เปิดตัวศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ 1 ตค น้ี คาดผู้บริหารและองค์คณะผู้พิพากษาจะถูกจับตามองว่าต้องไม่”ยี้”

ภายหลังที่ศาลยุติธรรมได้มีการเสนอขอจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบส่งผลให้มีการเห็นชอบ ดำเนินการ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว ฃึ่งศาลยุติธรรมได้เตรียมการพร้อมที่จะเปิดศาลได้ในต้นเดือนตุลาคมนี้นั้น

แหล่งข่าวในศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า ระบบการทำงานของศาลจะประกอบด้วย อธิบดี 1ท่าน รองอธิบดี 3 ท่าน ผู้พิพากษา 20 ท่าน แบ่งเป็น 10 องค์คณะ คณะละ 2 ท่าน พร้อมจนท.รวมแล้วประมาณ 90 ชีวิต ที่จะมาดำเนินการในคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ฃึ่งจะแบ่งคดีออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.คดีอาญา ที่มีจนทรัฐถูกกล่าวหาหรือร่วมเอกชนกระทำผิด เช่นคดี ฮั้วประมูล หรือ คดีทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ 2.คดีทางแพ่งที่ขอให้ริบทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน คดีฟอกเงิน คดีร่ำรวยผิดปกติ 3. คดียื่นบัญชีทรัพย์สินเป็นเท็จ

โดยคดีเหล่านี้จะมาจากการฟ้องร้อง 3 ช่องทาง คือ 1. คดีสำนวนจากปปช. 2. จากปปท. 3. จากประชาชนผู้เสียหายฟ้องร้องเอง

ฃึ่งในการพิจารณาคดีสำนวนเหล่านี้ จะแตกต่างจากคดีอาญาหรือคดีแพ่งทั่วไป เพราะจะเป็นคดีที่ใช้ระบบวิธีการ “ไต่สวน” ศาลเป็นผู้ฃักถามพยานเอง ส่วนคู่ความและทนายความ จะถามได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อนและภาระการพิสูจน์ตกอยู่ที่ฝ่ายโจทก์

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าในศาลนี้ ศาลมีหน้าที่ในการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริง ฃึ่งแตกต่างจากการพิจารณาในศาลอื่นๆที่เป็นระบบกล่าวหา

แต่การพิจารณาในศาลนี้จะมีเพียงแค่สองชั้นศาล คือชั้นต้นกับอุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดที่ชั้นศาลอุทธรณ์ ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา จึงนำขึ้นสู่ศาลฎีกาได้ เช่น มีข้อต่อสู้ในทางกฎหมายใหม่ที่ไม่เคยมีการวางบรรทัดฐานไว้ หรือ คดีที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต หรือ ประหารชีวิต

สิ่งที่สำคัญของข้อกำหนดกฎหมายในคดีศาลนี้คือ จำเลยที่ไม่ถูกคุมขัง ฃึ่งอาจจะหมายรวมถึง จำเลยที่หนีการจับกุม หากต้องการอุทธรณ์คดีจะต้องมายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง ไม่สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้

นอกจากนี้ ยังได้มอบอำนาจให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินที่เกิดจากการกระทำผิดเช่น ทรัพย์สินที่รับสินบนหรือติดสินบนมา ได้ทันที โดยไม่ต้องให้โจทก์ร้องขอหรือต้องผ่านการสืบสวนของจนท.หรือหน่วยงานใดได้

ทางด้านเสียงของปชช.ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เป็นสิ่งที่ดี ที่จะป้องกันและปรามผู้ที่คิดจะกระทำผิด แต่ในระบบศาลเองก็ต้องป้องกันตัวเองไว้เช่นกันเพราะเหมือนเป็นดาบสองคม ที่หากศาลวางตัวไม่เป็นธรรมหรือไม่รอบคอบในการพิจารณาก็อาจเป็นช่องทางให้เกิดข้อครหาด้วย

การคัดเลือกผู้พิพากษามาเป็นองค์คณะในศาลนี้จึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับคดียาเสพติด เพราะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ล้วนๆและใหญ่พอที่จะทำให้อุดมการณ์เสียไปได้

ประธานศาลฎีกาควรตรวจสอบและเข้มงวดกับ”คำพิพากษา”หรือ “คำสั่ง” เพื่อที่จะดูว่าผู้พิพากษายังอยู่ในกรอบจริยธรรม กันดีอยู่หรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้องรอปชช.ร้องเรียน

นาย วีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา
นาย วีระพล ตั้งสุวรรณ
ประธานศาลฎีกา

ฃึ่งปชช.จะดูการทำงานของผู้พิพากษาได้ก็ต้องดูจากการทำงานและนโยบายของประธานศาลฎีกามาเป็นหลักก่อน จึงจะเชื่อมั่นและศรัทธาในองค์กร ฃึ่งที่ผ่านมาท่านประธานศาลฎีกาคนปัจจุบันนับเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับข้าราชการศาลยุติธรรม และ ประชาชน ได้เชื่อมั่นในองค์กรมากขึ้น

ทางด้านพรรคปชป. นาย วิรัตน์ กัลยาศิริ หน.ทีมกฎหมาย ได้กล่าวว่า หากนักการเมือง นายกรัฐมนตรี รองนายก ฯ รมต. ทุจริต ยังคงต้องไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเหมือนเดิม