image

อ่านข่าวนี้มาด้วยความยินดี กับ นพ.วัฒนา พารีศรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย กล่าวว่า โรงพยาบาลมีวิสัยทัศน์ว่าจะต้อง “เป็นโรงพยาบาลภาครัฐสมัยใหม่ ที่ก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาค” จึงได้พัฒนาโรงพยาบาลให้มีความพร้อมในการให้บริการประชาชนทุกด้าน และการที่ได้รับการรับรองจาก JCI นั้นถือว่าเป็นความท้าทายของโรงพยาบาล เพราะใช้เวลาเพียงปีกว่าๆ ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการจนได้รับการตรวจรับรองไปเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา โดยใบรับรองมีอายุ 3 ปี จากนี้ไป

“การได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI นั้น ถือเป็นหลักประกันให้กับผู้มาใช้บริการว่า โรงพยาบาลของเราจะส่งมอบมาตรฐานการรักษาพยาบาลระดับสากล ให้กับผู้มาใช้บริการ และประชาชนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนที่มีเงินจ่ายค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่เท่านั้น แต่โรงพยาบาลของเราแม้จะเป็นโรงพยาบาลชุมชนของรัฐก็จะมอบมาตรฐานการรักษาอย่างซื่อสัตย์ให้กับทุกคน เพราะหวังว่า จะได้ WIN WIN WIN กันทั้ง 3 ฝ่าย คือ WIN : ประชาชนจะได้รับบริการที่ดี มีความพอใจ WIN : เจ้าหน้าที่มีความสุขในการปฏิบัติงาน และ WIN : องค์กรมีความเข้มแข็งและยั่งยืน”

ฟังแล้วประทับใจยิ่งนัก กว่าจะได้มาโดยไม่ต้องฃื้อด้วยเงิน ได้ด้วยฝีมือของการร่วมแรงร่วมใจของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดของรพ.แห่งนี้
ขอให้ช่วยกันรักษาความดีนี้ไว้ดุจเกลือรักษาความเค็ม ขอเป็นกำลังใจให้กับ
คณะของรพ.ท่าบ่อ หนองคาย ที่สามารถทำได้สำเร็จ

image นายแพทย์ วัฒนา พาราศรี

นพ.วัฒนา กล่าวว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียงให้บริการผู้ป่วยเฉลี่ย 195 รายต่อวัน ในปี 2557 ได้ให้บริการผู้ป่วยจำนวน 17,657 คน และปี 2558 ให้บริการผู้ป่วยจำนวน 18,501 คน  นอกจากการให้บริการผู้ป่วยชาวไทยแล้วยังได้ให้บริการผู้ป่วยจาก สปป.ลาว ที่มาใช้บริการต่อปี (ประเภทผู้ป่วยนอก) ใน ปี 2557 จำนวน 8,579 คน ส่วนปี 2558 เพิ่มขึ้นเป็น 10,872 คน โดยเป็นผู้ป่วยในประมาณ 1,000 คนต่อปี มีรายได้จากผู้ป่วยชาว สปป.ลาวประมาณ 40-50 ล้านบาทต่อปี

ฟังแล้ว ก็มองดูจำนวนผู้ป่วยต่างชาติ(ลาว)ที่ข้ามมารักษาในปทไทยแล้วก็ให้นึกถึงผู้ป่วยแถวชายแดนจันทบุรี ที่เข้ามารักษาตัวแต่ไม่มีเงินจ่าย ทำให้รพต้องขาดทุนงบประมาณไปปีหนึ่งหลายสิบล้านบาท

และสิ่งที่น่าคิดคือบุคลากรทางการแพทย์ของเรามีพอเพียงที่จะเปิดรับการรักษาข้ามพรมแดนนี้หรือไม่ จำนวนผู้มาใช้บริการทั้งคนในประเทศและนอกประเทศจะทำให้งานโหลดเกินไปสำหรับพวกเขาหรือไม่

แต่นายแพทย์ วัฒนา บอกว่า “การที่เรามีรายได้จากผู้ป่วย สปป.ลาว มากขึ้นเรื่อยๆ  ไม่ใช่สาเหตุหลักที่เรามุ่งมั่นในการพัฒนาโรงพยาบาล ให้ได้รับมาตรฐาน JCI เพราะเราเป็นโรงพยาบาลของรัฐที่ไม่ได้แสวงหากำไร แต่เป็นเพราะมาตรฐาน JCI นั้น ตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ได้มากที่สุด เพราะมาตรฐานนี้ครอบคลุมทุกด้าน เช่น มาตรฐานการรักษาพยาบาล สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล อาคาร สถานที่ การจำกัดของเสีย การให้ยา ให้เลือดผู้ป่วย” นพ.วัฒนากล่าวและว่าโรงพยาบาลใช้งบประมาณในส่วนของการตรวจประเมินประมาณ 1.9 ล้านบาท แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เมื่อเทียบกับสิ่งที่ผู้ใช้บริการได้รับ
สำหรับโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ ในประเทศที่เห็นความสำคัญและต้องการได้รับการรับรองจาก JCI นั้น นพ.วัฒนากล่าวว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชน ได้ทำให้เห็นแล้วว่าโรงพยาบาลระดับใดก็สามารถทำได้ แต่ต้องประเมินศักยภาพของโรงพยาบาลก่อนว่ามีความพร้อมหรือไม่ ทั้งด้านบุคลากร สถานที่ ศักยภาพและความสามารถในการรักษาพยาบาล พันธมิตรที่จะมาร่วมมือกันพัฒนา และงบประมาณที่จะใช้ในการปรับปรุงโรงพยาบาลให้ได้มาตฐาน ซึ่งจะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลว่ามีความพร้อมในระดับใด

อยากให้รพอื่นๆได้มีผู้บริหารและทีมงานที่ทุ่มแรงกายแรงใจอย่างนี้บ้างจัง ตอนนี้ใครจะผ่าตัดถุงน้ำดี นายแพทย์ วัฒนา บอกว่า รพ ท่าบ่อ ถือเป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งแรกที่นำเทคนิคการผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้องวิดีทัศน์ มารักษาผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2537 ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลที่ทำผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้องวิดีทัศน์ มากที่สุดในประเทศไทย.

ยินดีด้วยกับปชชบริเวณนั้นที่โชคดีได้รพดี ได้บุคลากรทางการแพทย์ดี คงต้องไปขอความรู้ดีๆมาพัฒนารพข้างบ้านตัวเองบ้างแล้วเผื่อจะช่วยให้รพของเราได้รับการรับรองมาตรฐาน jci บ้าง

พัชรินทร์ วิกิตเศรษฐ

26/1/59