เมื่อเวลา15.00 น.วันที่21 กุมภาพันธ์2563 ที่ศาลรัฐธรรมนูญถนนแจ้งวัฒนะกทม. องค์คณะตุลาการออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เพื่อให้พิจารณายุบพรรคอนาคตใหม่ตามมาตรา92 วรรคหนึ่ง(3) ประกอบมาตรา72 ของพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง2560 กรณีพรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินนายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่จำนวน191.2 ล้านบาทโดยกกต.ส่งนายสมพลพรผลผอ.สำนักกิจการพรรคการเมืองเป็นผู้แทนเข้ารับฟังคำวินิจส่วนพรรคอนาคตใหม่ไม่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังคำวินิจฉัยทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ7 ต่อ2  ให้ยุบพรรคอนาคตใหม่และตัดสิทธิ์16 กรรมการบริหารพรรค  โดยให้เว้นวรรคทางการเมืองเป็นเวลา10ปีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัย

นายวรวิทย์กังศศิเทียมตุลาการรัฐธรรมนูญเริ่มต้นอ่านคำวินิจฉัยว่า   คดีนี้กกต.ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเพื่อให้มีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่โดยศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องไต่สวนพยานบุคคลแต่เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาให้พยานบุคคลทั้ง  17 ปากจัดทำบันทึกถ้อยคำหรือความเห็นยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยศาลกำหนดประเด็นวินิจฉัยไว้4 ประเด็นดังนี้1 ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา92 หรือไม่  2 มีเหตุให้ยุบพรรคตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา92 หรือไม่3 คณะกรรมการบริหารพรรคจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่และ4 ผู้ที่เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคที่ถูกสั่งยุบพรรคจะจดทะเบียนก่อตั้งพรรคใหม่ภายในเวลา10 ปีหรือไม่

โดยข้อเท็จจริงเบื้องต้นตลอดจนความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องและพยานหลักฐานต่างๆ  พบว่าพรรคอนาคตใหม่นำส่งงบการเงินประจำปีพ.ศ.2561 และนำส่งงบการเงินต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง2 ครั้งในวันที่3 ต.ค.61 และ31 ธ.ค. โดยระบุว่ามีรายได้  71 ล้านค่าใช้จ่าย72.6 ล้านบาทมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้1.4 ล้านบาท  ต่อมาจึงทำสัญญากู้เงิน161.2 ล้านบาทโดยรับเงินต้นเรียบร้อยและยอมเสียดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปีกำหนดส่งดอกเบี้ยทุกเดือนและต่อมามีการชำระเงินกู้บางส่วนรวม3 ครั้ง  ครั้งที่1 วันที่  4 ม.ค.62 จำนวน14.2 ล้านบาทครั้งที่2 วันที่21 ม.ค.62  โดยชำระคืนเป็นเงินสดจำนวน8 ล้านบาทและครั้งที่3 วันที่29 ม.ค. 62 ชำระคืนโดยโอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์สาขาไทยซัมมิทจำนวน  50 ล้านบาท  รวมเป็นเงิน72 ล้านบาท 

ต่อมาพรรคอนาคตใหม่ทำสัญญากู้เงินจากนายธนาธรอีก30 ล้านบาท  โดยในวันทำสัญญาได้รับเงินต้นไปจำนวน  2.7 ล้านทำสัญญาชำระดอกเบี้ยร้อยละ2 ต่อปีของต้นเงินกู้  ซึ่งนายธนาธรยอมรับว่ามีการแก้สัญญาที่กำหนดให้ส่งดอกเบี้ยทุกเดือนมาเป็นส่งดอกเบี้ยทุกปี  นอกจากนี้นายธนาธรยังบริจาคเงินจำนวน  8.5 ล้านบาทให้กับพรรคอนาคตใหม่  ทั้งนี้ในส่วนของการชำระคืนเงินกู้พบว่ามีการจ่ายดอกเบี้ยพร้อมเบี้ยปรับ5.8 ล้านและการชำระดอกเบี้ยพร้อมเบี้ยปรับ1.4 ล้านบาท

