ศาลดิ้นเสียอำนาจหาก พรบ.มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญาประกาศใช้

ประธานศาลฎีกาส่งผู้พิพากษาเข้ายื่นหนังสือต่อ สนช. ชี้ร่างพ.ร.บ.มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา เอื้อประโยชน์ผู้ต้องหา

นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์ ผู้พิพากษาหัวคณะในศาลอุทธรณ์ประจำสำนักงานประธานศาลฎีกาตัวแทนของ นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา เข้ายื่นหนังสือต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อเสนอความคิดเห็นของเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) มาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอโดยมีข้อสังเกตให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาบางประการ

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และอยู่ระหว่างการเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนที่จะส่งให้สนช.พิจารณา โดยศาลยุติธรรมเห็นว่าร่างพ.ร.บ.นี้ขัดต่อหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ และหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพราะการสั่งคุมประพฤติ การกระทำกิจการบริหารสังคมหรือสาธารณประโยชน์ และสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีได้ โดยที่ไม่ผ่านการพิจารณาของศาลเลย และปราศจากกระบวนการพิสูจน์ความผิดของบุคคล จะส่งผลกระทบต่อการอำนวยการยุติธรรมที่โปร่งใสและตรวจสอบได้.

ทั้งนี้ หากพ.ร.บ.ดังกล่าวประกาศใช้จะเป็นการตัดสิทธิของผู้เสียหาย เนื่องจากมีบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของผู้เสียหายที่ประสงค์จะใช้สิทธิทางศาล และมีบทบัญญัติห้ามไม่ให้ศาลดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีต่อไป

ทางด้านความคิดเห็นของปชชกล่าวนี้พรบ.นี้ออกมาเมื่อไรเป็นการริดรอนอำนาจของศาลมากกว่า เหมือนดึงอำนาจไปให้ฝ่ายยุติธรรม และลดงานศาลด้วย

ตนเห็นด้วยอำนาจจะได้กระจายไปสู่บุคคล อื่น เพราะเวลานี้ศาลงานเยอะ ตุลาการมีน้อย คุณภาพความรู้ความสามารถก็น้อย ตาม การใช้มาตราการมาจะช่วยปชชให้ได้รับความเป็นธรรม มากขึ้นเพราะสามารถนำมาตราการนั้นมาลงโทษอื่นแทนการติดคุก ได้ ทำให้ศาลต้านการทอนอำนาจนี้มาตลอด