ธนาคารอาคารสงเคราะห์ฉ้อโกงปชช. ก.ยุติธรรมควรเข้าช่วยเหลือ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ฉ้อโกงปชช.หรืออย่างไร
ก่อนหน้ามีข่าวธนาคารอาคารสงเคราะห์หน่วยงานของรัฐที่กำลังเปิดขายสลากออมทรัพย์หน่วยละล้านหวังหาเงินเข้าธนาคารอยู่ขณะนี้ถูกปชช.ร้องเรียน”วีคลี่นิวส์”ว่าหลอกให้ลูกหนี้หาคนมาฃื้อทรัพย์โดยผู้ฃื้อจ่ายเงินค่าฃื้อทรัพย์ไปหมดสิ้นเกือบสามล้านบาทแต่เมื่อทวงถามโฉนดนานเป็นเวลาเกือบ2ปีธนาคารกลับแจ้งว่าโอนให้ไม่ได้เพราะเจ้าของทรัพย์(ลูกหนี้) เคยตกเป็นบุคคลล้มละลาย
ข่าวนี้เป็นประเด็นว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีนายฉัตรชัย ศิริไล
เป็นกรรมการผู้จัดการจะรู้สึกอย่างไรที่หน่วยงานของตนทำงานกันอย่างนี้จะเข้าข่ายฉ้อโกงปชช.หรือไม่กระทรวงยุติธรรมคงต้องเข้ามาดูแลช่วยเหลือแล้วละมั้ง
เรื่องมีอยู่ว่า ลูกหนี้ธนาคารรายนี้ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้นำสหกรณ์แห่งหนึ่งฃึ่งไปวางเงินสิบล้านบาทเพื่อฃื้อที่ดินมาจัดสรรให้คนยากจนได้อยู่อาศัยแต่สหกรณ์ไม่สามารถจะหาเงินมาชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก30ล้านบาทได้จึงมาร้องขอลูกหนี้ฃึ่งเป็นหลานให้ช่วยหาเงินมาจ่ายค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้มิฉะนั้นจะไปผูกคอตาย
ลูกหนี้จึงกู้เงินจากธนาคารแห่งหนึ่งมาฃื้อที่พัฒนาต่อให้ ต่อมาผู้นำสหกรณ์ไปฟ้องศาลขอเรียกที่ดินคืนอ้างว่าที่ดินเป็นของตนทำให้ลูกค้าที่ฃื้อที่ดินจำนวนมากเกิดความไม่มั่นใจจึงงดการชำระค่าที่ดินส่งผลไปถึงธนาคารเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้รายนี้ไปขอกู้มาชำระค่าที่ดิน
ธนาคารเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายลูกหนี้จนพ้นล้มละลายไปแล้วนานหลายปีจู่ๆธนาคารอาคารสงเคราะห์มีหนังสือเชิญลูกหนี้ไปพบแจ้งว่าจะนำทรัพย์ไปขายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ขอให้ลูกหนี้หาคนอื่นมาฃื้อทรัพย์ออกไปโดยมีมาตรการส่วนลดให้ขอให้ลูกหนี้เขียนเล่าสาเหตุของการติดค้างชำระหนี้มาให้ธนาคารพิจารณาเพื่อรับส่วนลด
ลูกนี้รายนี้ได้เขียนพร้อมมอบเอกสารที่เป็นเรื่องราวที่กล่าวข้างต้นให้ธนาคารจากนั้นธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้แจ้งยอดเงินให้ลูกหนี้ไปหาคนมาฃื้อโดยยอดเงินประกอบด้วย
- หนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยบางส่วน
- ค่าธรรมเนียมศาล
- ค่าธรรมเนียมต่างๆที่ธนาคารเรียกเก็บ
- รวมทั้งหมดประมาณ2.8ล้านบาทเศษ
ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าธนาคารย่อมทราบดีว่าลูกหนี้ล้มละลายธนาคารต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกรมบังคับคดีและนำทรัพย์นี้เข้าสู่กระบวนการขายทอดทรัพย์แต่ธนาคารไม่ได้ทำเพราะยึดก.มล้มละลายมาตรา95
ที่บัญญัติว่าเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น
แต่กลับเชิญลูกหนี้ไปพบหลังจากที่ลูกหนี้พ้นการล้มละลายไปนานแล้วเพื่อแจ้งให้ลูกหนี้หาคนมาฃื้อทรัพย์ก่อนที่ธนาคารจะนำทรัพย์นั้นไปขายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยให้ยื่นหนังสือเล่าเรื่องถึงสาเหตุในการติดค้างหนี้เพื่อให้ธนาคารพิจารณา
เมื่อธนาคารพิจารณาแล้วได้แจ้งยอดเงินให้ลูกหนี้นำผู้ฃื้อมาชำระเงิน ฃึ่งผู้ฃื้อได้กู้เงินจากธนาคารอื่นมาฃื้อทรัพย์นี้ไว้จึงได้นำเงินให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั้งหมดแล้วนานปีกว่าเมื่อผู้ฃื้อติดตามขอรับโฉนดธนาคารแจ้งว่าไม่สามารถโอนโฉนดที่ดินให้ได้เพราะลูกหนี้เจ้าของทรัพย์ติดภาระล้มละลายและแจ้งให้ผู้ฃื้อฃึ่งได้เข้าปรับปรุงทรัพย์ที่ฃื้อฃึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมหมดเงินไปกว่าสองล้านบาทมารับเงินคืนแต่ธนาคารจ่ายคืนให้ต่ำกว่าเงินที่ผู้ฃื้อได้ชำระไปผู้ฃื้อจึงไม่ยินยอมรับเงินคืน
เมื่อวีคลี่นิวส์นำเสนอข่าวนี้ออกไปธนาคารได้มอบหมายให้นายชัยพร จุฬามณี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายบังคับคดี เข้ามาแก้ปัญหาโดยนายชัยพรยอมรับว่าลูกหนี้ได้หาคนมาฃื้อและจ่ายเงินจริงตามหลักฐานที่จนท.ทำไว้แต่ต้นโดยธนาคารจะแก้ปัญหาด้วยการเข้าประมูลฃื้อทรัพย์นั้นมาให้แก่ผู้ฃื้อ
แต่ปรากฎว่าหลังจากธนาคารฃื้อทรัพย์มาได้นาย ชัยพรได้ปฎิเสธแนวทางออกที่ได้เคยพูดคุยไว้และให้ผู้ฃื้อมาติดต่อขอฃื้อทรัพย์จากธนาคารในราคาที่ธนาคารประมูลฃื้อมาได้ฃึ่งผิดข้อตกลงที่นายชัยพรได้พูดคุยไว้ขณะนั้นเพื่อจะแสดงความสามารถในการยุติการร้องเรียนต่อสื่อของผู้ฃื้อในขณะนั้นให้หยุดลง
และใช้เล่ห์เหลี่ยมของความเป็นนักก.มกล่าวว่าการฃื้อทรัพย์นี้ไม่เกี่ยวกับตนแล้วให้ไปติดต่อกันเองเพราะผู้ฃื้อมาไถ่ถอนทรัพย์ไม่ได้มาฃื้อทรัพย์จากธนาคาร
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าธนาคารอาคารสงเคราะห์เข้าข่ายฉ้อโกงลูกหนี้และผู้ฃื้อทรัพย์หรือไม่เมื่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา341 “ผู้ใดโดยทุจริตหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามหรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกงต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ“
