สตง.ตีปลาหน้าไฃรู้ชื่อคนรับสินบน”โรลส์-รอยซ์”การบินไทย แล้ว

เป็นข่าวดังฉาวทั่วโลกเมื่อบริษัท โรลส์-รอยซ์ ให้การยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของสหราชอาณาจักร (SFO) ว่าจ่ายสินบนให้หลายประเทศที่ซื้อขายเครื่องยนต์ของ ‘โรลส์-รอยซ์’ โดยจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทยฯ ด้วย ในระหว่างปี 2534-2548 รวม 3 ครั้ง วงเงินประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในการจัดทำสัญญาจัดซื้อเครื่องยนต์ T-800

เมื่อตรวจสอบย้อนหลังปีพ.ศ ดังกล่าว พบว่า ในเดือนมิถุนายน 2534 สายการบินไทย ได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 จำนวน 6 ลำซึ่งหลังจากนั้นได้เพิ่มจำนวนการสั่งซื้อเป็น 8 ลำ โดยมีบริษัท RR เป็นผู้จำหน่าย เครื่องยนต์ Trent 800 (T-800)ให้กับเครื่องบินของไทย โดยบริษัท RR ได้จัดสรรงบการแบ่งเงินให้กับนายหน้า เป็นสินบนเพื่อชักจูงใจให้บริษัท การบินไทย สั่งฃื้อ โดยมียอดนายหน้าลำละ 1.33 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รวม 1253 ล้านบาท

บทพิสูจน์นี้เกิดขึ้นเป็นดังนี้

ครั้งที่1 – เกิดขึ้นในการจัดซื้อ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2534-30 มิ.ย. 2535 ซึ่ง โรลส์-รอยซ์ จ่ายค่านายหน้าคนกลางให้หน่วยงานหนึ่งเป็นเงิน 18.8 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 663 ล้านบาท)
ครั้งที่2- เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มี.ค. 2535-31 มี.ค.2540 โดย  โรลส์-รอยซ์ จ่ายเงิน 10.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 336 ล้านบาท)
ครั้งที่3- เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2547-28ก.พ. 2548 โดยโรลส์-รอยซ์จ่ายเงินให้กับคนกลาง 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท)

โดยการจ่ายเงินครั้งที่1นั้น บริษัท RR ให้การว่าจ่ายให้แก่
1. นายหน้าคนกลาง
2. หน่วยงานแห่งหนึ่ง
3. เจ้าหน้าที่รัฐ
4. พนักงานการบินไทย

การจ่ายเงินครั้งที่2 จ่ายให้
1. นายหน้าคนกลาง
2. พนักงานการบินไทย

การจ่ายเงินครั้งที่3  จ่ายให้
1. นายหน้าคนกลาง
2. เจ้าหน้าที่รัฐ
3. พนักงานการบินไทย
เมื่อพลิกดูข้อมูลรายชื่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งดีดีการบินไทยและเป็นประธานบอร์ดการบินไทย ในช่วงที่เกิดปัญหาเรื่องนี้ คือ

เกิดขึ้นช่วงปี 2534-2548 วีคลี่นิวส์ ตรวจสอบพบรายชื่อผู้บริหารระดับสูงของการบินไทย ดังนี้

ปี 2531 – 2535 นายวีระ กิจจาทร เป็นดีดีการบินไทย มี พล.อ.อ.วรนาถ อภิจารี ผบ.ทอ. เป็นประธานบอร์ด

ปี2532-2535 นายฉัตรชัย บุญญะอนันต์ เป็นดีดีการบินไทย มี พล.อ.เกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ.เป็นประธานบอร์ด

ปี2535-2536 นายฉัตรชัย บุญญะอนันต์ เป็นดีดีการบินไทย มี พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ ผบ.ทอ.เป็น ประธานบอร์ด

ปี 2536-2543 นายธรรมนูญ หวั่งหลี เป็นดีดีการบินไทย มี พล.อ.อ.ม.ร.ว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ เป็นประธานบอร์ดการบินไทยตั้งแต่ปี 2536-2539

หลังจากนั้นมีการปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่ มีการแต่งตั้งนายมหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคมมาดำรงตำแหน่งประธานบอร์ดการบินไทย ช่วงระหว่างธ.ค.2539-พ.ย. 2543

จากนั้นปี2543-2544 นายพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ เป็นดีดีการบินไทย แต่รัฐบาลสมัยนั้นแต่งตั้งนายศรีสุข จันทรางศุ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานบอร์ดการบินไทย ( พ.ย.2543-เม.ย.2544)

และรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนประธานบอร์ดใหม่โดยแต่งตั้งนายชัยอนันต์ สมุทวณิช (พ.ค.2544-ก.ย.2544) มาเป็นประธานบอร์ด และต่อจากนั้นได้เปลี่ยนคณะกรรมการใหม่ทั้งชุดได้แต่งตั้งนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานบอร์ดการบินไทย (ต.ค.2544-พ.ค.2545 ) แต่ได้สรรหาดีดีใหม่เป็นนาย กนก อภิรดี ปี2545-2549

ในเดือนมิ.ย. 2545-มี.ค.2548 ได้ปรับเปลี่ยนตัวประธานบอร์ดใหม่เป็นนายทนง พิทยะ หลังจากนั้นในปีเดียวกันได้เปลี่ยนประธานบอร์ดอีกรอบเป็นนายวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม (มี.ค.2548-พ.ย.2549)

ขณะที่รัฐบาลยุคการจ่ายเงินครั้งที่1 คือสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน
จ่ายครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 รัฐบาล นายชวน หลีกภัย , นายบรรหาร ศิลปอาชา  และพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

ครั้งที่3 ปี 2547-2548 คือ รัฐบาล ยุค ดร. ทักษิณ ชินวัตร

เรียกได้ว่ารัฐบาลทุกยุคสมัยมีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้หมด เพียงแต่จะเป็นผู้ใดเท่านั้นที่เป็นผู้รับโดยตรง ฃึ่งสตง.ได้เตรียมขอข้อมูลจากสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO)แล้วขณะนี้

ขณะที่บุคคลที่เกี่ยวข้องต่างออกมาปฎิเสธกันทั่วหน้า โดยเฉพาะนาย กนก อภิรดี นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ โดยมี นาย โยธิน ภมรมนตรี กล่าวยืนยันว่าในสัญญาระบุชัดว่า ไม่มีค่านายหน้า

แต่ส่วนปชชคนไทยต่างกล่าวว่าคงจะได้รู้แน่ว่าใครรับสินบนไปบ้างเมื่อsfoออกมาเปิดเผยในอนาคต แม้ว่าในสัญญาระบุว่าไม่มีค่านายหน้าแต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น จะเห็นว่างานนี้มีคนออกมาดิ้นจำนวนมาก

นอกจากนี้กระทรวงยุติธรรม ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยอีกว่า บริษัท โรลส์-รอยซ์ ให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ในช่วงปี 2543-2556 เป็นเงินประมาณ 385 ล้านบาทด้วยเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันบริษัท การบินไทยฯ และบริษัท ปตท. ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมข้อมูลเรื่องนี้โดยด่วนแล้ว ตอนนี้ผ่านมาประมาณ 1 สัปดาห์ ยังคงไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนัก

ด้านนายพิศิษฐ์ กล่าวว่า มีเอกสารรายชื่อและหลักฐานบุคคลที่รับสินบนจากบริษัทโรลส์รอยซ์แล้ว แต่ต้องรอการยืนยันข้อมูลของประเทศอังกฤษว่าตรงกับที่มีอยู่หรือไม่และจะตรวจสอบว่ามีการรับสินบนดังกล่าวรัฐมนตรีคนไหนในช่วงเวลานั้นเกี่ยวข้องบ้าง แม้ว่าต่างประเทศการจ่ายค่านายหน้าหรือคอมมิชชั่นจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ประเทศไทยก็ไม่สามารถทำได้หากรับเงินดังกล่าวก็ถือว่าผิดกฎหมายของไทย ทั้งนี้สตง.ได้ทำหนังสือประสานความร่วมมือขอข้อมูลจากอังกฤษเพื่อเจาะจงตัวบุคคล ทั้งผู้จ่ายและผู้รับสินบน คาดว่าจะได้รายชื่อคนไทยทั้งหมดที่ไปรับเงินจากบริษัทโรลส์รอยซ์ และจะเปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ในเร็วๆนี้ และยืนยันกรณีดังกล่าวจะไม่ซ้ำรอยกับคดีซีทีเอ็กซ์ ขณะเดียวกันสตง.ได้ส่งสายตรวจ เข้าตรวจสอบหลักฐานการจัดซื้อของทั้งปตท.และการบินไทยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ข้อมูลจากต่างประเทศ แต่ก็กำลังตรวจสอบอยู่เช่นกัน