ศาลล้มละลายกับวิธีการจัดตั้งที่ต้องขออนุญาตอุทธรณ์เป็นการขัดรธน.หรือเปิดช่องว่างให้วิ่ง

ศาลล้มละลายเป็นศาลที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับเรื่องเงินทองและชีวิตของคนเป็นหนี้ที่ตายในความเป็นคนเพราะคำสั่งศาลได้  ยิ่งโดยเฉพาะจำต้องมี”ผู้พิพากษาชำนาญเป็นพิเศษ”เข้าไปอีกทำให้กฎเกณฑ์ของผู้พิพากษาที่นี่จึงสามารถอยู่ดำรงตำแหน่งได้นานกว่าศาลอื่นโดยเฉพาะตำแหน่งเลขานุการศาลล้มละลาย ฃึ่งมีความสำคัญยิ่ง 

วันก่อนมีคนมาร้องทุกข์เพราะแพ้คดีในศาลล้มละลาย ฃึ่งปกติในศาลอื่นเขาจะสามารถอุทธรณ์ตามระบบสิทธิในการขออุทธรณ์คดีได้ แต่ศาลนี้มีพรบ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายพ.ศ 2558 เกี่ยวกับการอุทธรณ์ ฎีกา ที่แตกต่าง คือในมาตรา24 ของ พรบ.ฉบับนี้กำหนดว่า  การจะขออุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ และมาตรา 25 กำหนดว่า 

คดีล้มละลายที่มิใช่คดีอาญา ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย เว้นแต่

(๑) คําพิพากษายกฟ้อง หรือคําสั่งยกคําร้องหรือคําร้องขอให้ล้มละลาย

(๒) คําสั่งยกคําร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ

(๓) คําสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน

(๔) คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

(๕) คําพิพากษาหรือคําสั่งในคดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย

ดังนั้นการอุทธรณ์เรื่องอื่นๆที่นอกจากที่กล่าว “จะไม่สามารถกระทำได้” โดยสิทธิที่พึงมีของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

แต่พรบ.นี้ก็เปิดช่องเอาไว้ให้เพื่อประโยชน์แห่งใครก็ตามว่า

มาตรา ๒๖ คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๕ คู่ความอาจยื่นคําขอโดยทําเป็นคําร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษไปพร้อมกับอุทธรณ์ก็ได้

เป็นการเปิดช่องให้มีการใช้อำนาจไปในทางไม่ชอบได้ โดยเฉพาะปัจจุบันมีข่าวความเสียหายขององค์กรศาลในการตัดสินคดีความไม่เป็นที่ยอมรับของคู่ความและสังคมเป็นจำนวนมาก จนยากจะเชื่อได้ว่าการใช้อำนาจนั้นเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม และระบบการตรวจสอบก็ไม่เอื้อให้การตรวจสอบนั้นกระทำได้ นอกจากจะมีหน่วยงานพิเศษจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ

การต้องขออนุญาตอุทธรณ์ก็ดี ขออนุญาตฎีกา ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการตัดสิทธิที่ประชาชนควรจะได้รับความเป็นธรรมในการเรียกร้องปัญหาทางคดีที่เกิด 

ทำไมต้องขออนุญาต เมื่อเป็นสิทธิที่ประชาชนควรได้รับ

การจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษและพรบ.ดังกล่าวมีขึ้นในสมัยพลเอก ประยุทธ์ เป็นนายก ฯ ตามที่สนช.สมัยนั้นเป็นผู้คิดค้น

และใครเป็นคนเสนอ จุดประสงค์อะไร  

ทำไมจึงเชื่อมั่นว่าการพิจารณาเพียงชั้นเดียวจะได้รับการพิพากษาหรือสั่งคดีอย่างถูกต้องเป็นธรรม แม้ว่าจะอุทธรณ์ได้ก็จริงแต่ต้องขออนุญาตถ้าไม่อนุญาตละ ความเชื่อมั่นในคำตัดสินของศาลชั้นต้นจะเพียงพอต่อความยุติธรรมหรือ 

นอกจากนี้การต้องขออนุญาตหากทนายลืมยื่นก็จะถูกตัดสิทธิเกินเวลา แม้จะยื่นเฉพาะคำอุทธรณ์เข้าไป ก็ไม่สามารถอุทธรณ์ได้

ทำไมจะต้องสร้างความยุ่งยากให้เกิดปัญหา เพื่ออะไร 

จะตัดคดีไม่ให้เกิด จะลดปริมาณคดีให้เหลือน้อย โดยเลือกที่จะตัดความยุติธรรมที่ประชาชนควรจะได้รับออกไปหรือคิดว่าปทนี้ คนปทนี้ มีมาตรฐานสากลพอที่จะหยิบเอาวิธีการนี้จากต่างปทมาใช้

ใช่หรือ

พรบ.มาตรานี้นี้สมควรแก้ไขหรือไม่ ระหว่างความยุติธรรมที่ประชาชนควรได้รับกับการลดปริมาณคดี หรือ เพิ่มอำนาจศาลในการรับหรือไม่รับคดีไว้พิจารณา 

ที่เปิดช่องสำหรับการวิ่งเต้นให้ศาลต้องมัวหมอง