. การกำหนดลมหายใจนี้ จะต้องพยายามตัดสัญญาอารมณ์ภายนอกออกให้หมด
เพราะถ้ามีนิวรณ์มากแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะสังเกตความละเอียดของจิตและลมได้

ลมที่อยู่ภายในร่างกายนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ส่วนหนึ่งอยู่ในหัวใจและปอด
ส่วนหนึ่งอยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้
อีกส่วนหนึ่งอยู่ทุกต่อมโลหิตทั่วสรีระร่างกาย

ทั้งหมดนี้เป็นลมที่มีลักษณะไหวตัวอยู่เสมอ แต่มีอีกส่วนหนึ่งเป็นลมเฉย ๆ มีลักษณะว่างและเบา ลมนี้กั้นอยู่ชิดกะบังลม ระหว่างหัวใจและปอด กับกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งเป็นลมกลั่น ลมนี้มีลักษณะเบาเหมือนก้อนสำลีที่กลิ้งไปบนกระดาษ ไม่ทำความกระทบกระเทือนอันใดให้เกิดขึ้นแก่ส่วนอวัยวะของร่างกายเลย
ส่วนลมที่มีอาการไหวตัวนั้น เมื่อปะทะกับเส้นโลหิตก็มีลักษณะร้อน อุ่น และบางทีก็เป็นกากออกมาทางจมูก

ธาตุลมนี้ถ้ามีเป็นส่วนมากธาตุไฟก็จะมีเป็นส่วนน้อย และทำให้โลหิตเย็น
ถ้าธาตุลมมีส่วนน้อยธาตุไฟก็มีส่วนมากและทำให้โลหิตร้อน
ส่วนเวทนาที่เกิดขึ้นจากการผสมธาตุถูกส่วนนี้ก็คือความสบายเฉย ๆ สบายเย็น ๆ สบายว่าง ๆ เหมือนกับเรามองขึ้นไปในอากาศว่างไม่มีอะไรขัดตา

จากหนังสือ ท่านพ่อลีสอนกรรมฐาน หน้าที่ ๑๓๔
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)

สวนพนาสนธิ์ ๓/ศูนย์สัมมนาป่าพนาสนธิ์-แบ่งปัน
๖๑.๐๘.๑๘