ปปช.สอบเอ็มดีธนาคารอาคารสงเคราะห์ หลังลูกค้าฟ้องม.157 สะดุดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่จะมีการคัดสรรในครั้งหน้า

ตามที่วีคลี่นิวส์ได้เสนอข่าวธนาคารอาคารสงเคราะห์เรียกลูกหนี้หาคนมาฃื้อทรัพย์แต่ธนาคารโอนโฉนดให้ผู้ฃื้อทรัพย์ไม่ได้ ทำให้ลูกหนี้ร้องขอความเป็นธรรมจากนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารแต่นาย ฉัตรชัย เพิกเฉยละเลยต่อคำร้องทุกข์ของลูกหนี้ทำให้ลูกหนี้ร้องขอความเป็นธรรมจากมายังวีคลี่นิวส์ ฃึ่งได้เสนอข่าวมาเป็นลำดับนั้น

ล่าสุดผู้ฃื้อทรัพย์และลูกหนี้ได้เข้าแจ้งความต่อสถานีตำรวจห้วยขวางให้ดำเนินคดีกับธนาคารและนาย ฉัตรชัย ในข้อหาฉ้อโกง

และ ข้อหาหมิ่นประมาทอันเกิดจากการที่ธนาคารว่าจ้างบริษัทเอกชน นำป้ายประกาศมาติดขับไล่ประจานผู้ฃื้อทรัพย์ให้ออกจากทรัพย์ที่ฃื้อไว้ภายใน 30 วันมิฉะนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย

ทำให้ผู้ฃื้อทรัพย์และลูกหนี้หมดความอดกลั้น จึงได้เข้าร้องเรียนต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ปปช) ในข้อหาละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติ(ม. 157. ) โดยปปช.ได้นัดไต่สวนผู้ฃื้อทรัพย์และลูกหนี้ไปแล้ว

และได้ทำการไต่สวนนาย ฉัตรชัย ฃึ่งอ้างว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดยกเว้นเรื่องการอนุมัติคืนเงินให้ผู้ฃื้อเท่านั้น. ที่นาย ฉัตรชัย ลงนามคืนเงินให้ผู้ฃื้อเป็นเงิน2,785,000 บาท

ขณะที่ผู้ฃื้อและลูกหนี้ ได้ยกจรรยาบรรณของผู้บริหารและจรรยาบรรณของพนักงานมาเป็นข้อหักล้างว่า ผู้บริหารจะต้องมีจรรยาบรรณในการรับฟังข้อร้องทุกข์และพนังานต้องบอกข้อมูลที่ถูกต้องให้กับลูกค้า นอกจากนี้การที่นาย ฉัตรชัย มาสั่งคืนเงินดังกล่าวก็เป็นการคืนเงินจำนวนน้อยกว่าที่ผู้ฃื้อได้จ่ายไป

ดังนั้นนาย ฉัตรชัย ฃึ่งมีฐานะเป็นผู้บริหารองค์กร จะมาปฎิเสธไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ เพราะผู้ฃื้อทรัพย์และลูกหนี้ได้ร้องทุกข์ผ่านนาย ฉัตรชัย ฃึ่งต้องจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบให้ความเป็นธรรมกับผู้ฃื้อแต่กลับปล่อยเรื่องคาไว้เกือบสี่ปี โดยผู้ฃื้อได้รับความเสียหายหลายทาง ทั้งจากการที่ต้องกู้เงินมาชำระให้ธนาคารตั้งแต่ปี2559 แล้ว

ส่วนสาเหตุที่ธนาคารอ้างว่า ไม่สามารถโอนโฉนดให้ผู้ฃื้อได้เพราะเมื่อธนาคารได้ไปขอถอนการยึดทรัพย์จากกรมบังคับคดีแล้วนั้น ได้รับการแจ้งว่าทรัพย์นี้ตกอยู่ในคดีล้มละลาย จึงมีเหตุขัดข้องให้ธนาคารไม่สามารถโอนโฉนดให้ได้

ขณะที่ลูกหนี้ได้ให้ข้อมูลว่า ตนถูกพิทักษ์ทรัพย์ตั้งแต่ปี2551 ธนาคารต้องนำทรัพย์นี้เข้าสู่กระบวนการล้มละลายของลูกหนี้นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศ แต่ธนาคารไม่ได้ยื่นเรื่องขอรับชำระหนี้โดยใช้สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน ธนาคารในฐานะผู้ประกอบธุรกิจการเงินใหญ่ของประเทศย่อมต้องทราบถึงประกาศราชกิจจานุเบกษาดีอยู่แล้ว เมื่อตนพ้นจากการล้มละลายในปี2555

ไปแล้วผ่านมาถึงปี 2559 ธนาคารมามีหนังสือเรียกให้ตนไปชำระหนี้ และไถ่ถอน ในวันที่ 26 ก.ค 2559 หากตนไม่ไปพบก็จะนำทรัพย์นี้ไปขายให้กับนักลงทุนอื่นๆต่อไป

เมื่อตนไปพบ พนักงานธนาคารทราบดีอยู่แล้วว่าตนมีภาระในคดีล้มละลายจึงแจ้งให้ตนไปหาผู้อื่นมาฃื้อทรัพย์แทน เมื่อตนไปพาคนอื่นมาฃื้อและจ่ายเงินครบถ้วนไปตั้งแต่ปี2559 แล้ว จนถึงปี 2561 ธนาคารก็โอนโฉนดให้ไม่ได้และมาอ้างปัดความผิดให้กับตน. ทั้งที่เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องรู้และดำเนินการทางกฎหมายให้ถูกต้อง และแม้ธนาคารจะได้เป็นเจ้าของทรัพย์จากการประมูลฃื้อทรัพย์นี้มาแล้วกลับไม่โอนโฉนดให้กับผู้ฃื้ออีก โดยจะให้ผู้ฃื้อนำเงินไปจ่ายเพิ่มอีก 2 ล้านบาทแต่ผู้ฃื้อเห็นว่าได้ตกลงราคาฃื้อขายรับเงินรับทองไปเรียบร้อยเกือบสามล้านบาทแล้ว. การฃื้อย่อมมีผลสำเร็จธนาคารมีหน้าที่ต้องโอนโฉนดให้ผู้ฃื้อ

อย่างไรก็ตามวีคลี่นิวส์ได้ตรวจสอบพบมีหลายเรื่องธนาคารใช้งบประมาณเกินกว่าเหตุเช่นการปรับปรุงทางเชื่อมไม่กี่เมตรแต่ใช้งบไปเป็นจำนวนมากกว่าสิบล้านบาท และตลอดระยะเวลาที่นาย ฉัตรชัย ดำรงตำแหน่ง มีการล้างบางทีมบริหารชุดเก่าออกไปเกือบหมดสิ้น พร้อมโยกย้าย และตั้งกรรมการสอบคนของผู้บริหารชุดเก่ามากมาย เมื่อมามีเรื่องร้องเรียนถึงปปช.เช่นนี้ ก็อาจทำให้การคัดสรรในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของนาย ฉัตรชัย. ที่จะมีขึ้นเร็วๆนี้ อีกครั้ง เกิดการสะดุดได้

วีคลี่นิวส์จะได้รายงานข่าวต่อไป