ราชกิจจาฯ ประกาศแต่งตั้งโยกย้ายทั้งสามชั้น 133 ผู้พิพากษา ขณะที่ศาลล้มละลายยังคงครองแชมป์อยู่นานเกินสามปี เหตุต้องการ “ผู้เชี่ยวชาญ” ขณะที่ปชช.ข้องใจสมควรหรือ

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาประกาศโยกย้าย สับเปลื่ยนผู้พิพากษาทั้งสามชั้น จำนวน 133 คน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 แล้ว โดยมีผู้พิพากษาดังๆหลายคนถูกสับเปลื่ยนโยกย้าย ดังนี้ 

นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

 นายวิชัย เอื้ออังคณากุล ประธานศาลอุทธรณ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

นายสุรพันธุ์ ละอองมณี รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์

นายธีระพงศ์ จิระภาค รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

นายประทีป ดุลพินิจธรรมา รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

นายนพพร โพธิรังสิยากร รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ รองประธานศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา

นายโสฬส สุวรรณเนตร์ ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ

นายจินดา ปัณฑะโชติ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์

นายปกรณ์ สุวรรณพรหมา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๒ ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์

นายจรูญ ชีวิตโสภณ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค ๑ ดำรงตำแหน่ง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์

รายชื่ออื่นๆ อ่านได้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/010/T_0017.PDF

อนึ่งรายชื่อนี้ไม่ปรากฎการโยกย้ายสับเปลื่ยนของศาลล้มละลาย ฃึ่งมีแนวทางแตกต่างจากระบบเดิมที่มีการโยกย้ายภายใน1ปี แต่ศาลล้มละลายอ้างต้องใช้ผู้พิพากษาที่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทำให้ผู้พิพากษาศาลล้มละลายจึงอยู่ในตำแหน่งได้นาน 3 ปี เช่น นาย ประธาน ทัศนปริชญานนท์ ผู้พิพากษาและ ดำรงตำแหน่งเลขานุการศาลล้มละลาย

ขณะที่แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตุว่า ศาลล้มละลายเกี่ยวข้องกับเรื่องเงินทอง ไม่สมควรจะให้ดำรงตำแหน่งอยู่นาน เพราะความเชี่ยวชาญนั้นหากใช้ไม่ถูกต้องก็สามารถเกิดพิษเกิดภัยได้ นโยบายศาลที่ผ่านๆมาจึงถูกต้องแล้ว ที่ต้องมีการสับเปลื่ยนทุกปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลล้มละลายเป็นแหล่งเงินทอง สามารถทำให้คนหมดตัว หรือทำให้คนได้เงินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเจ้าหนี้ธนาคารจะเห็นได้ว่ามีแต่ชนะคดีความ ในคดีอย่างเดียวกัน เอกสารชุดเดียวกัน ผู้พิพากษาหนึ่งในสามคนเดียวกัน คดีหนึ่งยกอีกคดีหนึ่งล้ม ทำให้คู่ความเกิดความไม่มั่นใจ หากมีการรวบรวมคดีล้มละลายมาเปิดเผยจะพบว่ามีจำนวนเจ้าหนี้ชนะกี่คดี ลูกหนี้ชนะกี่คดี จำเป็นหรือไม่ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ ที่อาจใช้. “เทคนิค” ไม่เป็นที่ยอมรับของปชช.แต่ปชช.ไม่สามารถดำเนินการต่ออย่างใดได้

ดังนี้แล้วองค์กรศาลควรจะมีการตรวจสอบคำพิพากษาในศาลล้มละลายอย่างเข้มข้นเพื่อเป็นการป้องกันและควรเปิดช่องให้ปชช.แจ้งเบาะแส

อนึ่งวีคลี่นิวส์เคยเสนอข่าวเกี่ยวกับศาลล้มละลายเปิดให้เอกชนเข้าไปรับถ่ายเอกสาร ในราคาที่สูงถึงใบละ 3 บาทขณะที่ศาลปกครองเปิดให้เอกชนเข้าไปเปิดร้านถ่ายเอกสารเช่นกันแต่คิดใบละ .50 สตางค์เท่านั้น ฃึ่งทุกวันนี้เอกชนรายนี้คงยังเปิดให้บริการใบละ 3 บาท อยู่ โดยศาลล้มละลายก็ยังคิดหารายได้โดยไม่สนว่าปชช.ที่ใช้บริการจะเดือดร้อนหรือไม่อย่างไร หรือเพราะศาลล้มละลายมีรายได้จากการให้เอกชนรายนี้มาประกอบกิจการหรืออย่างไร จึงได้รายนี้มา เป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว