เปิดข้อบังคับกลาโหม ผบ.ทบ ทำผิด หรือไม่

ตามที่พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์  ผบ.ทบ. ออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการหาเสียงของพรรคการเมืองที่ต่างมีประเด็นให้ปชช.สนใจในเรื่องการใช้งบประมาณทหารเป็นจำนวนมาก เช่น ฃื้ออาวุธ หรือการเปลื่ยนการบังคับให้ชายไทยต้องเป็นทหารเกณฑ์ มาเป็นการสมัครใจของชายไทย ที่ประสงค์จะเข้าเป็นทหารเกณฑ์ จนกลายเป็นประเด็นร้อน ด้วยการออกหน้าสั่งการให้วิทยุเครือทหาร เปิดเพลง”หนักแผ่นดิน”เป็นการโต้ตอบพรรคการเมืองที่หาเสียงในลักษณะนี้

   โดยได้รับการสนับสนุนจากพลเอก ประวิตร รองนายกรมต. ฃึ่งชื่นชอบเพลงนี้เป็นอย่างยิ่ง

การกระทำของผบ.ทบ จึงเป็นแรงเขย่าทางการเมือง พร้อมกับข้อความที่เคยพูดว่าไม่รับรองว่าจะไม่มีการปฎิวัติอีก

เมื่อพลิกดูข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยข้าราชการกลาโหมกับการเมือง พ.ศ. 2499  ออกมาในสมันจอมพลป.แล้ว กฎหมายนี้ยังคงใช้มาถึงปัจจุบันไม่มีการเปลื่ยนแปลง

หนึ่งในหลายข้อนั้นระบุดังนี้

ข้อ ๗ ข้าราชการกลาโหมจะต้องปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือเกี่ยวกับประชาชนด้วยการวางตนเป็นกลาง โดยไม่มุ่งหวังประโยชน์ของพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตาม

นโยบายของรัฐบาล และไม่กระทำการให้เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย กฎข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแบบธรรมเนียมของทหาร

*ข้อ ๘ ข้าราชการกลาโหมจะต้องไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้าม ดังต่อไปนี้

๑) ห้ามมิให้ใช้หรือยอมให้ผู้อื่นใช้เขตสถานที่ราชการในกิจการทางการเมืองไม่ว่าด้วยการกระทำหรือด้วยวาจา ยกเว้นสโมสรซึ่งมีระเบียบการให้ใช้ในกิจการต่าง ๆ ได้เป็น

ครั้งคราวโดยเสียค่าบริการ

(๒) ไม่วิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลให้ปรากฏแก่ประชาชน

(๓) ไม่แต่งเครื่องแบบซึ่งทางราชการกำหนดไว้ร่วมประชุมพรรคการเมืองหรือไปร่วมประชุมในที่สาธารณะใด ๆ อันเป็นการประชุมที่มีลักษณะทางการเมือง

(๔) ไม่ประดับเครื่องหมายของพรรคการเมืองในสถานที่ราชการ หรือในเวลาราชการ หรือในเวลาสวมเครื่องแบบซึ่งทางราชการกำหนดไว้

(๕) ไม่แต่งเครื่องแบบของพรรคการเมืองเข้าไปในสถานที่ราชการทุก ๆ แห่ง

๖) ไม่บังคับผู้อยู่ในบังคับบัญชาหรือประชาชนทั้งโดยตรงหรือโดยปริยายให้เป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใด และไม่กระทำการในทางให้คุณหรือโทษเฉพาะเหตุที่ผู้อยู่ในบังคับบัญชาหรือประชาชนนิยมหรือเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใด ที่ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย

(๗) ไม่ทำการขอร้องหรือบังคับให้บุคคลใดอุทิศเงิน หรือทรัพย์สิน เพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมือง

(๘) ไม่เขียนจดหมาย หรือบทความไปลงหนังสือพิมพ์ หรือพิมพ์หนังสือหรือใบปลิว ซึ่งจะจำหน่ายแจกจ่ายไปยังประชาชนอันมีข้อความที่เป็นลักษณะของการเมือง และไม่โฆษณาหาเสียงเพื่อประโยชน์แก่พรรคการเมืองหรือแสดงการสนับสนุนพรรคการเมืองใด ๆ ในที่ที่ปรากฏแก่ประชาชน

(๙) ไม่แทรกแซงในทางการเมืองหรือใช้การเมืองเป็นเครื่องมือเพื่อกระทำกิจการต่าง ๆ อาทิ เช่น วิ่งเต้นติดต่อกับสมาชิกสภาผู้แทนหรือสมาชิกวุฒิสภาหรือพรรคการเมืองเพื่อ ให้นำร่างพระราชบัญญัติหรือญัตติเสนอผู้แทนหรือวุฒิสภา หรือตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเป็นต้น

(๑๐) ไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งในระยะเวลาที่มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน เว้นแต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองให้กระทำการดังกล่าวเช่นนั้นได้ และในทางกลับกัน ไม่กีดกันตำหนิติเตียนทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง

(๑๑) ในระยะเวลาที่มีการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่แสดงออกโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะเป็นการช่วยเหลือส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง และในทางกลับกัน ไม่กีดกัน ตำหนิติเตียน ทับถม หรือให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง

 

ดังนั้นการกระทำของผบ.ทบ จะเข้าข่ายกระทำการผิดข้อบังคับหรือไม่ เป็นเรื่องที่แต่ละฝ่ายต้องหยิบไปพิจารณา