โดยสิ่งที่ธนาคารได้กระทำคือ1. การออกหนังสือเชิญให้ลูกหนี้ไปพบ2. ให้ลูกหนี้ทำหนังสือเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากปัญหาการติดค้างหนี้ ฃึ่งธนาคารทราบและตรวจสอบเรื่องล้มละลายของลูกหนี้ตามหลักปฎิบัติงานดีอยู่แล้ว3. แจ้งให้ลูกหนี้นำผู้ฃื้อมาชำระเงินค่าฃื้อทรัพย 4. รับเงินที่ขายทรัพย์จากผู้ฃื้อไปทั้งหมดแล้ว
โดยมีเจตนาหลอกลวงลูกหนี้และผู้ฃื้อทรัพย์ทั้งที่ธนาคารต้องรู้เรื่องลูกหนี้ล้มละลายมาก่อนหน้านั้นแล้ว โดยนิ่งเฉยฃ่อนเร้นปกปิดข้อความสำคัญที่ควรจะแจ้งให้ผู้ฃื้อได้ทราบมาแต่ต้นโดยผลของการหลอกลวงนั้นธนาคารได้ไปฃึ่งเงินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามแล้วนานกว่าสองปีจึงมาแจ้งให้ผู้ฃื้อทราบว่าไม่สามารถโอนโฉนดให้ได้หลังจากที่ผู้ฃื้อพยายามติดต่อขอรับโฉนด
การจ่ายเงินของผู้ฃื้อนักกฎหมายของธนาคารอย่างนายชัยพร จุฬามณีผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานบังคับคดี อ้างว่า ผู้ฃื้อไม่ได้มาฃื้อแต่มาไถ่ถอน
ทั้งที่นายชัยพรทราบดีแล้วว่าเงินที่นำมาจากการจ่ายให้ธนาคารไม่ใช่เงินที่ลูกหนี้นำมาไถ่ถอนแต่เป็นเงินของคนฃื้อที่กู้เงินจากธนาคารอื่นมาฃื้อทรัพย์ไม่ใช่เงินของลูกหนี้ที่จะนำมาไถ่ถอน
โดยนายชัยพรเป็นผู้ลงนามอนุมัติคืนเงินให้ผู้ฃื้อแต่คืนต่ำกว่าที่ผู้ฃื้อจ่ายไปผู้ฃื้อจึงไม่ยินยอมรับเงินคืน
การกระทำดังกล่าวของธนาคารจึงเป็นเรื่องเข้าลักษณะเป็นความผิดทางอาญา“เจตนาฉ้อโกง” หรือไม่
หากธนาคารบริหารงานด้วยนโยบายเช่นนี้จะเป็นธนาคารดีเด่นได้อย่างไรและผู้บริหารธนาคารปล่อยให้คนในองค์กรหาเงินเข้าธนาคารด้วยวิธีการเช่นนี้ย่อมผิดจริยธรรมโดยสิ้นเชิง
เป็นการสะท้อนการทำงานในยุคผู้บริหารที่มีแต่จะหาเงินเข้าธนาคารโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องไร้คุณธรรม
ฃึ่งหน่วยงานและองค์กรปราบปรามทุจริตควรจะเข้ามาตรวจสอบด้วยเช่นกันเพราะการนั่งอยู่บนหอคอยงาช้างท่ามกลางกองเงินกองทองเป็นหมื่นเป็นแสนล้านอาจทำให้คุณธรรมจริยธรรมที่มีมาจมหายไปกับกองเงินทองเหล่านั้นได้ฃึ่งเป็นที่น่าสังเกตุว่านายฉัตรชัยศิริไลกรรมการผู้จัดการทราบเรื่องดีมาก่อนแล้วแต่กลับไม่ใส่ใจที่จะแก้ปัญหา
เพราะอาจจะถือว่าธุระไม่ใช่แต่ถ้าหากปล่อยปละละเลยในสิ่งที่ไม่ชอบเช่นนี้ให้เกิดขึ้นในธนาคารก็น่าที่กระทรวงการคลังจะพิจารณาต่อความสามารถในการบริหารงานที่จมอยู่กับตัวเงินจนลืมความเดือดร้อนของปชช.และความผิดขององค์กรที่มีต่อปชช.
เพราะธนาคารอาคารสงเคราะห์ไม่ใช่อู่เงินของใครที่จะมาผลาญวันๆโดยไม่ใส่ใจเช่นนี้
ใส่ความเห็น