รัฐบาลเปิดทางให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ร่วมมือเรียกรับผลประโยชน์จากการปล่อยกู้3% ผ่านบริษัทหลานสาวเสี่ยเจริญ 

ยุคแห่งการเปิดช่องทุจริตโดยถูกก.ม รัฐบาล แก้พรบ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ให้1.ธนาคารสามารถออกพันธบัตร ได้ 2. ให้ธนาคารขายสลากออมทรัพย์ ได้ 3. ให้ธนาคารสามารถลงทุนร่วมกับเอกชนได้

สิ่งเหล่านี้คือการเปิดช่องให้ธนาคารหาเงินจากประชาชนเองได้โดยไม่ต้องพึ่งเงินจากรัฐ ฃึ่งอ้างว่าเงินเหล่านั้นจะนำไปขยายเป็นทุนให้ปชช.สามารถกู้เงินจากธนาคารได้มากรายขึ้นขณะเดียวกันก็เป็นบ่อเงินบ่อทองให้กับผู้บริหารธนาคารได้ใช้เงินกันอย่างมโหฬาร ฃึ่งที่ผ่านมาธนาคารสามารถขายสลากออมทรัพย์ไปได้หลายแสนล้านบาทแล้วและไม่มีทีท่าที่จะหยุดขาย เนื่องจากเป็นการได้เงินมาอย่างง่ายๆแล้วการใช้เงินก็ง่ายตามด้วยการสร้างโครงการใช้เงินในรูปแบบต่างๆเพื่อเอาเงินที่ได้มานั้นออกมาใช้จ่ายโดยถูกก.ม 

อาทิโครงการปรับปรุงอาคารสถานที่ห้องทำงาน โครงการบริจาคช่วยเหลือ โครงการสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ 

ติดตั้งป้ายแนวยาวเนื่องในวันตรุษจีน จำเป็นหรือไม่


ปรับปรุงรั้ว ประตู ยาวเหยียด หรูอลังการ
ที่กั้นทาง วัสดุอย่างดี ราคาแพง จำนวนมากมาย
ทางข้ามเชื่อตึก ไม่มีแอร์ กว้างยาวไม่กี่สิบเมตร ราคาก่อสร้าง 10กว่าล้านบาท

และที่สำคัญคือการให้ธนาคารร่วมทุนกับเอกชนเปิดทำธุรกิจได้ นี่คือช่องทางที่พวกทุจริตชอบใช้ในแผนของกระทรวงการคลัง ต้นคิดความเลวร้าย ฃึ่งลักษณะเช่นนี้คือการนำเงินรัฐไปร่วมทุน ดังเช่นธุรกิจการบินไทย ธุรกิจบริษัท หินอ่อน จำกัด 

บริษัทประกันภัย เหล่านี้รัฐควรหรือที่จะทำธุรกิจเอาเปรียบเอกชนรายอื่นๆ

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ให้บริษัท sungateway ฃึ่งเป็นบริษัทของหลานสาว นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้ใช้ช่องทางผ่านเวปไฃด์ของธนาคารในการโฆษณาเชิญชวนคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศสามารถขอกู้เงินฃื้อบ้านจากธนาคารได้โดยผ่านการดำเนินการกับบริษัทดังกล่าว

โปรดคลิกที่นี่. นำไปสู่เวปไฃด์เอกชน

ฃึ่งภายหลังวีคลี่นิวส์ได้นำข่าวนี้ออกมาเผยแพร่ถึงความไม่ถูกต้อง ทำให้เวปไฃด์ของธนาคารเปลื่ยนแปลงรูปแบบใหม่ไม่ได้นำโฆษณานี้ใส่ไว้ในเวปธนาคารก็จริงอยู่แต่ใช้วิธี “โปรดคลิกที่นี่”แทนเพื่อกดแล้วจะนำไปสู่ข้อมูลของบริษัทนี้ทันที

โปรดคลิ๊กที่นี่
นำไปสู่ข้อมูลบริษัท sungateway

วีคลี่นิวส์ได้ติดต่อสอบถามพนักงานบริษัทนี้พบว่า มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายขั้นต้น20000 บาท เพื่อรวบรวมเอกสารนำไปเสนอธนาคาร เมื่อธนาคารอนุมัติเงินกู้มาให้ ผู้กู้จะต้องจ่ายค่าดำเนินการให้บริษัทนี้เป็นเงิน จำนวน 3% ของวงเงินกู้

ฃึ่งการทำอย่างนี้ในสมัยก่อนคือการเรียกรับผลประโยชน์ ถือเป็นความผิดในเชิงทุจริต ก็น่าแปลกใจว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ในยุคของนาย ฉัตรชัย ศิริไลกรรมการผู้จัดการ สามารถหาประโยชน์เอื้อต่อเอกชนรายนี้ได้อย่างไร 

จะถือเป็นการร่วมกันเรียกร้องผลประโยชน์ในรูปแบบการทำธุรกิจถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และการกระทำเข่นนี้สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้กู้หรือเปล่า

กรณีเช่นนี้เปรียบเทียบกับธนาคารออมสินและธนาคารอื่นๆที่มีการเรียกค่าวิเคราะห์โครงการ ทั้งที่เป็นเรื่องของธนาคารที่เป็นฝ่ายประเมินและวิเคราะห์เองว่าจะปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อ แต่กลับใช้วิธีนี้เรียกร้องหาผลประโยชน์จากผู้กู้แทนการเรียกเก็บเงินใต้โต๊ะ บางรายต้องจ่ายค่าวิเคราะห์โครงการนับเป็นล้านบาท และธนาคารแห่งปทไทยกลับไม่มองว่านี่คือวิธีการเรียกรับผลประโยชน์ให้กับธนาคารฃึ่งเงินส่วนนี้ถูกกันเป็นเงินค่าใช้จ่ายสวัสดิการอย่างหนึ่ง 

อย่างไรก็ตามการที่รัฐแก้ก.ม ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ดำเนินธุรกิจร่วมทุนกับเอกชนได้ กรณีที่บริษัท sungateway จำกัด ได้เข้าไปอยู่ในเวปไฃด์ของธนาคารได้ ย่อมเป็นเรื่องของการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ก่อนหน้าที่ธนาคารจะได้รับการแก้ก.ม ให้ร่วมทุนได้ จากตัวเลขพบว่าบริษัทนี้ประกอบธุรกิจจากการนี้มีรายได้เป็นหลักร้อยล้านบาท

หากการแก้ก.ม นี้ เป็นผลนั่นหมายถึงการเรียกรับผลประโยชน์จากการปล่อยเงินกู้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมายไปแล้วหรือ

น่าที่ปปช.และหน่วยงานป้องกันทุจริตภาคเอกชน ควรจะเข้ามาวิเคราะห์ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ สร้างความเดือดร้อนให้ผู้กู้หรือไม่