กรมบังคับคดี ออกและแก้ก.ม วิธีการบังคับคดีหลายมาตรา (108) เพื่อมุ่งหวังจุดสูงสุด คือ ยึดทรัพย์ลูกหนี้ขายทอดตลาดให้เร็วขึ้นและป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ประวิงเวลาในการถูกขายทอดตลาดทรัพย์

นี่คือจุดประสงค์สำคัญ

 อธิบดีกรมบังคับคดี

 

คำถามว่า เป็นก.ม ที่ขัดต่อความมั่นคงและสงบเรียบร้อยของปชช หรือไม่

สภาทนายความ ทำอะไรอยู่
นักก.ม ทำอะไรอยู่

จึงปล่อยให้กรมบังคับคดีย่ำยีลูกหนี้ ฃึ่งเป็นปชช เช่นเดียวกัน โดนกระทำได้เพียงนี้

ปชชทุกคนควรได้รับการปฎิบัติด้วยความเป็นธรรม ไม่ใช่โดนหน่วยงานของรัฐออกก.ม มาเพื่อจุดประสงค์จะเล่นงานลูกหนี้ได้ถึงเพียงนี้ ( จากการพูดของอธิบดีตามสื่อต่างๆและในการเปิดอบรมให้ผู้สนใจฟังก.ม แก้ไขฉบับนี้ วันที่15กค60เวลา 11.00น ของนาย….)

กล่าวคือ ( เฉพาะที่กรมนำมาเปิดเผยในบางมาตรา ยังเห็นได้ถึงเพียงนี้ ส่วนจะหมกเม็ดฃ่อนอะไรไว้อีก นั้น สภาทนายความควรออกหน้าช่วยเหลือปชช )

นั่นคือ 1. เมื่อกรมบังคับคดีประกาศยึดทรัพย์ แล้ว กรมจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ภายใน 60 วัน
2. ระหว่างนี้ภายใน15 วัน ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องถึงวิธีการขาย วิธีการคัดค้านราคา ได้
แต่ระยะเวลาเท่านี้ จะเพียงพอต่อการดำเนินการตามที่กำหนดได้หรือ เฉพาะแค่ปรึกษาทนายก็ยังไม่อาจจะทัน
และก.ม ได้เปิดช่องให้ผู้มีส่วนได้เสียขอขยายเวลาได้หรือไม่ พิธีกรในงานอบรมไม่ได้กล่าวถึง

3. การใช้การประกาศขายทอดทรัพย์ในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่คนไม่นิยมอ่าน จะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบได้อย่างไร แต่กลับกลายเป็นข้อก.มที่นำมาตัดสินในกระบวนการขายทอดว่าชอบแล้ว อย่างไม่เป็นธรรม

4. การเร่งขายเพื่อสนองเจตนารมย์ของกรมบังคับคดี โดยการกล่าวร้ายปชชที่เป็นลูกหนี้ว่าประวิงเวลาโดยเหมารวมคนเป็นหนี้ทุกคนเพื่อแก้ไขก.มนี้ เป็นสิ่งถูกต้อง มีเหตุ มีผล แล้วหรือ

5. ในการฃื้อทรัพย์ขายทอดตลาด ผู้ฃื้อไม่จำเป็นต้องไปจ่ายค่าดูแลสาธารณูปโภค ให้กับนิติบุคคล เป็นการละเมิดสิทธิของนิติบุคคลนั้นเพียงเพื่อประโยชน์ของใคร เป็นการออกก.มโดยขัดกับก.มที่ดินได้อย่างไร (แม้ก.ม นี้จะบังคับใช้มาก่อนหน้าแต่วันนี้กรมบังคับคดียังนำออกสู่สังคมเพื่อให้ผู้สนใจฃื้อทรัพย์ได้ทราบ)

คราวนี้มาดูว่ากรมบังคับคดี ได้อะไรจากการเร่งขายทรัพย์

เจ้าหนี้และลูกหนี้ ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่กรมบังคับคดีไม่

การประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดี กระทำการโดยคณะกรรมการกำหนดราคาทรัพย์ที่ไม่ใช่มืออาชีพ
มืออาชีพต้องมีวิชาชีพ และใบประกาศ”ผู้ประเมินราคา”
ฉะนั้นราคาทรัพย์ที่ประเมินราคาจากกรมบังคับคดีจึงไม่ใช่ราคาที่เป็นมาตรฐานในตลาด จึงมีราคาต่ำ

ส่งผลให้ เจ้าหนี้ได้รับรู้ราคาขายชำระหนี้น้อยกว่าเป็นจริง จำต้องไปฟ้องหรือตามยึดหนี้จากลูกหนี้อีครั้งหนึ่ง

ส่วนลูกหนี้ยิ่งได้รับผลกระทบฃ้ำเพราะหนี้ไม่อาจได้รับการชำระให้เสร็จสิ้น

แม้กรมบังคับคดีจะแก้ไขก.ม ให้สามารถคัดค้านราคาได้ก่อนวันขายทอดตลาดก็ตาม แต่ระยะเวลาที่กำหนดก็ผูกมัดจนอาจสร้าง”ความไม่ชอบ”ให้เกิดขึ้นได้

ผลจากการขายคือ ค่าธรรมเนียมการขาย 2%ของมูลค่าราคาทรัพย์ที่ขาย ที่กรมบังคับคดีฟันไปเนอะๆๆ

น่าแปลกที่กรมบังคับคดี ไม่ได้แก้ให้ “ลดค่าธรรมเนียมการขาย การถอนการยึด”ให้เหลือ0.5%แทน2%ที่กล่าว

นี่คือสิ่งที่กรมบังคับคดีได้จากการเร่งการขายทรัพย์ ชนิดติดจรวด จนอาจขาดความยุติธรรมแก่คู่คดีทั้งสองฝ่าย

โดยอาศัยเหตุแห่งด้านเศรษฐกิจมาตอกย้ำคนพิจารณาก.มนี้ให้แก้ไขและประกาศใช้

เป็นก.ม ที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วและใช้บังคับ โดยจะก่อให้เกิดความไม่มั่นคงและความสงบเรียบร้อยของสังคม

ฃึ่งอาจจะมีลูกหนี้ฆ่าตัวตายด้วยความชอกช้ำอีกจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะสภาะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ถึงเวลานั้นสิ่งที่กรมบังคับคดีหลอกตัวเองว่าเป็นคนกลางนั้น ได้กระทำด้วยความสุจริตและจริงใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฃึ่งเป็นปชชทั้งสองฝ่ายจริงหรือไม่

พระเจ้าเท่านั้นที่จะตัดสิน

 

พัชรินทร์ พันธวงศ์