ช่วงนี้มีการผลัดเปลื่ยนอำนาจในหน่วยงานราชการ องค์กรศาลยุติธรรม ทำไมจึงเป็นที่กังขาของสังคม และทำไมจึงถูกกล่าวว่าเป็นมือไม้ของรัฐบาลจริงหรือไม่

อำนาจใหญ่สุดขององค์กรนี้คือ คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือเรียกย่อว่าก.ต

เดิมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก ร่วมเป็นกรรมการสองคน มาจาก สมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกส่งมา เพื่อให้มีบุคคลภายนอกเข้าร่วมตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการให้เกิดความโปร่งใส ในเรื่องต่างๆ แต่ปรากฎว่ามีการพยายามอย่างยิ่งที่จะให้มีการตัดบุคคลภายนอกออกจากการเข้ามาเป็นส่วนรวมในคณะกรรมการนี้ด้วยเหตุผลว่า สมาชิกวุฒิสภา คือ นักการเมือง จึงทำให้ยังคงมีความคลางแคลงใจในความเป็นอิสระของผู้พิพากษาว่าจะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองได้อย่างแท้จริง จริงหรือ หรือ องค์กรศาลยุติธรรมไม่อยากให้มีคนนอกเข้ามารับรู้รับทราบรู้เห็น ภายในองค์กรตัวเองหรือไม่

จึงเป็นที่มาของการพยายามที่จะขจัดบุคคลภายนอกสองคนออกจากคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมหลายต่อหลายครั้งไม่สำเร็จจนกระทั่งมีการรัฐประหารจึงมีการแก้ไขรธน.พ.ศ 2560 กำหนดให้ ความคุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาไว้ในรัฐธรรมนูญ และปรับเปลี่ยนที่มาของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกจากเดิมที่มีที่มาจากการเลือกของวุฒิสภาให้มาจากการเลือกของผู้พิพากษาแทน โดยกำหนดให้ การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษาศาลยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระและดำเนินการโดยคณะกรรมการ ตุลาการศาลยุติธรรม ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็น ผู้พิพากษาในแต่ละชั้นศาลและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้พิพากษาที่ได้รับเลือกจากผู้พิพากษาไม่เกิน ๒ คน และยังได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องเสนอกฎหมายเพื่อให้การบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับผู้พิพากษา ศาลยุติธรรมมีความเป็นอิสระต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายใน ๑ ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ด้วย

จึงเห็นว่าทำไมองค์กรศาลยุติธรรมจึงต้องพึ่งพารัฐบาล และ รัฐบาลทำไมจึงมีอำนาจในการบริหารสูงสุด 

แม้จะห้อยติ่งแก้เขินว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกินสองคนนั้น อาจเป็นหรือไม่เคยเป็นผู้พิพากษาก็ได้แต่..ต้องได้รับเลือกจากผู้พิพากษา”

ดังนั้นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม จึงใหญ่คับฟ้าด้วยประการฉะนี้โดยไม่มีบุคคลภายนอกจากหน่วยงานใดสามารถผ่านเข้ามาตรวจสอบภายในได้อิสระโดยไม่ผ่านการ”เลือก”จากผู้พิพากษา 

ฃึ่งแทนที่หากเกิดความแคลงใจอิสระในทางการเมืองจริง ก็อาจหาบุคคลภายนอกจากหน่วยงานที่เชื่อมั่นว่าไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองหรือองค์กรอิสระในทางกฎหมายเข้ามาร่วมตรวจสอบก็ยังเป็นที่เชื่อมั่นของปชช.ได้ดีกว่า”พวกตัวเอง”ทั้งหมด

จึงเห็นว่าทำไมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ในยุคนี้ จึงมีผลงานที่สังคมคลางแคลงใจในการให้ความยุติธรรมต่อการดำเนินงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับ 

ดังเช่นเรื่อง การร้องทุกข์ เรื่องเรียกคืนสำนวนคดีและโอนคดีในศาลล้มละลาย ที่คดีขึ้นสู่การพิจารณาของผู้พิพากษาแล้ว มีการเริ่มนัดสืบพยานแล้วแต่มีการเปลื่ยนตัวผู้พิพากษากลางคัน โดยคู่ความมิได้ร้องขอ อีกทั้งการเปลื่ยนตัวนั้นยังนำผู้พิพากษาคนเดิมในคดีที่ตัดสินให้ผู้ร้องทุกข์แพ้คดีไปแล้วมาแทนในคดีนี้ ฃึ่งผลการตัดสินจะออกมาในรูปใดก็ส่งผลกระทบไปยังคดีเดิมที่ได้ตัดสินไปแล้วอีกด้วย

ผู้ร้องทุกข์จึงรีบสะกัดกั้นความแคลงใจป้องกันไว้ก่อนที่จะมีการตัดสินคดีใหม่นี้ แต่ปรากฎว่า สกัดกั้นไม่สำเร็จเพราะคำตอบที่ได้คือ เป็นระบบของศาลล้มละลายที่รับคดีแล้วค่อยส่งสำนวนคดีได้ในภายหลัง

แม้ว่าระเบียบการเรียกคืนสำนวนคดีและการโอนคดี วางระเบียบไว้ชัดเจน หรือระเบียบนี้จะขัดต่อระบบของศาลล้มละลาย อย่างไร ก็ไม่มีคำอธิบายให้กระจ่าง

อำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมจึงไม่โปร่งใสในสายตาของผู้ร้องทุกข์ฃึ่งควรที่จะมีการเผยแพร่มาตรการที่ปชช.ควรจะรู้ถึงขั้นตอนในการ”ตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม”ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม 

เพื่อให้คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมทำงานอย่างเป็นอิสระ โดยไม่ถูกครอบงำจาก”ผู้พิพากษา”ที่เลือกตนเข้ามาทำหน้าที่ เช่นเดียวกับที่องค์กรศาลยุติธรรมก็คลางแคลงใจในการนำสมาชิกวุฒิสภา ที่เลือกจากวุฒิสภา เข้ามาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเช่นกัน 

เพราะคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม ด้วยการ สร้างความเชื่อมั่นและการคุ้มครองความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา ซึ่งจะทำให้การพิจารณา พิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ เป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงความเชื่อมั่น ของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมด้วย

พัชรินทร์