ประกันอาชีพหมอ
ประกันอาชีพหมอ
เป็นความร้อนฉ่าของวงการศาลกับวงการหมอ จากกรณีตัดสินคดีให้ผู้เสียหายทางการแพทย์ได้รับการชดใช้จากกระทรวงสาธารณสุข ทำให้นายกแพทย์สภาต้องร่ายมนต์ดำออกมาปลุกกระแสหมอให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับผลของคำพิพากษาของศาลฎีกาอย่างดุเดือดเผ็ดมัน จนศาลต้องออกมาเตือนถึงถ้อยคำที่อาจส่งถึงการล่วงอำนาจที่ยิ่งใหญ่ของศาล
การรักษาที่ล่าช้า ผิดพลาด ไม่ใส่ใจ ไม่ระมัดระวัง เพิกเฉย ต่อความเจ็บป่วยของคนไข้ และเกิดความเสียหายต่อร่างกายของคนไข้ ฃึ่งจะทำให้คนไข้พิการหรือตายได้นั้น เป็นสิ่งที่ไม่น่าอภัยให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ อย่างแน่นอนและควรที่จะลงโทษให้สาสมกับการกระทำนั้น
แต่ถ้าหากบุคลากรทางการแพทย์รักษาตามมาตรฐานที่ได้รับการสอน การฝึกอบรมมา จริงตามจรรยาบรรณอย่างเต็มที่แล้ว ปัญหาความผิดพลาดย่อมจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก
ในการต่อสู้คดีทางศาล โอกาสที่ผู้เสียหายหรือคนไข้จะชนะคดีเป็นไปค่อนข้างยาก เพราะหลักฐานในการชนะคดีอยู่ในมือบุคลากรทางการแพทย์ หรือ มือหมอเป็นส่วนใหญ่ หมอเป็นผู้ได้รับการเชื่อถือจากสังคม การใช้ดุลยพินิจบางครั้งก็ตั้งธงง่ายๆไว้ล่วงหน้าว่า “รักษาเป็นไปตามมาตรฐานดีแล้ว ถูกต้องแล้ว” เพราะง่ายดี ไม่ต้องคิดพิจารณาอะไรให้มากความ
แพทย์สภารู้ดี จึงชนะคดีเรื่อยมาโดยตลอด คดีไหนที่ไม่ชนะก็จะออกอาการพิโรธโกรธา เพราะแพทย์สภามีหน้าที่ปกป้องหมอ แทนที่จะทำหน้าที่ให้ความยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย
นายกแพทย์สภา
ขณะที่กลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์พยายามที่จะปกป้อง ช่วยเหลือผู้เสียหายที่มาร้องขอความเป็นธรรม
ประธานเครือข่ายฯ
การเดินคนละเส้นทางนี้ทำให้เกิดข้อขัดแย้งระหว่างหมอกับประชาชน เป็นปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าจะปล่อยปละละเลย เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นมานาน นายกแพทย์สภาก็เป็นคนเดิมมาหลายยุคหลายสมัย กลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในวงการมีสิทธิให้คุณให้โทษกับบรรดาหมอทั้งหลายถึงขั้นระงับใบประกอบวิชาชีพได้ ทั้งที่หน่วยงานแพทย์สภา ควรจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ใช้คนของรัฐมาดูแลมากกว่าที่จะใช้ระบบเลือกตั้ง เลือกมากๆเข้าความเป็นมาเฟียก็เกิดไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งของนักการเมือง
จึงมีหมอน้อยคนที่จะกล้ามาเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญให้ฝ่ายผู้เสียหาย เพราะไม่ได้อะไรแล้วยังอาจเจ็บตัวเพราะมีคนลอบกัดไปทำร้ายได้
กระทรวงสาธารณสุขปล่อยให้ปัญหาเรื่องนี้ค้างคามานานโดยไม่ใส่ใจที่เร่งแก้ปัญหา แม้วันนี้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะออกมาพูดคำหวานยาวเหยียดแต่จับประเด็นรูปธรรมไม่ได้ว่าจะแก้อย่างไร
ขณะที่เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เสนอช่องทางแก้ปัญหา คือให้รัฐออกพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์หรือการบริการทางสาธารณสุข มาช่วยเหลือทั้งหมอและคนไข้ โดยหาทางออกของเงินกองทุนที่มีอยู่แล้วมาใช้จ่าย
แต่เรื่องค้างคามานานหลายยุคสมัย แม้ในสมัยนี้ทำทีทำท่าจากนายกรัฐมนตรีจะให้การสนับสนุน พอเจอมนต์ดำเป่าเข้าไป เรื่องนี้ตกม้าตายไปอีก
เพราะเป็นเรื่องของเงินและผลประโยชน์เกิดขึ้น จึงต้องคิดกันหลายชั้นหลายตลบ โดยเฉพาะเงินกองทุนนั้นเป็นเงินที่มาจากภาษีของปชชจะเอามาจ่ายให้หมอที่กระทำการผิดพลาดได้อย่างไร
การคิดเรื่องแบบประกันอาชีพหมอ จึงเป็นช่องทางใหม่ เพราะล้วนแล้วแต่มีคนได้ผลประโยชน์เต็มๆทุกฝ่าย
ยกเว้นปชชทั่วไปที่จะต้องถูกขูดรีดค่ารักษาเพิ่มขึ้น
โดยมีคนแอบชงคือบริษัทรับประกันลงขันร่วมกัน ส่วนบริษัทไหนใครจะเป็นหัวหอกคนนั้นต้องเส้นใหญ่พอสมควร เพราะต้องประสานสิบทิศ ตั้งแต่ รัฐบาล เรื่อยไปถึงกก.แพทย์สภา หรือแม้แต่สถาบันการศึกษาที่ชอบทำโพลกินเงินรับจ๊อปงานอย่างนี้ละชอบนัก
ผลประโยชน์งานประกันอาชีพหมอจึงต้องจับตาดูกันเป็นพิเศษ เพราะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทแน่นอน
มิฉะนั้นร่างพรบ.ผู้เสียหายทางการแพทย์ น่าจะเข้าสภาไปนานแล้ว หากไม่มีใครคิดถึงประโยชน์ส่วนตนกันเอาไว้
ในความคิดของผู้เขียน เชื่อว่า รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการออกแบบประกันอาชีพหมอ แน่
ส่วนแพทย์สภา คงคิดแบบเดียวกับรัฐบาลนั่นแหละ
อยู่ที่ว่าปชชจะยอมปล่อยให้หมอ รพ มาขูดรีดค่ารักษาให้เพิ่มขึ้นหรือจะเรียกร้องให้ค่ารักษาพยาบาลมีกฎหมายควบคุมราคา ทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่าอาหาร รวมทั้งค่าหมอ ค่าพยาบาล
ถึงเวลาหรือยังที่ควรจะต้องควบคุมราคากันได้แล้ว
พัชรินทร์ วิกิตเศรษฐ
เห็นด้วยเรื่องการควบคุมราคา เรื่องเดียว