คิดว่าคนตัดสินคดี จะทุจริต จะประพฤติไม่ชอบได้หรือไม่
เคยมีกรณีศึกษา ลูกความฟ้องคนตัดสินคดี ทุจริตและประพฤติไม่ชอบ ผ่านศาลยุติธรรม

ใครจะเชื่อว่าศาลยุติธรรมจะรับฟ้องพวกเดียวกันเอง แต่ศาลก็รับฟ้อง

เคยมีกรณีศึกษา มีการเรียกเงินอ้างว่าเอาไปวิ่งศาล รับกันเป็นสาย แบบไม่มีใบเสร็จ

ศาลพยายามกำจัดเหลือบในองค์กรตัวเอง อย่างเข้มข้นแต่ก่อนจับได้แล้วไล่ออก อย่างเดียว สมัยที่ผ่านมา ไล่ออกไม่พอต้องเอาผิดม.157ด้วย จึงใช้คดีผู้พิพากษารายหนึ่งทุจริต 70ล้านเป็นกรณีแรกที่จะเอาผิดยึดทรัพย์ จำคุก แต่ผลยังไม่แจ้งว่าทำสำเร็จหรือไม่

กรณีอย่างนี้เป็นที่เสื่อมเสียแก่องค์กรเป็นอย่างมาก
การปราบเหลือบพวกนี้ องค์กรต้องมีหน่วยเกสตาโปติดตามตรวจสอบผลการตัดสินของผู้พิพากษา ว่า อยู่ในหลักเกณฑ์การเขียนคำพิพากษาที่ถูกต้องหรือไม่ เข้าข้อก.ม ถูกต้องหรือไม่ และใช้ดุลยพินิจ เป็นที่ประจักษ์ถึงความรู้ความสามารถของตนเองหรือไม่

เป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อให้สังคมเชื่อมั่นว่า คนมาเป็นผู้พิพากษาต้องมีจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม ความรู้ความสามารถ  เหนือคนอื่น
สังคมจะได้กราบไหว้ เรียกท่านได้เต็มปากเต็มคำ

อย่ารอให้ปชชต้องร้องเรียน หรือต้องฟ้องร้อง ให้เป็นที่อับอาย

ทุกวันนี้หลักเกณฑ์การเขียนคำพิพากษา ถูกละเลย เพราะไม่มีหน่วยเกสตาโปคอยตรวจสอบ จึงเขียนแบบที่ท่านวิชา มหาคุณ บอก “ตีหัวเข้าบ้าน “ คู่ความจึงไม่ยอมรับ

หากองค์กรศาลเข้มข้นเรื่องนี้ มีการตรวจสอบการเขียนคำพิพากษาตามหลักเกณฑ์ โอกาสที่คำตัดสินจะออกนอกลู่นอกทาง ก็จะมีน้อยลง ยิ่งมีเกสตาโปคอยตรวจสอบด้วยอีกทางหนึ่ง ระบบการพิพากษาคดี จะมีปัญหาเรืองการเรียกหาเงินผ่านสายกลายเป็นเรื่องโกหกไม่จริง

ยิ่งเป็นคดีอิทธิพล มีคนเป็นแบ๊คระดับใหญ่ๆนี่ องค์กรศาลต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ปชชอย่างที่สุดว่า องค์การศาลจะไม่ตกเป็นเครื่องมือ เครื่องยืมมือมาตัดสินอีกฝ่ายโดยปราศจากความยุติธรรม

หรือตัดสินโดยการเล่นพรรคเล่นพวกมากกว่า คุณธรรมความดี จริยธรรม จรรยาบรรณ และ สำคัญยิ่งคือ ความรุ้ในข้อก.ม อย่างแตกฉานไม่เฉพาะเพียงแค่ ก.ม แพ่ง และ อาญา เท่านั้น

ต้องดูก.ม อื่น ในหน่วยงานอื่นประกอบการตัดสินด้วย

การเขียนคำพิพากษา จึงสะท้อนความเป็นตัวตนของผู้ตัดสินคดีได้ว่าสมควรทำหน้าที่ตัดสินความเป็นความตายของผู้อื่นได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงกาฝากในองค์กรศาลเท่านั้น