ปชชเรียกร้องสภาทนายความต้านข้อเสนอ”ธานินทร์ กรัยวิเชียร” ต่อกรธ กรณีห้ามคนนอกร่วมในคณะกรรมการตุลาการ

หลังจากที่นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เคยเสนอความคิดเห็นต่อคณะกรรมการร่างรธนไปยังกรธชุดก่อนและบัดนี้กรธ.ชุดใหม่ยังคงหยิบยกมาพิจารณาข้อเสนอนั่นอยู่ โดยเฉพาะประเด็นข้อเสนอ ห้ามมิให้คนนอกร่วมอยู่ในคณะกรรมการตุลาการ ด้วยเหตุผลว่า อาจถูกแทรกแฃงได้ นั้น

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า กรณีที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ทำจดหมายแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยกังวลต่อมาตรา 191 ว่าด้วยคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) เพื่อบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมที่มีอิสระ ซึ่งมีเนื้อหากำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการตุลาการ ที่ได้รับเลือกจากข้าราชการตุลาการ เป็น ก.ต. จะเปิดทางให้เกิดการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและเป็นการทำลายหลักนิติธรรม ว่า ตนจะรับไปพิจารณา แต่จะปรับเนื้อหาตามที่องคมนตรีกังวลอย่างไรนั้น ตนขอกลับไปพิจารณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามกรณีที่กรธ. บัญญัติให้มีบุคคลภายนอกร่วมเป็น ก.ต. เพราะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ อย่างไรก็ตามบุคคลที่ภายนอกจะเข้ามาดำรงตำแหน่งได้นั้นคือต้องผ่านการคัดเลือกจากผู้พิพากษามาก่อน
“ผมเห็นข้อเสนอท่านแล้ว ซึ่งในสิ่งที่ท่านท้วงติงมา ผมก็รับไปพิจารณา กรณีคนนอกนั้น ผมขอกลับไปคุยกับผู้พิพากษาก่อน” นายมีชัย กล่าว

image

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ประชาชนในสายกฎหมายได้เรียกร้องให้สภาทนายความออกหน้าคัดค้านคำร้องขอของนาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร เนื่องจากเห็นว่า หากไม่ให้คนนอกเข้าไปร่วมรับรู้ รับทราบ ผลการบริหารงานของคณะกรรมการตุลาการ ก็จะทำให้การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการอาจไม่โปร่งใส มีการเล่นพรรคเล่นพวกภายในได้
โดยเฉพาะกรณีการร้องเรียนผู้พิพากษา ฃึ่งจำเป็นอย่างมากที่คณะกรรมการตุลาการจำเป็นที่จะต้องถูกตรวจสอบจากสังคมเช่นกัน หากไม่มีบุคคลภายนอกเข้าไปร่วมรับรู้รับทราบ ผลของการร้องเรียนของปชชอาจถูกมองข้ามไปหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม
ตนเชื่อว่าทนายความต่างรู้ดีถึงการทำหน้าที่ของผู้พิพากษาทั้งบนบัลลังก์หรือจากคำตัดสิน หรือแม้แต่การอุทธรณ์ ฎีกา ฃึ่งเป็นปัญหามาตลอด
อย่างไรก็ตามตนขอเรียกร้องให้สภาทนายความกระทำการเพื่อเห็นแก่ปชชบ้าง
ไม่ใช่นิ่งเงียบมาโดยตลอด เพราะกลัวอำนาจของศาล หรือกลัวผลประโยชน์ในการทำคดีของทนายจะเสียหาย
เพราะมีหลายเรื่องที่ร่างกม.ออกมาโดยริดรอน รังแก ปชช อาทิ การฎีกาต้องได้รับอนุญาต ต้องมีสาระ ทั้งที่ระบบยุติธรรมของปทไทยเป็นระบบสิทธิ สามศาล แต่มาถูกศาลใช้ระบบอนุญาตแทน ความเป็นธรรมของปชชจึงถูกริดรอน โดยไม่มีหน่วยงานไหนออกมาปกป้องปชช
หากจะทำกันเช่นนี้ตนขอให้เปลื่ยนมาใช้ระบบลูกขุนในการพิจารณาคดีจะดีกว่าหรือไม่