ฉะผลงานผว.ธปท นำเงินสำรองไปลงทุนในต่างปท เจ๊งมาใครรับผิดชอบ
ครม.อนุมัติหลักการรับร่างพรบ.ให้ธปท.ใช้เงินสำรองลงทุนในกิจการต่างปทได้ ปชชต้านหนัก ถามผวธปท ถ้าเอาไปลงทุนแล้วเจ๊งจะรับผิดชอบอย่างไร
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพรบ.ธปท.ฃึ่งมีสาระสำคัญโดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.ธปท. เพื่อขยายขอบเขตการบริหารจัดการสินทรัพย์ให้ ธปท.สามารถลงทุนในตราสารทุน (หุ้น) ต่างประเทศที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9(2) และมาตรา 36 ของพระราชบัญญัติ ธปท.ตาม พ.ร.บ.ธปท.เดิมระบุให้ ธปท.มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการสินทรัพย์ของ ธปท. รวมถึงนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ
การลงทุนในสินทรัพย์ต่างประเทศ สามารถลงทุนทองคำ เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ หลักทรัพย์ต่างประเทศที่จะมีการชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ ตราสารที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิกออกให้ในการให้กู้ยืมเงินร่วมแก่รัฐบาลสมาชิก หรือองค์การของรัฐบาลสมาชิกของสถาบันการเงินระหว่างประเทศดังกล่าว หลักทรัพย์ที่ออกโดยองค์การหรือนิติบุคคลต่างประเทศอื่น ตามที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด รวมทั้งสิทธิซื้อส่วนสำรองในกองทุนการเงินและธนาคารระหว่างประเทศ สิทธิพิเศษถอนเงินในกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สินทรัพย์อื่นใดที่ ธปท.นำส่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และสินทรัพย์อื่นตามที่คณะกรรมการ ธปท.กำหนด
ทั้งนี้ ธปท.ต้องรายงานผลการบริหารจัดการทรัพย์สินต่อคณะกรรมการ ธปท.เป็นรายไตรมาสด้วย
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ธปท.จะทำให้การบริหารความเสี่ยงของ ธปท.มีความครอบคลุมรอบด้าน สามารถปิดความเสี่ยงจากความท้าทายและความผันผวนใหม่ๆ ของเศรษฐกิจโลกได้ เช่นเดียวกับธนาคารกลางประเทศอื่นๆ ที่มีการนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในหุ้น อาทิ จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ เป็นต้น จากเดิมที่สามารถนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนได้เฉพาะทองคำ พันธบัตร (บอนด์) และสกุลเงินต่างประเทศเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังให้ความสำคัญกับเรื่องสภาพคล่องเป็นสำคัญ เพราะเงินสำรองฯต้องสามารถนำมาใช้ได้ตลอดเวลาในภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวน
ทั้งนี้ การนำเงินสำรองฯไปลงทุนในหุ้นสัดส่วนการลงทุนจะมีสัดส่วนน้อยเพียง 3-4% เท่านั้น เมื่อเทียบกับการนำเงินสำรองฯไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ โดยปัจจุบัน เงินสำรองฯในส่วนของกิจการธนาคารมีอยู่ 1.10 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเงินสำรองฯทั้งหมดปัจจุบันมีอยู่ 1.80 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
“ต้องรอขั้นตอนคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติพิจารณา เพื่อตราออกมาเป็นกฎหมาย และยังต้องผ่านคณะกรรมการ ธปท. เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ รูปแบบ และการลงทุนในหุ้นอีกครั้ง คาดว่าจะใช้ระยะเวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะลงทุนได้ ส่วนจะลงทุนหุ้นกลุ่มใดประเทศใดอยู่ระหว่างการศึกษา ทั้งนี้ การแก้ไขครั้งนี้เป็นการแก้ไขเฉพาะ ร่าง พ.ร.บ.ธปท.เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ.เงินตรา และการลงทุนในหุ้นของ ธปท.ไม่ได้ต้องการที่จะไปตั้งกองทุนความมั่งคั่ง หรือต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อหวังผลตอบแทน แต่เป็นการทำเพื่อบริหารความเสี่ยง”
