ศาลฟิตปีนี้แก้กม.หลายเรื่อง ด้านปชชเรียกร้องตรวจเข้ม”ดุลยพินิจ”
ศาลฟิตเตรียมแก้กฎหมายอาญาไม่จำกัดอายุความ หลังพบจำเลยหลบหนีคดี ไม่มาฟังคำพิพากษา พร้อมเตรียมตั้งศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ด้านปชชเรียกร้องให้ศาลยุติธรรมติดตามการใช้”ดุลยพินิจ”และ”การเรียงคำพิพากษา”เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาของปชช
นายอธิคม อินทุภูติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมสัมมนาสื่อมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี 2559 ณ แจ่มจันทร์ รีสอร์ท อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการศาลยุติธรรม กับสื่อมวลชน ประสานความร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสาร ในการนี้เลขาธิการศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า ในปี 2558 มีคดีในศาลชั้นต้น กว่า 1,404,199 แสนคดี พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว กว่า 1,215,734 แสนคดี หรือ ร้อยละ 86.58 คดีคงค้าง 188,465 คดี
ขณะที่ ศาลอุทธรณ์ มีคดี 51,201 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 42,954 คดี คิดเป็นร้อยละ 83.89 มีคดีคงค้าง 8,247 คดี ส่วน ศาลฎีกา มีคดี 27,746 คดี พิจารณาแล้วเสร็จ 14,061 คดี คิดเป็นร้อยละ 56.82 มีคดีคงค้าง 10,685 คดี ซึ่งถือว่ามีการแก้ไขปัญหาคดีคงค้างได้มากขึ้น
และขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมายการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา และจำเลย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในปี 2558 มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 3 แสนคน และประมาณ 1 ใน 4 คน ถึง 1 ใน 5 คน เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว
นายอธิคม กล่าวต่อว่า อีกปัญหาคือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนกับการบังคับใช้กฎหมาย เรื่องการปล่อยชั่วคราว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอแก้ไขกฎหมายการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาและจำเลย เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน กับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งในปี 2558 มีจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำกว่า 300,000 คน ซึ่งประมาณ 1 ใน 4 คน เป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ต้องหาและจำเลยกว่า 27,000 คน ที่ถูกปล่อยชั่วคราวแต่หลบหนี ซึ่งหากไทยมี Court Marshall หรือตำรวจศาลเหมือนเช่นต่างประเทศ อาจจะสามารถลดปัญหาดังกล่าวได้ แต่ปัจจุบันสำหรับไทยอาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะต้องใช้งบประมาณสูงมาก ที่ผ่านมา จึงใช้มาตรการออกหมายจับปรับนายประกัน และขณะนี้ยังได้แก้กฎหมายให้นำกำไลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM มาใช้กับผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกปล่อยชั่วคราวเพื่อป้องกันการหลบหนีและให้ติดตามตัวได้ง่ายขึ้น ซึ่งต้องได้รับการยินยอมจากผู้ต้องหาและจำเลยด้วย แต่หากผู้ต้องหาและจำเลยไม่ยินยอมจะให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวที่อาจจะไม่ได้รับการประกันตัว อย่างไรก็ดีขณะนี้ก็พยายามจะเสนอแก้กฎหมายในส่วนของประมวลวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนเรื่องของการนับอายุความ ที่จะให้เหมือนการพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ที่จะไม่ให้อายุความสิ้นสุดแม้จำเลยจะหลบหนี
นอกจากนี้ นายอธิคม ยังกล่าวว่า เตรียมจะจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภายหลังผ่านการพิจารณาร่างกฎหมายจัดตั้งศาลของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในเดือน ต.ค. 59 นี้ โดยจะเป็นศาลที่ใช้ระบบไต่สวน ในการพิจารณาคดีสำหรับข้าราชการทุกระดับ แต่ในส่วนนักการเมืองนั้นยังคงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอธิคม กล่าวถึงการดำเนินคดีกับกลุ่มแฮกเกอร์ที่บุกรุกเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมจนเกิดความเสียหายในระบบ เมื่อช่วงกลางเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา ว่า ขณะนี้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้แล้วบางส่วน แต่ศาลจะต้องตรวจสอบระบบต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดข่องโหว่ที่จะให้ใช้ในการโจมตีอีก และสำนักงานศาลยุติธรรมได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปรามการกระความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แล้ว แต่ยังไม่ได้รับรายงานความคืบหน้าทางคดีจากตำรวจ
ทางด้านกลุ่มประชาชนที่สัมพันธ์กับกระบวนการยุติธรรมรับฟังและแสดงความเห็นถึงเรื่องการออกกฎหมายเกี่ยวกับศาลตามที่กล่าวแล้ว กล่าวว่า ในเร็วๆนี้อาจมีการออกกฎหมายบังคับใช้ประมวลวิธีพิจารณาความอาญาประเด็นเรื่องการฎีกาต้องขออนุญาต ด้วย นั้น ถือว่าเป็นการลดขบวนการพิจารณาจากสามศาลเหลือสองศาลแม้ว่าศาลจะกำหนดองค์คณะขึ้นมาพิจารณาเพื่อจะรับหรือไม่รับฎีกาก็ตาม อาจทำให้สิทธิของปชชถูกริดรอนไปได้ส่วนหนึ่ง
นอกจากนี้ในเรื่องของ”ดุลยพินิจ”ของศาล ศาลยุติธรรมควรจะตรวจเข้มว่าเป็นไปตามหลักของจริยธรรมศาลและกฎหมายหรือไม่ เพื่อให้ผู้พิพากษาอยู่ในกรอบที่วางไว้ โดยเฉพาะเรื่อง”การเรียงคำพิพากษา”ทำอย่างไรจึงจะเขียนให้เป็นที่ยอมรับของคู่ความ อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อปชช
ใส่ความเห็น