การเร่งรัดคดีของศาลยุติธรรม ใช่ความเป็นธรรมหรืออยุติธรรมกันแน่ 

นับแต่นายชีพ จุลมนต์ ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ได้มีการออกนโยบายหลายเรื่องอันคาดว่าจะส่งผลดีต่อการปฎิบัติงานของศาลยุติธรรม หลายประการ เริ่มตั้งแต่นโยบายเรื่อง”สีขาว”ในองค์กรต้องไม่มีการทุจริต

ตามด้วยนโยบายการพิจารณาคดีต้องครบองค์คณะผู้พิพากษานั่นคือ 3 ท่าน นั่งร่วมพิจารณคดีด้วยกัน ฃึ่งปกติเรามักจะเห็นเพียงแค่2ท่านนั่งอยู่บนบัลลังค์อันทรงเกียรติ

แต่นโยบายสำคัญที่สุดที่กำลังเป็นที่วิพากย์วิจารณ์กันอยู่เวลานี้คือ การเร่งพิจารณาคดีให้เกิดความรวดเร็ว ดังคำว่าความล่าช้าคือความอยุติธรรม

ดังนั้นทุกศาลจึงต้องทำรายงานคดีเสนออธิบดีผู้พิพากษาภาค เพื่อทราบผลการพิจารณาคดี คดีไหนที่สืบพยานกันยาวนานก็จะมีคำสั่งให้เร่งรัดพิจารณาคดี

ทำให้เกิดเสียงบ่นจากประชาชนและอัยการผู้เกี่ยวข้องว่า นโยบายดังกล่าวมีทั้งผลดีและผลเสีย กล่าวคือ การเร่งรัดดังกล่าวแม้คดีจะคืบหน้าแต่เป็นการรวบรัด บางคดีลูกความต้องยอมลงนามทั้งน้ำตา 

เพราะมีแรงทั้งบีบทั้งอัดให้ต้องช้ำใจ

ศาลจังหวัดเชียงรายจึงรับนโยบายนี้มาปฎิบัติเช่นกัน จึงทำให้อธิบดีผู้พิพากษาภาค5 ต้องเข้ามาดูแลกำกับตรวจตราให้นโยบายนี้เดินหน้าตามตามนโยบายให้ได้

ในหนึ่งคดีของศาลจังหวัดเชียงราย ที่น่าสนใจคือ คดีที่ปชช.ฟ้องร้องเรื่องละเมิด เรียกทรัพย์คืน เป็นคดีที่ฟ้องเดือนก.พ 58 แต่ศาลนัดสืบพยานวันที่15 ธันวาคม58 นัดแล้วโจทก์สืบบ้างเลื่อนบ้าง นานถึงปี 60 สืบแต่พยานโจทก์เรื่อยมาถึงปี61 ถึงคราวจำเลยจะเป็นฝ่ายสืบพยานจำเลยบ้าง อธิบดีภาค5 เห็นว่าคดีนี้นานมากแล้ว จึงแต่งตั้งรองอธิบดีภาค5 นางสาว ยุภา พรหมดวง มาทำหน้าที่ขึ้นบัลลังค์ เป็นผู้พิพากษา พร้อมองค์คณะใหม่ 

นัดเดียวตัดพยานออกหมด จำเลยสืบได้วันเดียวจบ นัดตัดสิน ในอีกสองเดือนถัดมา 

รวดเร็วทันใจตามที่ก.ม กำหนด และนโยบายประธานศาลฎีกา

แต่ปรากฎว่าจำเลยในคดีงง ร้องไห้ทั้งน้ำตา เตรียมตัวจะไปโดดตึกตาย เพราะสืบพยานได้ปากเดียวคือพยานจากสปก. 

ถึงวันอ่านคำพิพากษา ไม่ต้องบอกคดีจะออกมาอย่างไร แต่อ่านวันที่17 ก.ค คำพิพากษามา 14 ส.ค จำเลยทั้งเศร้าทั้งเครียด

นี่คือระบบการเร่งรัดทางคดี ของศาลยุติธรรมของนโยบายประธานศาลฎีกา 

ไม่นับว่าทำไมที่ศาลจังหวัดเชียงราย จึงห้ามถ่ายรูป ห้ามใช้โทรศัพท์ ห้ามอัดเสียง ห้ามอีกหลายอย่าง ไม่รู้เพราะอะไร แต่แน่นอนว่าหากใครฝ่าฝืนถือเป็นการล่วงอำนาจศาล 

เมื่อพิจารณาถึงระบบภายในศาลหากมีการถ่ายรูปออกมาได้ อาจจะได้เห็นสิ่งไม่ดี ไม่สวย ไม่สะอาด ออกมาให้ได้เห็น  อาทิ ห้องที่ปชช.ควรจะได้ใช้ตรวจสำนวนควรเป็นห้องที่เหมาะสม สามารถนั่งได้อย่างถูกสุขลักษณะ พร้อมที่จะรองรับปชช.มาใช้บริการ ไม่ใช่ต้องไปยืนตรวจสำนวน แอร์ก็ไม่เย็น อากาศก็เหม็นเหมือนติดอยู่ในคุก 

และสำคัญที่สุดคือ ทำไมสำนวนจึงต้องไปนอนค้างอยู่กับหน้าบัลลังค์ ไม่ อยู่ในห้องเก็บสำนวน คดีแดง 

ทำไมคนจะมาขอตรวจสำนวนจึงต้องไปขอจากหน้าบัลลังค์ แทนที่จะขอจากห้องเก็บสำนวนแดง  

หากศาลอนุญาตให้ถ่ายรูป ให้อัดเสียง ได้ เชื่อว่า น่าจะเป็นคุณมากกว่าโทษ ได้เห็นแล้วนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น สะอาดขึ้น จะได้ไม่สะสมสิ่งสกปรกทับถมจนเอาออกได้ยาก กลายเป็นสิ่งที่ยี้ไม่อยากไปเข้าใกล้ 

เพราะแม้แต่เบอร์โทรศัพท์ที่จะต่อถึงผู้พิพากษาหัวหน้าศาลยังต้องเอาแจกันดอกไม้มาปิดบังไม่ให้ปชช.เห็น นี่ก็ถือว่าน่าจะได้เวลาปรับปรุงกันเสียแล้ว 

 

พัชรินทร์