ศาลยุติธรรมจัดสัมมนากฎหมายค้ามนุษย์เพิ่มศักยภาพผู้พิพากษา ปชช.วอนเพิ่มศักยภาพในกฎหมายอื่นๆด้วย เพื่อให้ผู้พิพากษาเป็นที่เชื่อมั่นและศรัทธาของปชช.แทนการด่าทออยู่ในใจหรือร้องกต.

image
นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า ปัญหาการค้ามนุษย์ถือเป็นปัญหาเฉพาะหน้าของประเทศไทยที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไขโดยเร็ว ในการนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ออกพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 และอยู่ในระหว่างแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551เพื่อให้เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปัจจุบันซึ่งทวีความรุนแรงในลักษณะเป็นอาชญากรรมข้ามชาติมากยิ่งขึ้น สำนักกฎหมายและวิชาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม ร่วมกับโครงการออสเตรเลีย – เอเชียเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากประเทศออสเตรเลีย จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ“กฎหมายค้ามนุษย์” สำหรับ ผู้พิพากษาทั่วประเทศ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาคดีค้ามนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจในปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งระบบ พันธกรณีระหว่างประเทศเรื่องการค้ามนุษย์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ และกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการสัมมนากลับไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ให้มีประสิทธิภาพพร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้เพื่อการพัฒนาบุคลากรในศาลต่อไป
นอกจากนี้ การสัมมนาดังกล่าวยังมีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากหน่วยงานต่างๆที่มา เป็นวิทยากรและจากผู้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมและความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งในปี พ.ศ. 2559 มีแผนการดำเนินการจัดสัมมนารวม 4 ครั้ง ดังนี้
1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ“กฎหมายค้ามนุษย์” สำหรับผู้พิพากษาศาลอาญาในกรุงเทพมหานคร และศาลจังหวัดในสังกัดภาค 1 ภาค 2 และภาค 7 ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน 2559 – 1 กรกฎาคม 2559 ณ โรงแรมเรดิสัน บลู สุขุมวิท กรุงเทพมหานคร

2. สัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ“กฎหมายค้ามนุษย์” สำหรับผู้พิพากษาศาลจังหวัดในสังกัดภาค 3 และภาค 4 ระหว่างวันที่ 17 – 19 สิงหาคม 2559 ณ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

3. สัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ“กฎหมายค้ามนุษย์” สำหรับผู้พิพากษาศาลจังหวัดในสังกัดภาค 5 และภาค 6 ระหว่างวันที่ 7 – 9 กันยายน 2559 ณ จังหวัดเชียงราย

4. สัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ“กฎหมายค้ามนุษย์” สำหรับผู้พิพากษาศาลจังหวัดในสังกัดภาค 8 และภาค 9 ระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน 2559 ณ จังหวัดกระบี่

อย่างไรก็ตามวีคลี่นิวส์ได้สอบถามความเห็นของปชช.ต่อกรณีการเพิ่มศักยภาพของผู้พิพากษาดังที่กล่าว ได้รับความเห็นว่า เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

เนื่องจากตนเห็นว่าในบางเรื่องเช่นกฎหมายที่ดิน ระเบียบกรมที่ดิน ผู้พิพากษาบางท่านอาจไม่รู้วิธีในการทำธุรกิจที่ดิน เมื่อไม่ทราบกฎหมายที่ดิน ระเบียบกรมที่ดินด้วยอาจ ทำให้การตัดสินผิดพลาด ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อคู่ความ ดังคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1749/2557 ฃึ่งคู่ความได้อุทธรณ์เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 10889/2558 และฎีกาหมายเลขแดงที่ 4970/2557 ที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่ามีการตัดสินที่รวดเร็วมาก

ในคดีนี้เป็นการโอนฃื้อขายที่ดิน ฃึ่งผู้ประกอบการมักจะนำที่ดินค้ำประกันการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เมื่อมีการโอนฃื้อขาย ก็อาจจะมีการทำนิติกรรมการโอนหลายอย่างในวันเดียวกันได้ เช่นโอนจากผู้รับจำนองไปสู่ผู้จำนอง จากผู้จำนองไปสู่ผู้ฃื้อ คนเดียวหรือหลายคนในการเข้าชื่อร่วมฃื้อในเอกสารสิทธิ์ใบเดียวแต่ผู้ฃื้อหลายคน เพื่อทำการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในภายหลังได้

และการโอนดังกล่าวผู้ฃื้อเป็นเจ้าของที่ดินในวันนั้นแล้ว แต่อยู่ระหว่างแบ่งแยกออกมาเป็นแปลงๆเท่านั้น หากผู้พิพากษาไม่เข้าใจวิธีการทำนิติกรรมเช่นนี้ก็จะมองว่าผู้ขายตุกติกหรือทำอะไรไม่ชอบมาพากล ทั้งที่เป็นเรื่องตามปกติทั่วไปที่สามารถทำได้ และทำกันมามากแล้ว

อีกทั้งยังอาจไม่เข้าใจว่าระเบียบกรมที่ดินต้องมีระยะเวลาในการดำเนินการ หลายวัน เช่น การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมเป็นอย่างไร ระยะเวลาดำเนินการเป็นอย่างไร กี่วันจะแล้วเสร็จ

เมื่อขาดความเข้าใจอาจทำให้เกิดความเสียหายในการตัดสินได้ จึงมักเกิดข้อครหาและร้องเรียน แต่ไม่สามารถแก้ไขใดๆได้ถ้าคำพิพากษานั้นมาจากศาลฎีกา ยิ่งถ้าเขียนคำพิพากษาแบบตีหัวเข้าบ้านแล้ว คู่ความจะไม่สามารถยอมรับคำตัดสินได้ ก็คงทำได้แต่บ่น แช่ง อยู่ในใจ

ตนจึงเห็นว่าไม่เฉพาะคดีค้ามนุษย์เท่านั้น ในคดีอื่นๆก็ควรที่จะเพิ่มศักยภาพด้วยเช่นกัน ฃึ่งศาลควรตรวจสอบจากการร้องทุกข์ของปชช.ที่มีถึงประธานศาลฎีกาก็ดี ถึงกต.ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่บอกเหตุถึงปัญหาในข้อศักยภาพได้อย่างหนึ่ง ฃึ่งจะช่วยให้ปชช.ไม่ต้องด่าทอผู้พิพากษาอยู่ในใจหรือต้องนำความไปร้องทุกข์ต่อกต.ฃึ่งจะพิจารณาช่วยเหลือพวกกันเองหรือไม่ ปชช.ไม่มีโอกาสทราบ

ดังนั้นการที่ศาลจะจัดสัมมนาเพื่อเพิ่มศักยภาพจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งควบคู่ไปกับการกวดขันเรื่องจริยธรรมของผู้พิพากษา ก็อาจจะเรียกศรัทธาความเชื่อมั่นกลับคืนมาได้