       นายวรวิทย์กล่าวด้วยว่าประเด็นที่1 กกต.มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้ยุบพรรคการเมืองตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา92 หรือไม่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าตามพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองกำหนดว่าเมื่อผู้ร้องมีหลักฐานอันควรเชื่อว่าพรรคการเมืองกระทำความสามารถยื่นศาลสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น  หรือเมื่อความปรากฏต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองหรือเลขาธิการกกต. ให้รวบรวมขอเท็จจริง  โดยระเบียบกกต.ข้อ54 วรรคหนึ่งและข้อ55 วรรคหนึ่งกำหนดหลักเกณฑ์รองรับไว้

ข้อโต้แย้งของพรรคอนาคตใหม่ที่ว่าคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วว่าการกู้ยืมเงินของพรรคไม่มีมูลความผิดการที่นายทะเบียนพรรคการเมืองตั้งฐานความผิดเสนอต่อกรรมการกกต.ให้มีมติยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นศาลเห็นว่าความเห็นของกรรมการกกต.มีอิสระไม่ผูกพันกับคณะกรรมการไต่สวนสืบสวนและวินิจฉัย  ขณะที่การดำเนินคดีตามคำร้องของนายศรีสุวรรณจรรยาก็เสร็จสิ้นจากคณะกรรมการไต่สวนฯแล้ว  จึงยังไม่ถึงขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหาประกอบกับการแจ้งข้อกล่าวหาเป็นกระบวนการดำเนินคดีอาญาซึ่งแยกเป็นอิสระต่อกันจากกระบวนการยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค  ข้อโต้แย้งของพรรคอนาคตใหม่จึงฟังไม่ขึ้น

นายวรวิทย์อ่านคำวินิจฉัยต่อไปว่าการที่ผู้ร้องโต้แย้งว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยคดีนี้ศาลเห็นว่า  พรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองและพรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ  กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่วินิจฉัยคดีได้  ข้อโต้แย้งของพรรคอนาคตใหม่ฟังไม่ขึ้น  และเป็นที่ยุติตามที่กกต.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญได้ดำเนินการตามกระบวนการพิจารณาตั้งแต่การรับคำร้องในวันที่25 ธ.ค.62  และมีการประชุมองค์คณะตุลาการอย่างต่อเนื่องรวม11 ครั้งจนกระทั่งนัดฟังคำวินิจฉัยในวันที่21 ก.พ.62  ศาลได้ใช้เวลาพิจารณาคดีอย่างละเอียดถี่ถ้วนนานพอสมควร  โดยให้ความเป็นธรรมแก่ทั้ง2 ฝ่ายได้ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหารวมระยะเวลา71 วันจึงไม่ได้เร่งรัดหรือรวบรัด

ส่วนมีเหตุยุบพรรคผู้ถูกร้องตามมาตรา92 หรือไม่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ารัฐธรรมนูญมาตรา45 บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพบุคคลในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารพรรคการเมืองให้เป็นไปโดยเปิดเผยตรวจสอบได้ให้สมาชิกมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายส่งผู้สมัครกำหนดมาตรการให้สามารถดำเนินการกิจการพรรคได้โดยอิสระไม่ถูกครอบงำหรือถูกบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิกชี้นำครอบงำและการให้กำหนดมาตรการให้สมาชิกไม่กระทำฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดหมายกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งบทบัญญัติดังกล่าวรัฐธรรมนูญมุ่งหมายเพื่อให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชนอย่างกว้างขวางมีการบริหารกิจการภายในของพรรคเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองโดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมืองสามารถปฏิบัติหน้าที่ดำเนินกิจกรรมได้โดยอิสระปราศจากการครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือคณะบุคคลใดๆโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการพรรคนั้นเพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองเป็นธุรกิจการเมืองหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งอาศัยความได้เปรียบทางการเงินมาเป็นผู้บงการพรรคแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวได้รัฐสภา  จึงตราพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองขึ้นเป็นกฎหมายตามมาตรา45 บัญญัติไว้

ส่วนมาตรา66 ของพ.ร.ป.พรรคการเมืองที่ห้ามบุคคลบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้พรรคการเมืองเกิน10 ล้านบาทต่อปีบทบัญญัติดังกล่าวต้องการควบคุมพรรคการเมืองรับบริจาคเงินจากบุคคลเป็นมาตรการป้องกันไม่ให้พรรคบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดอาศัยความได้เปรียบทางการเงินมาเป็นนายทุนพรรคการเมืองเพื่อบงการหรือมีอิทธิพลครอบงำและชี้นำการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามประสงค์ของตนแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวได้ทำให้การบริหารกิจการบ้านเมืองไม่เป็นไปโดยอิสระทำให้การตรวจสอบถ่วงดุลกันภายในพรรคไม่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงอันเป็นการทำลายหลักความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา45 และส่งผลทำให้พรรคการเมืองถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบด้วยกฎหมายของผู้บงการหรือผู้มีอิทธิพลเหนือพรรคการเมืองจึงจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมการรับบริจาคของพรรคการเมืองเพื่อสร้างเสริมให้พรรคการเมืองมีความเป็นประชาธิปไตยภายในพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนมีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ

ประเด็นที่ต้องพิจารณามีว่าการที่พรรคการเมืองรับบริจาคทรัพย์เงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยรู้หรือควรรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอันจะเป็นการฝ่าฝืนมาตรา72 พ.ร.ป.พรรคการเมืองมีความหมายแค่ไหนเพียงไรเห็นว่ามาตรา72 มีข้อห้าม2 กรณี1.พรรคการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกระทำการฝ่าฝืนรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยรู้หรือควรรู้ว่าได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  อันเป็นทั้งการได้มาและวิธีการได้มาซึ่งเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เปิดเผย2.พรรคการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองกระทำการฝ่าฝืนรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการได้มาที่มีแหล่งที่มาจากการกระทำผิดกฎหมายหรือเป็นเงินสกปรกการฟอกเงินการค้าของเถื่อนค้ามนุษย์การทุจริตประพฤติมิชอบ

ซึ่งการได้มาทั้ง2 กรณีไม่ว่าจะเป็นจำนวนเท่าใดย่อมถือว่าเป็นการกระทำมิชอบด้วยกฎหมายทั้งสิ้นด้วยเหตุนี้พ.ร.ป.มาตรา72 เพื่อไม่ให้พรรคการเมืองไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้อันจะทำให้พรรคการเมืองกลายเป็นผู้สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมช่วยเหลือกระทำความผิดไปด้วยมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อระบบการเมืองของประเทศไทยเป็นมาตรการสำคัญในการเสริมสร้างระบบการเมืองของไทยให้มีความโปร่งใสน่าเชื่อถือของประชาชนสอดคล้องมาตรา77 วรรค1 ของกฎหมายเดียวกันที่กำหนดมาตรการวิธีการให้พรรคการเมืองปฏิบัติเพื่อให้การบริจาคของพรรคการเมืองเป็นไปตามกฎหมายเปิดเผยและตรวจสอบได้

ส่วนพรรคการเมืองสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่เห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองต้องอาศัยรายได้โดยกำหนดแหล่งที่มาไว้ในมาตรา62 ของพ.ร.ป.พรรคการเมืองดังนั้นเงินส่วนใดที่พรรคการเมืองนำมาใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองที่ไม่มีแหล่งที่มาตามกฎหมายระบุไว้ย่อมถือว่าเป็นเงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยมาตรา62 พ.ร.ป.พรรคการเมืองถึงแม้ว่าไม่ได้ห้ามการกู้ยืมเงินของพรรคการเมืองโดยชัดเจนแต่ไม่ได้รับรองว่าให้กระทำได้ประกอบกับพรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน   เงินกู้แม้มิได้เป็นรายได้แต่เป็นรายรับและเงินทางการเมืองการดำเนินการเกี่ยวกับการได้มาและการใช้จ่ายเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองจึงจะทำได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น

เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อต้องการกำหนดมาตรการทางกฎหมายกำกับให้พรรคการเมืองตรวจสอบได้และให้พรรคการเมืองดำเนินการโดยอิสระไม่ถูกครอบงำหรือชี้นำโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดการกู้ยืมเงินของพรรคการเมืองจึงต้องสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายปัญหามีว่าการรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินประโยชน์อื่นใดตามมาตรา72 มีความหมายอย่างไรเห็นว่าเมื่อพิจารณานิยามคำว่าบริจาคตามมาตรา4 ของกฎหมายเดียวกันหมายรวมถึงทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด  ส่วนคำว่าประโยชน์อื่นใดหมายถึงการให้ทรัพย์สินบริการส่วนลดโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้าและการทำให้หนี้ที่พรรคการเมืองเป็นหนี้สิ้นไปด้วย 

ซึ่งการที่กฎหมายใช้คำว่าให้หมายความรวมถึงในการนิยามความหมายของคำในกฎหมายย่อมมีความหมายรวมถึงสิ่งอื่นนอกจากสิ่งที่จำกัดความหรือให้ความหมายไว้ด้วย  เพราะฉะนั้นการให้ประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองย่อมความหมายรวมถึงการกระทำที่มีลักษณะทำนองเดียวกับการให้บริการหรือการให้ส่วนลดหรือว่ามีค่าตอบแทนหรือมีค่าตอบแทนที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้าและทำให้หนี้ของพรรคการเมืองลดลงหรือสิ้นไปหรือการให้ประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองที่ไม่สามารถคำนวณเป็นเงินได้ไม่ต้องการออกค่าใช้จ่ายซึ่งปกติต้องจ่ายอันมีลักษณะเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์   ดังนั้นการให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยโดยไม่ปกติทางกรค้าหรือการทำให้หนี้พรรคการเมืองลดลงหรือการได้เงินหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายที่ปกติต้องจ่ายย่อมถือว่าเป็นประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมืองตามมาตรา4 ต้องอยู่ภายใต้เจตนารมร์มาตรา45 วรรค2และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เงื่อนไขการบริจาคตามพ.ร.ป.พรรคการเมืองมาตรา66 และมาตรา  72

ด้วยเหตุนี้คำว่าบริจาคตามพ.ร.ป.พรรคการเมืองและประโยชน์อื่นใดของพ.ร.ป.พรรรคจึงมีความหมายเฉพาะตามกฎหมายนี้  เพื่อกำหนดสิ่งที่อยู่ในขอบข่ายบังคับแห่งกฎหมายเรื่องนี้และเป็นไปตามวัตถุประสงค์กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ต้องการควบคุมการสนับสนุนทางการเมืองให้เป็นไปโดยพอเหมาะพอควรแก่การดำเนินการโดยกำหนดให้พรรคมีระบบทางการเงินบัญชีรวมทั้งรายได้ของพรรคที่โปร่งใสตรวจสอบได้คุ้มครองหลักประชาธิปไตยภายในพรรคและป้องกันไม่ให้บุคคลใดอาศัยพรรคเป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ส่วนตนหรืออาศัยความได้เปรียบทางการเงินมาเป็นผู้บงการหรือมีอิทธิพลครอบงำชี้นำกิจการของพรรคการเมืองแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวได้

ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฎหมายงบการเงินประจำปี2561 ของพรรคอนาคตใหม่ตั้งแต่3.ต.ค.-31 ธ.ค.61 ที่ยื่นต่อกกต.ที่ระบุว่ามีรายได้จากเงินทุนประเดิม1,067,124 บาทรายได้รวม7,173,168 บาทส่วนค่าใช้จ่ายรวม72,663,705 บาทค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้1,490,537บาท  แต่พรรคกลับทำสัญญากู้เงินจากนายธนาธรรวม2 ฉบับรวม191.2 ล้านบาทแต่การคิดอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้าถือเป็นการให้ประโยชน์อื่นใดแก่พรรคการเมืองบรรดาที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้แม้พรรคอนาคตใหม่จะชำระหนี้เงินกู้บางส่วนให้แก่นายธนาธรหลายครั้ง  แต่การชำระคืนครั้งแรกเมื่อวันที่4 ม.ค. 2562

เป็นเงินสดจำนวนเงิน14 ล้านบาทภายหลังที่ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินเพียง2 วันถือเป็นการผิดปกติวิสัย

นอกจากนี้สัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่11 เม.ย.2552 ซึ่งมีวงเงินกู้จำนวน30 ล้านบาทอัตราดอกเบี้ยร้อยละ2 ปีแต่วันทำสัญญาพรรคอนาคตใหม่กลับรับเงินกู้เพียง2.7ล้านบาทการทำสัญญากู้เงินฉบับเพิ่มเติมโดยที่ยังมีหนี้เงินกู้ค้างชำระอยู่ไม่เป็นไปตามปกติวิสัยการทำสัญญาเงินกู้ดังกล่าวจึงลักษณะที่มีข้อตกลงในสัญญาและพฤติการณ์ในการเอื้อประโยชน์ช่วยเหลือพรรคอนาคตใหม่เป็นกรณีพิเศษไม่เป็นปกติในทางการค้าและไม่เป็นไปตามปกติวิสัยในการให้กู้เงินและการชำระหนี้เงินกู้ยืมและการคิดดอกเบี้ยก็ไม่เป็นไปตามปกติทางการค้าสำหรับการกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักประกัน  ถือเป็นการให้ประโยชน์อื่นใดแก่พรรคอนาคตใหม่บรรดาที่สามารถคำนวณเป็นเงินได้และเมื่อรวมประโยชน์อื่นใดที่พรรครับบริจาคกู้ยืมจำนวน191.2ล้านบาทกับเงินที่นายธนาธรบริจาคให้กับพรรคเมื่อปี62 จำนวน8.5ล้านบาทย่อมชัดแจ้งว่าเป็นกรณีการรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มีมูลค่าเกิน10 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งต้องห้ามตามมาตรา66 วรรคสอง

จากข้อเท็จจริงพฤติการณ์ดังกล่าวเห็นว่าการที่นายธนาธรให้เงินกู้พรรคอนาคตใหม่เป็นการบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดและการที่นายธนาธรซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคให้พรรคกู้ยืมเงินจำนวนมากนั้นกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ควรที่จะรู้ว่าการเป็นหนี้จำนวนมากต่อบุคคลใดย่อมก่อให้เกิดการครอบงำชี้นำโดยบุคคลที่เป็นเจ้าหนี้อาศัยอำนาจแห่งมูลหนี้ที่จะเรียกให้พรรคชำระหนี้หรืองดเว้นการอันใดตามสัญญาก็ได้ทั้งยังก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการเงินมาเป็นผู้บงการพรรคแต่เพียงผู้เดียวหรือกลุ่มเดียวอันส่งผลให้พรรคการเมืองเป็นธุรกิจการเมืองดังนั้นการกู้ยืมเงินของพรรคอนาคตใหม่จึงมีเจตนาหลีกเลี่ยงการรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นตามมาตรา66 เมื่อการรับบริจาคดังกล่าวต้องห้ามตามมาตรา66 จึงเป็นการรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพ.ร.ป.พรรคการเมืองมาตรา72 กรณีจึงมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคอนาคตใหม่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา72 อันเป็นเหตุให้สั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ตามพ.ร.ป.พรรคการเมืองตามตรา92 วรรคสองประกอบวรรคหนึ่ง(3)

ต่อมานายนครินทร์เมฆไตรรัตน์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยในประเด็นที่3ว่าเมื่อศาลตัดสินให้ยุบพรรคอนาคตใหม่แล้วต้องเพิกถอนสิทธิสมัครของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่  2 ม.ค. 62 และวันที่11 เม.ย.62 ซึ่งเป็นวันที่ทำสัญญากู้เงินอันเป็นการกระทำความผิดจนเป็นเหตุให้ถูกยุบพรรคโดยกำหนดระยะเวลาเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง10 ปี  ซึ่งเหมาะควรกับความผิดที่ได้ฝ่าฝืนพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา72 เรื่องห้ามบริจาคเงินให้พรรคการเมืองเกินกว่า10 ล้านบาทต่อปีและห้ามพรรคการเมืองรับบริจาคโดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยกรรมการบริหารของพรรคที่ถูกยุบนั้น  จะไปจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาใหม่อีกไม่ได้ภายในเวลา10 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค