ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษกับการพิจารณาคดีสิ้นสุด บ่อเกิดแห่งการริดรอนสิทธิของปชช.“ไม่ไหวก็ลาออกไป”

เมื่อปี58มีการเสนอร่างพรบ.จัดตั้งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษโดยการพิจารณาของสนช. ผลพวงของการรัฐประหาร ที่ริดรอนสิทธิของปชช.โดยไม่สนใจใยดีกับความเป็นธรรมที่ปชช.จะได้รับตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดเกี่ยวกับอำนาจของตุลาการ ที่มีสามศาล คือ ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา 

สนช.ผลพวงของการรัฐประหาร ออกกฎหมายเพื่อให้คดีสิ้นสุดเพียงแค่ชั้นศาลอุทธรณ์ ด้วยเหตุผล “ลดงานผู้พิพากษา” เลียนแบบสังคมต่างประเทศที่เขามีความพร้อมมากกว่า ทั้งในเรื่องของจริยธรรมและวินัย ความรู้ ความสามารถ 

เป็นการตัดความยุติธรรมที่ปชช.ควรได้รับในชั้นศาลฎีกาออกไปด้วยการ”ต้องขออนุญาตฎีกา “แล้ว ในการอุทธรณ์บางคดียังต้องขออนุญาตอุทธรณ์เข้าไปอีกอย่างคดีสำคัญในศาลล้มละลายฃึ่งเป็นศาลเกี่ยวกับเรื่องเงินทองธุรกิจหรือศาลภาษีอากรฃึ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินทองเช่นกัน

ก็มีการจัดตั้งศาลแยกต่างหากเรียกว่า”ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ” 

อ้างว่าเพื่อความเชี่ยวชาญในคดีนั้นๆโดยเฉพาะ

ถามว่ากฎหมายนี้ใครได้ประโยชน์  ใครเสียประโยชน์

ตอบได้ชัดเจนว่า   องค์กรศาลได้ประโยชน์ล้วนๆ 

งานน้อยลง คดีถูกระงับสิ้นสุดลงที่ศาลอุทธรณ์ไม่ต้องส่งคดีขึ้นศาลฎีกาที่ปัจจุบันทำงานกันอย่างสบาย เงินเดือนสูง ห้องทำงานกว้างขวางใหญ่โต 

ส่วนประชาชน ผู้ทำงานหนักหนาสาหัสจ่ายภาษีให้รัฐจ้างคนมาทำงานให้  กลับตกเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ เพราะถูกริดรอนสิทธิที่ควรจะมีตามอำนาจตุลาการที่รัฐธรรมนูญกำหนด 

เช่น ต้องขออนุญาตอุทธรณ์ ต้องขออนุญาตฎีกา ถ้าไม่อนุญาตคดีก็สิ้นสุดทันทีอุทธรณ์ไม่ได้ ฎีกาไม่ได้  

เพื่อประโยชน์ของใคร 

ถึงเวลาหรือยังที่จะประเมินว่า กฎหมายดังกล่าวควรได้รับการพิจารณาแก้ไขหากงานของผู้พิพากษาเยอะก็ควรเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา หรือเยอะจนทำงานไม่ไหวขาดคุณภาพก็ควรลาออกไป ทำงานอื่น ทำไมต้องให้ประชาชนมารับผลพวงอันเป็นการริดรอนสิทธิของตนเองเพื่อให้สิทธิของคนที่ตัวเองจ่ายเงินมาทำงานลดน้อยลง มีความเป็นอยู่สบาย เป็นผู้มีอำนาจใหญ่โตของบ้านเมือง 

แต่ประชาชนกลับไม่ได้รับความเป็นธรรม

ในศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษแผนกคดีล้มละลาย มีเรื่องเกิดขึ้นเมื่อวันที่17มค65 มีการร้องเรียนกต.และประธานศาลฎีกา ดักหน้าความเคลืยบแคลงกรณี”เรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดี” อย่างผิดระเบียบแต่แก้ตัวกันว่าเป็นการทำตามขั้นตอน ตอบง่ายๆสั้นๆ แต่ส่งผลถึงคดีเป็นไปตามที่ประชาชนร้องทุกข์ ต่อมามีการต้องขออนุญาตอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ด้วยข้อกฎหมายด้วยข้อเท็จจริงที่น่าศึกษาอย่างยิ่งว่า “ชำนัญพิเศษ”จริงหรือไม่  

ปรากฎว่า ไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ คดีสิ้นสุดทันที แสดงว่า จบในการตัดสินเพียงศาลชั้นเดียวคือชั้นต้นเท่านั้น

ริดรอนสิทธิของประชาชนหรือไม่  ทั้งที่ด้วยข้อกฎหมายด้วยข้อเท็จจริงน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา ควรให้ความสนใจต่อความเป็นธรรมของประชาชน

 ไม่ต้องพูดถึงว่าประชาชนจะเคลืยบแคลงความรู้ความสามารถของผู้พิพากษาหรือไม่แต่สิทธิที่ประชาชนควรได้รับมันถูกริดรอน ถูกตัดสิทธิ

เพื่ออะไร  เพื่อผลประโยชน์ของใคร 

สำหรับประชาชนแล้ว เป็นกฎหมายที่ยำยี่สิทธิของประชาชนที่ควรได้ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด 

หากองค์กรศาลเห็นว่างานหนัก ถ้าทำไม่ไหวควรหาคนที่ทำไหวมาทำงานหรือเพิ่มจำนวนคนมาทำงาน แต่ไม่ใช่แก้ปัญหาด้วยการริดรอนสิทธิของประชาชน ที่ควรจะได้รับความเป็นธรรม จากผู้มีความชำนาญอย่างมีประสบการณ์และเป็นผู้มีจริยธรรมที่ดีงาม มาสู่องค์กรในฐานะ”ผู้ควรค่าแห่งการเคารพ”

“ไม่ไหวก็ลาออกไป” น่าจะเป็นทางออกของปัญหานี้ ทางหนึ่ง