ทางด้านประชาชนออกโรงต้านความคิดของผว.ธปท ดังนี้
มีเหตุผล สอง ข้อที่ผมตัดสินว่าไม่เห็นด้วยคือ ๑. นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. คนนี้ แนวคิดการทำงานของแกไม่สมควรเป็น ผู้ว่า ธปท. เพราะกำลังจะแหกคอกผันหน้าที่ในตำแหน่งนี้แต่เดิมจาก ผู้กำกับการทำธุรกรรมทางการเงินการคลัง มาเน้นที่ การเป็นผู้เล่นเสียเอง คือ เอาความคิดระบบทุนนิยมเงินกระดาษ/เงินสมมติซึ่งมีไม่ถึง 20% มาครอบการบริหารระบบการเงินของทั้งประเทศที่ประกอบด้วยภาคการผลิต ภาคบริการ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักของประเทศให้ภาคธุรกรรมทางการเงิน “มีงานต้องทำ” และไม่ใช่มีหน้าที่ต้องหารายได้จากภาคที่ตัวเองต้องกำกับดูแลอยู่นี้ แม้ว่า จะเป็นส่วนน้อยของเนื้อเงินคงคลังทั้งก้อนตามที่แกอ้างในข่าว (% น้อยจริง แต่เป็นของก้อนเงินใหญ่ที่เป็นเสมือนเงิน ถุงแดง ซึ่งเป็นความอยู่รอดของทั้งประเทศในยามฉุกเฉิน) แล้วยังอ้างว่า ทำตามอย่างบางประเทศที่อ้างชื่อไว้ ไม่กี่ชื่อ ซึ่งพวกนั้นล้วนมีระบบการตรวจสอบที่เข้มข้น/รุนแรงหมด แล้วของไทยล่ะ ระบบตรวจสอบล้มเหลว ลูบหน้าปะจมูก มาร์ธ่า สจ๊วต เศรษฐีนีเจ้าของห้างยักษ์ใน US. โดนคุกทันที 6 เดือน + ห้ามเล่นหุ้น 2 ปี ฐานรู้ข้อมูลภายในก่อนเล่น ส่วน กรรมการบริษัท ซีผี ทำแบบเดียวกันเป็นแก๊งค์โดนจับได้ กลต. ของไทย ทำอะไรบ้างนอกจากเตือน
ข้อ ๒. เรื่องลงทุนในหุ้น ซึ่งทุกๆคนก็รู้ว่า เป็นทรัพย์สินเสี่ยงสูง (Vulnerable Asset) ในบรรดาการลงทุนทั้งหลาย คำถามเดียวคือ เสี่ยงแบบนี้แล้ว เวลาเจ๊งขาดทุน คนตัดสินใจแทนรับผิดชอบได้ไหม??!! เคยทีใครในประวัติศาสตร์รับผิดชอบการเจ๊งจากการลงทุนบนความเสี่ยงทำนองนี้ไหม? แล้วที่เจ๊งนั่นเงินใคร ? ถ้าไม่ใช่เอาก้อนเงินภาษีของคนทั้งประเทศมาเจ๊งแทน และโฆษณาหุ้นทุกๆตัวทุกๆกองทุนไม่ว่าที่ไหนในโลกก็มีคำเตือนในโฆษณาของตัวเองทั้งนั้นว่า มีความเสี่ยง แล้วนิสัยคนไทยนอกวงการหุ้น/ตลาดหุ้น ที่หากินสุจริตได้เงินมายากทั้งไม่มีผีพนันสิงในตัว ชอบการลงทุนแบบนี้ไหม เอาเฉพาะตลาดหุ้นไทยมีบัญชีคนเล่นทั้งหมดถึง ๑ แสนคนหรือยัง จาก ๖๔ ล้านคน ถาม ผู้ว่า ธปท. ว่าชอบคิดนอกกรอบการหาเงิน แล้วรับผิดชอบไหวไหมกับการเสนอแนวคิดการจัดการแบบนี้ เอ้า คิดอีกมุม เป็นถึงนักการเงินการคลังมืออาชีพและเรียนระดับสูงจากสถาบันมีชื่อชั้นสูงทางด้านนี้จากต่างประเทศ ถ้าจะลงทุนหากำไรเข้าเงินคงคลังในสภาพของรัฐบาลเอง ไม่มีทางอื่น/มองไม่เห็นวิธีที่จะทำกำไรแบบแน่ๆยิ่งกว่าแช่แป้งนอกจากวิธีการ เสียรู้เดินตามก้นฝรั่งแบบนี้หรือ? ถ้าไม่มี ผมมี รับรองว่าง่าย เร็ว ไม่มีเจ๊ง ทำได้จริงเพราะเป็นรัฐบาลมีอำนาจในมือ กล้าหรือเปล่าเท่านั้น
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า มีหน่วยงานราชการหลายแห่งที่นำเงินไปลงทุนในต่างปทแล้วเสียหายจนป่านนี้ยังหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ในการนำเงินไปลงทุนนั้น อาจมีผลประโยชน์เป็นค่าคอมมิชั่น ผู้อนุมัติควรได้รับการตรวจสอบ หากลงทุนแล้วเสียหายขึ้นมาอีกย่อมส่อถึงเจตนาไม่ชอบได้ชัดเจน
ใส่ความเห็น