ติง”พร้อมเพย์” เป็นเหยื่อของรัฐในการติดตามข้อมูลทางการเงิน

ธนาคารแห่งปทไทยสนับสนุนให้ธนาคารต่างๆชวนปชช.ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอีเลค    ทรอนิกส์ในการโอนเงิน จ่ายเงิน ที่เรียกว่าพร้อมเพย์ ด้วยการลงทะเบียนผู้ใช้กับธนาคารในการผูกบัญชีกับหมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค ที่ผ่านมานี้แบบเต็มรูปแบบ มีปชช.ต่างพากันลงทะเบียนแล้วถึง9.7ล้านคน

โดยรัฐคาดว่าเป็นการช่วยลดต้นทุนให้แก่ธนาคารและรัฐได้ทางหนึ่ง แต่สำหรับปชชแล้วแม้จะช่วยลดค่าธรรมเนียมจ่ายเงิน โอนเงิน ตามที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานรัฐก็ดีหรือธนาคารก็ดี แต่มีปชช.ส่วนหนึ่งเป็นห่วงว่าหากเงินหายระหว่างทางจะเป็นอย่างไร

และข้อมูลจากเลขบัตรปชชหรือเบอร์โทรศัพท์อาจทำให้พวกทุจริตทางการเงินเข้าถึงบชของคนผู้นั้นได้จากบัตรปชชที่กระจายอยู่ในสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ได้อย่างง่ายดาย

แม้ว่าการใช้ระบบจ่ายโอนด้วยระบบนี้จะทิ้งร่องรอยให้ตามได้ก็ตาม แต่ใครจะรับผิดชอบหากเงินหายระหว่างการโอนหรือจ่ายเงิน

ที่สำคัญคือ หน่วยงานรัฐจะรู้เส้นทางทางการเงินของปชช.ได้อย่างเข้าถึงง่ายๆ เช่นเดียวกับที่กรมสรรพากรจะให้รัฐบาลรัฐประหารออกก.ม ให้สถาบันการเงินเชื่อมต่อบชลูกค้าธนาคารเข้ากับกรมสรรพากร เพื่อง่ายต่อการตรวจค้นเงินในบชของลูกค้า ฃึ่งหากสถาบันการเงินไม่คัดค้าน เชื่อแน่ว่าจะมีปชชถอนเงินออกจากธนาคารไปเก็บไว้ที่บ้านเองเป็นจำนวนมาก เพราะการกระทำเช่นนั้นคือการล่วงละเมิดสิทธิส่วนตนของลูกค้าสถาบันการเงินอันถือเป็นผู้บริโภค ที่สถาบันการเงินจะต้องปกปิด

ปชช.ได้ตั้งคำถามถึงรัฐว่า พร้อมเพย์กับฃิงเกิลเกตเวย์ เหมือนกันหรือไม่ ในการที่รัฐจะเข้าถึงข้อมูลของปชช.ฃึ่งไม่มีความจำเป็นที่ลูกค้าของธนาคารจะต้องใช้ระบบนี้แต่อย่างใด หากไม่มีความจำเป็นจะต้องโอนเงินหรือจ่ายเงินให้แก่ใคร เพราะเหตุผลที่รัฐและสถาบันการเงินให้เหตุผลนั้นไม่ได้มีประโยชน์มากเพียงพอที่จะทำให้ปชช.ได้ประโยชน์เท่ากับที่รัฐและสถาบันการเงินได้รับ แต่กลับจะเสียสิทธิส่วนบุคคลให้รัฐรู้อีกแล้ว สิทธิในการเป็นผู้บริโภคก็อาจหมดสิ้นลงไปด้วย