นักบัญชีชื่อดัง”พี่หนอม”โพสต์เฟฃบุ๊คTax bugnoms ตั้งคำถามเงินกู้= รายได้เราคิดแบบนี้ได้จริงๆเหรอครับ? 

หลังจากศาลรธน.มีคำวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคอนาคตใหม่และกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา10ปีนั้นพี่หนอมนักบัญชีที่มีประสบการณ์และเป็นนักอบรมเกี่ยวกับการบัญชีชื่อดังได้โพสต์เฟฃบุ๊คTax bugnoms โดยตั้งคำถามว่าเงินกู้= รายได้เราคิดแบบนี้ได้จริงๆเหรอครับ? 

พร้อมกับอธิบายว่า 

  1.   “เฮ้ยขอยืมเงิน100 บาทดิอีก3 วันคืนให้”

                    “ให้ยืมนะไม่ได้ให้” 

เรามักจะได้ยินประโยคแบบนี้ในหมู่เพื่อนสนิทมิตรสหายเพื่อย้ำว่าการยืมเงินก็คือการยืมเงินไม่ได้เป็นการขอเงินมาใช้ฟรีๆเพราะมีกำหนดระยะเวลาชำระคืนตามสัญญา

เงิน100 บาทอาจจะดูไม่สำคัญอะไร

แต่ถ้าหากยืมเงินกันหลักหมื่นแสนล้าน 

ผู้ให้ยืมเงินจะรู้สึกไม่สบายใจสักเท่าไร 

เพราะมันมีผลกระทบความมั่งคั่งของเขา

ถ้าอยากให้เรื่องนี้ดูเป็นจริงเป็นจังสักหน่อยผู้ยืมอาจจะขอทำสัญญาเงินกู้แล้วมีการจ่ายดอกเบี้ยให้ตามสัญญาเพื่อความสบายใจของผู้ที่ให้กู้

ถ้าถามว่าเงินก้อนนี้คือหนี้สินทีต้องใช้หรือรายได้ทีได้รับมากันแน่เชื่อว่าหลายคนก็ตอบได้ชัดเจนเลยว่านี่คือหนี้สินเพราะมันต้องมีการชดใช้คืนตามเวลาที่กำหนดไว้

แต่มันจะเป็นรายได้เมื่อไรกันล่ะ? 

  1. เวลาบริษัทขาดสภาพคล่องหมนุเวียน 

แหล่งเงินทุนที่ชอบใช้กันคือเงินกู้ยืมจากกรรมการ 

ถ้าเป็นคนที่เรียนบัญชีหรือนักบัญชีทั้งหลายย่อมตอบได้ง่ายๆว่าเงินที่ได้รับมาเป็นหนี้สินที่ต้องชดใช้หรือถ้าจะให้ลงบัญชีก็จะบันทึกรายการแบบนี้ 

Dr. เงินสด/เงินฝากธนาคาร

Cr. เงินกู้ยืมจากกรรมการ 

จากสมการบัญชีสินทรัพย์= หนี้สิน+ ทุน 

แม้ว่าเราจะได้เงินมาในฝั่งสินทรัพย์ 

แต่เงินที่ได้รับมานั้นก็เพิ่มในฝั่งหนี้สินเช่นเดียวกัน 

แต่ถ้าวันหนึ่งบริษัทจะเลิกกิจการหรือรู้ตัวว่าไม่สามารถจ่ายคืนเงินให้กรรมการได้รายการนี้จะกลายเป็น”รายได้” ขึ้นมาทันทีโดยลงบัญชีแบบนี้

Dr. เงินกู้ยืมจากกรรมการ

Cr. รายได้อื่น 

ดังนั้นคำตอบที่เราจะตอบคำถามได้ว่าเงินกู้จะกลายเป็นรายได้ได้นั้นต้องเป็นเงินกู้ที่ไม่ต้องชดใช้หรือมีการยกหนี้ให้ฟรีๆ 

ไม่เช่นนั้นมันก็ต้องเป็นเงินกู้อยู่ในบัญชีต่อไป 

  1. ในมุมของชีวิตและในมุมของบัญชี

เราจะเห็นสอดคล้องกันว่าเงินกู้ไม่มีทางเป็นรายได้ 

จนกว่าจะเกิดการ”ยกหนี้ให้” 

เพื่อให้เงินกู้ยืมเปลี่ยนแปลงเป็นรายได้ 

หรือไม่ก็เกิดจากการที่”ให้เปล่า” ตั้งแต่แรก

ซึ่งเงินก้อนนี้ก็จะไม่ถูกเรียกว่าเป็นเงินกู้ 

แต่อาจจะถูกเรียกว่าเป็นเงินได้/รายได้

หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า”เงินบริจาค” 

ทีนี้พอมันกลายเป็นเรื่องของพรรคการเมือง

สิ่งทีต้องดูเพิ่มคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ 

คำถามคือถ้ากฎหมายไม่มีเขียนเรื่องนี้ไว้

เราจะใช้อะไรตัดสินดีว่ามันคือเงินประเภทไหน?

  1. มาตรา๖๖ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองเขียนเอาไว้ว่า 

บุคคลใดจะบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองมีมูลค่าเกินสิบล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปีมิได้และในกรณีที่บุคคลนั้นเป็นนิติบุคคลการบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองไม่ว่าพรรคเดียวหรือหลายพรรคเกินปีละห้าล้านบาทต้องแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมใหญ่คราวต่อไปหลังจากบริจาคแล้ว

พรรคการเมืองจะรับบริจาคเงินทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าเกินวรรคหนึ่งมิได้

นั่นแปลว่าถ้ามีใครสักคนหนึ่งบริจาคเงินให้พรรคการเมืองแล้วเกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดคือ10 ล้านบาทจะถือว่าผิดกฎหมายฉบับนี้

คำถามที่มีต่อเรื่องนี้คือพรรคการเมืองสามารถกู้เงินได้หรือเปล่า?  ซึ่งกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าสามารถทำได้หรือไม่สามารถทำได้ 

ถ้าสามารถกู้เงินได้และมีสัญญาถูกต้อง 

นี่คือเงินกู้ที่ต้องชดใช้ตามที่สัญญาว่าไว้

แต่ถ้าไม่สามารถกู้เงินได้แม้จะมีสัญญา

จะกลายเป็นว่านี่คือ  รายได้จากการบริจาค

สิ่งเหล่านี้คือมุมมองที่น่าหนักใจในการคิดวิเคราะห์และตีความกฎหมายว่าจริงๆแล้วการไม่มีข้อบังคับระบุไว้นั้นมันเป็นเรื่องที่ทำได้หรือทำไม่ได้กันแน่ 

บางทีแล้วอาจจะต้องมองต่อไปด้วยว่าพรรคการเมืองนั้นถือเป็นบุคคลที่มีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ซึ่งจะทำให้การตีความนี้ชัดเจนขึ้นครับ 

(แก้ไขเพิ่มเติม) และรวมถึงหลักกฎหมายมหาชนต่างๆที่เกี่ยวข้องด้วย

ตรงนี้ต้องขออภัยด้วยที่ผมให้ความเห็นต่อไม่ได้ว่าควรตีความเป็นแบบไหนอย่างไร? เพราะส่วนนี้เกินความสามารถของผมไปแล้วครับ

แม้ว่าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ยากที่สุดในการตีความกฎหมายแต่มันคือสิ่งที่ตอบคำถามได้ดีที่สุดว่าแต่ละคนมองเรื่องนี้ในมุมไหน 

5.อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะเขียนประเด็นเรื่องการเมืองแต่เจตนาของผมไม่ได้ต้องการแสดงความคิดเห็นว่า”เห็นด้วย” หรือ”ไม่เห็นด้วย” กับเรื่องนี้เพื่อให้เป็นประเด็นทางการเมือง 

เพียงแต่ผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้ควรจะเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้และการเข้าใจกฎหมายเพื่อตีความได้อย่างถูกต้องรวมถึงหลักการบัญชีที่น่าสนใจ 

ซึ่งถ้าใครคิดเห็นต่างกันไป 

สามารถแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ 

สุดท้ายนี้ถ้าสิ่งที่ผมเขียนนั้นไม่ถูกใจใคร 

ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ?

#TAXBugnoms