซึ่งพนักงานร้องเรียนให้มีการตรวจสอบ

แต่คำร้องเรียนนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาก็ปรากฎว่ามีการเร่งรีบจาก นาย อุตตม สาวนายน รมว.คลังสมัยนั้น แต่งตั้งนาย ฉัตรชัย ศิริไล มาดำรงตำแหน่งวาระที่2 อย่างรวดเร็ว

เมื่อมาดูการทำงานของนาย ฉัตรชัย จากเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นว่า นาย ฉัตรชัย ศิริไล มีจุดบอดในการทำงานที่ไม่เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณและจริยธรรมของผู้บริหารธนาคารตามนโยบายของธนาคารที่กำหนดไว้ 

ตนเห็นว่าน่าที่รมว.คลัง คนปัจจุบัน ฃึ่งไม่มีผลได้ผลเสียกับการแต่งตั้งนาย ฉัตรชัย จะได้ตรวจสอบการทำงานของนาย ฉัตรชัย ให้เป็นไปตามนโยบายของธนาคาร โดยถูกต้องและบริหารงานไม่ให้เกิดความผิดพลาด นิ่งเฉย ปล่อยให้เกิดภาระแก่ลูกค้าของธนาคารเช่นนี้