กรมบังคับคดีชื่นมื่นขายทรัพย์ลูกหนี้สามเดือนที่ผ่านมาได้ถึงสามหมื่นกว่าล้านกินค่าธรรมเนียมการขาย 2.5%ฟันไป810ล้าน ลูกหนี้ร้องควรลดค่าธรรมเนียมเหลือร้อยละ 1

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี แถลงผลการปฏิบัติงานของกรมบังคับคดีในไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (มกราคม–มีนาคม 2560) ว่า สามารถผลักดันทรัพย์ออกจากระบบบังคับคดีได้จำนวน 32,426,569,877 บาท ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ถึงร้อยละ 60.33

และมีเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีจำนวน 6,769 เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 6,109 เรื่อง ทุนทรัพย์ 1,787,461,464.56 บาท คิดเป็นอัตราไกล่เกลี่ยสำเร็จร้อยละ 90.24 ซึ่งสูงกว่าไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ถึงร้อยละ 176.18

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดีเปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2560 กรมบังคับคดีได้มีผลการดำเนินการหลักๆ ดังนี้ 1.งานตามภารกิจหลัก
1.1 การผลักดันทรัพย์สินรอการขายของกรมบังคับคดี
1.2 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ภายใต้กลยุทธ์ “เชิงรุก เชิงลึก และครอบคลุม”
1.3 การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการบังคับคดี
1.4 การบริหารจัดการคดี (Case Management)
1.5 การพัฒนาการให้บริการด้านการบังคับคดีแพ่งและล้มละลาย
1.6 การดำเนินการตามกรอบความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลก
1.7 การพัฒนาเป็นศูนย์กลางวิชาการด้านการบังคับคดีแพ่งและคดีล้มละลายอาเซียน
2.การดำเนินการเชิงรุกและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความเป็นธรรม ให้ความช่วยเหลือ ป้องกัน และคุ้มครองสิทธิของประชาชน
2.1 การไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบในชั้นบังคับคดี
2.2 การสร้างความรับรู้ด้านกฎหมาย
3.งานตามยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี การจัดตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชนตามแผนการดำเนินการของกรมบังคับคดีตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ20 ปี

ทางด้านลูกหนี้ฃึ่งถูกบังคับคดีขายทอดตลาดร้องโอดครวญว่า กรมบังคับคดี เอาเปรียบลูกหนี้ แม้ก.ม บังคับให้เจ้าหนี้เป็นฝ่ายชำระค่าธรรมเนียมการขายแต่ความเป็นจริง เจ้าหนี้ผลักภาระมาให้ลูกหนี้จ่ายและกรมบังคับคดีก็เพิกเฉยยินยอมให้เจ้าหนี้กระทำการดังกล่าวโดยเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการขาย การถอนการยึด ถึงร้อยละ2.5%ของยอดขาย

จากตัวเลขดังกล่าวทำให้กรมบังคับคดีมีรายได้ถึง 810 ล้าน ส่วนหนึ่งส่งเข้าคลังอีกส่วนหนึ่งนำไปแบ่งเข้าเป็นสวัสดิการของกรมบังคับคดี ขณะที่หน่วยงานราชการอื่นๆต่างไม่มีรายได้เช่นนี้

ทำให้กรมบังคับคดีเร่งขายทรัพย์ ให้ได้มากที่สุด เพื่อหวังให้เจ้าหนี้ได้เงิน กรมบังคับคดีได้ค่าธรรมเนียม ขณะที่ลูกหนี้ขายทรัพย์ได้ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด และส่วนใหญ่ต้องหาเงินมาเพิ่มให้เจ้าหนี้ หากหาเพิ่มไม่ได้ เจ้าหนี้ก็จะบีบด้วยการฟ้องล้มละลาย

ตนเห็นว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวน่าจะแก้ไขให้เหลือเพียง1% จึงน่าจะเหมาะสม
และจะได้เห็นประสิทธิภาพการทำงานของกรมบังคับคดีด้วยว่าหากค่าธรรมเนียมลดลงยังจะสามารถขายทรัพย์ได้มากได้เร็วจริงหรือไม่

โดยเฉพาะเรื่องการไกล่เกลี่ย เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินไม่สนใจที่จะมาเจรจา ตนก็แปลกใจมากว่ากรมบังคับคดีเอาตัวเลขจากไหนมาแสดงผลงาน

และยิ่งแปลกใจมากที่กรมบังคับคดีจะจ้างเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่เป็นเอกชนเข้ามาเป็น outsource เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่างานกรมบังคับคดีเป็นงานที่ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ แม้ทุกวันนี้ขนาดเป็นข้าราชการยังมีการหาผลประโยชน์ในเรื่องการขายทอดตลาด

ตนเคยทำเรื่องร้องเรียนอธิบดีกรมบังคับคดีคนปัจจุบัน ว่าผอ.สำนักงานบังคับคดีแห่งหนึ่งลงนามทิ้งทวนก่อนถูกย้ายให้มีการประกาศขายทอดตลาดเพื่อช่วยเจ้าหนี้ ทั้งที่ศาลยังไม่มีคำสั่งให้สวมสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอยู่

แต่อธิบดีท่านนี้ก็ยังให้ความเป็นธรรมแก่ตน ตรวจสอบเรื่องราวและงดการขายทอดตลาดเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอน

ขณะเดียวกันตนทราบว่ามีการออกก.ม ใหม่ ให้กรมบังคับคดีสามารถขายทรัพย์ได้โดยไม่ต้องร้องขอต่อศาลถ้าทรัพย์นั้นอยู่ในเขตจังหวัดเดียวกัน ก็จะทำให้อำนาจของกรมบังคับคดีไม่มีการตรวจสอบ ลูกหนี้อาจไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากผู้พิพากษาถูกตัดบทบาทในเรื่องนี้ออกไป

กรมบังคับคดียุคนี้จึงเป็นยุคแห่งการโชว์ออฟ สร้างผลงานแต่เป็นผลงานที่ช่วยเหลือเจ้าหนี้มากกว่าลูกหนี้ เพราะผลประโยชน์ขายดีขายเร็วมีผู้ได้รับคือเจ้าหนี้กับกรมบังคับคดี ส่วนลูกหนี้ถูกบีบในทุกขั้นตอน

รัฐบาลอยากเห็นปชชล้มละลายเป็นพลเมืองที่ขาดสภาพใช้งานไม่ได้เต็มปทหรืออย่างไร ตนเห็นว่ากรมบังคับคดีเร่งออกก.ม มาทำร้ายลูกหนี้มากเกินไป ก็แปลกยิ่งขึ้นเมื่อสนช. สปท. รัฐบาล กลับเห็นดีเห็นงามไปกับกรมบังคับคดี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม่เคยเป็นหนี้ จึงยกมือเป็นฝักถั่วให้กรมบังคับคดออกก.ม              เหยียบย่ำฃำ้เติมลูกหนี้มาตลอด