ร้องทุกข์ประธานศาลฎีกา”เรียกคืนสำนวนคดี และโอนสำนวนคดี”เป็นหมัน ศาลแจงใช้การบริหารจัดการคดีแบบต่อเนื่อง ส่อขัดระเบียบ ขัดรธน. และขัดพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา33 หรือไม่

เมื่อวันที่17 มกราคม 2565 ได้มีประชาชนทำหนังสือร้องทุกข์ต่อ ประธานศาลฎีกา ถึงกรณีศาลล้มละลายมีการเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดี ขัดต่อพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา33 และขัดต่อระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดี พ.ศ 2547 หรือไม่อีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ 2540 มาตรา249 วรรค สี่ บัญญัติว่า “การเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาในอรรถคดี”

ทั้งนี้เพื่อให้การปฎิบัติงานของผู้บริหารศาลมีความชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

โดยมีการออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดี พ.ศ 2547 มาสำทับวิธีปฎิบัติการอย่างเข้มงวดชัดเจนดังนี้

ข้อ4  การเรียกคืนสำนวนคดี จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้เรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดีเห็นว่าเป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาหรือพิพากษาอรรถคดีของศาลนั้นและผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นเรียกคืนหรือโอนสำนวนคดีตามที่ระบุไว้ในมาตรา33แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมได้เสนอความเห็นให้กระทำได้ 

            ผู้เรียกคืนและโอนสำนวนคดีและผู้มีอำนาจในการเสนอความเห็นตามวรรคก่อนต้องทำบันทึกโดยระบุเหตุผลแห่งการเรียกคืนสำนวนคดีและการเสนอความเห็นให้ชัดแจ้ง

   ข้อ5   การเรียกคืนสำนวนตามข้อ4 ให้พึงกระทำได้เมื่อเกิดกรณี ดังต่อไปนี้ 

(1)   องค์คณะผู้พิพากษาดำเนินการพิจารณาไปโดยล่าช้าเกินสมควรโดยปราศจากเหตุผล

(2)   องค์คณะผู้พิพากษาพิจารณาคดีโดยขัดต่อกฎหมายโดยชัดแจ้ง หรือขัดแย้งกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นบรรทัดฐานหรือขัดต่อความเป็นธรรม โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

(3)  องค์คณะผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาคดีโดยผิดแผกแตกต่างไปจากแนวทางการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลนั้น โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร หรือ

(4)  องค์คณะผู้พิพากษาดำเนินกระบวนการพิจารณาอันมีผลกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมประการอื่น

ข้อ6  เมื่อมีการเรียกคืนสำนวนคดีใดแล้ว ให้ผู้เรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดีโอนสำนวนคดีนั้นให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นรับผิดชอบแทน แต่การจ่ายสำนวนคดีให้องค์คณะผู้พิพากษาอื่นรับผิดชอบแทนนั้น  ผู้เรียกคืนและโอนสำนวนคดี ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายสำนวนคดีพ.ศ2544 

https://opsc.coj.go.th/th/file/get/file/201904108fe43c4895e0c54cc453c8429f1f0fb8173354.pdf

ปรากฎว่าในคำร้องทุกข์นั้นกล่าวว่า คดีของตนที่ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐปฎิบัติงานโดยผิดขั้นตอนระเบียบราชการในการสั่งเพิกถอนการโอนนิติกรรม ต่อศาลล้มละลายมีการตั้งองค์คณะผู้พิพากษาขึ้นมาพิจารณาแล้วอยู่ในขั้นตอนสืบพยานเพียงนัดเดียวจบแต่ปรากฎว่ามีการเปลื่ยนองค์คณะผู้พิพากษา โดยเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดีของตน ไปให้องค์คณะผู้พิพากษาที่ได้พิพากษาคดีให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นชนะคดีสั่งเพิกถอนการโอนนิติกรรมที่ดินนั้นไปเรียบร้อยแล้ว 

ฃึ่งการสั่งเพิกถอนการโอนนิติกรรมของเจ้าหน้าที่นั้นขัดต่อระเบียบคำสั่งของกรมบังคับคดีว่าด้วยการทำสำนวนการเพิกถอนนิติกรรม พ.ศ 2544 ที่กรมบังคับคดีได้กำหนดไว้เช่นเดียวกับระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการเรียกคืนสำนวนคดีและโอนสำนวนคดี พ.ศ 2547 ที่กำหนดวิธีการให้ต้องปฎิบัติ แต่ไม่ปฎิบัติ 

เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ร้องทุกข์จึงรีบทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกา หลังจากทราบว่ามีการเรียกคืนและโอนสำนวนคดีไปให้องค์คณะผู้พิพากษาในคดีที่ได้มีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรมไปแล้ว เกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม 

โดยตั้งข้อสังเกตุให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาว่า  หากคดีที่ผู้ร้องทุกข์ชนะในคดีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสั่งเพิกถอนขัดต่อระเบียบราชการจะส่งผลไปยังคดีที่องค์คณะผู้พิพากษานั้นได้ตัดสินไปแล้ว และเมื่อคดีนั้นตัดสินไปแล้วคดีของผู้ร้องทุกข์จะชนะได้อย่างไร  จึงเป็นการเรียกคืนและโอนสำนวนคดีอย่างไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องทุกข์

อีกทั้งผู้ร้องทุกข์ยังกล่าวต่อว่า ตนไม่ได้ใช้ทนายเพราะเป็นการสืบพยานโดยใช้บันทึกคำให้การและพยานเป็นเอกสารหนังสือราชการเป็นส่วนใหญ่ จึงถูกกระทำด้วยถ้อยคำและกิริยาที่ไม่สุภาพด้วยการขึ้นเสียงใส่ผู้ร้องทุกข์ว่า “เห็นใจที่ผู้ร้องทุกข์ไม่มีทนาย จึงฃักถามให้นะ” เมื่อผู้ร้องทุกข์ได้อธิบายถึงเวลาแห่งการมายื่นฟ้องและถามศาลว่า“ทำไมจึงให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้นั้นนำสำนวนคดีเพิกถอนมาให้ศาลโดยไม่มีในรายการพยาน”

ผู้ร้องทุกข์จึงเกรงว่าการตัดสินจะไม่ยุติธรรมจึงรีบมาร้องประธานศาลฎีกาในวันที่17ม.ค65ก่อนหน้าที่จะมีคำตัดสินในวันที่23ก.พ65

ฃึ่งผลการตัดสิน “ยกฟ้อง  โจทก์  (ผู้ร้องทุกข์)ไม่มีอำนาจฟ้อง”

คดีอยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชำนัญพิเศษ ปรากฎว่า หลังยื่นขออนุญาตอุทธรณ์ได้ไม่กี่วัน ก็มีหมายนัดฟังคำสั่งโดยผู้พิพากษาในคดีนี้ กำหนดนัดฟังในเดือนก.ค ฃึ่งโดยปกติ เมื่อยื่นขออนุญาตพร้อมอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษจะประกาศลงในเวป์ไฃด์ของศาล แต่ครั้งนี้ไม่รู้ว่ามีการเปลื่ยนแปลงระบบหรืออย่างไร ศาลล้มละลายจึงมีหมายออกมานัดก่อนที่ศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษจะประกาศรับเรื่องไว้

อย่างไรก็ตาม  ปรากฎว่า ศาลยุติธรรมได้แจ้งผลการพิจารณาในการร้องทุกข์นี้ว่า  การเรียกคืนและโอนสำนวนคดี นี้ เป็นกรณีที่ศาลล้มละลายกลางใช้การบริหารจัดการคดีในระบบพิจารณาคดีต่อเนื่องตามแนวทางปฎิบัติของสำนักงานศาลยุติธรรมและศาลยุติธรรมทั่วไป โดยได้จ่ายสำนวนให้แก่องค์คณะผู้พิพากษาหนึ่งก่อนเข้าระบบพิจารณาคดีต่อเนื่อง เพื่อทำหน้าที่ในการประชุมคดีกับเตรียมคดีให้คู่ความ จัดเตรียมพยานหลักฐานและนำมาสืบให้แล้วเสร็จตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม และต่อมาได้มอบหมายสำนวนให้แก่…..(ผู้พิพากษาในคดีที่ได้สั่งเพิกถอนไปแล้ว) เป็นองค์คณะผู้พิพากษาที่พิจารณาคดี  ฃึ่งไม่ปรากฎว่า ผู้พิพากษาทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีอคติกับผู้ร้องทุกข์แต่อย่างใด

            หากผู้ร้องทุกข์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำสั่งของศาลก็สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลได้ตามบทบัญญัติของกฎหมาย 

            อีกทั้งการที่ผู้ร้องทุกข์ไม่ได้แต่งตั้งทนายความเข้าว่าความในคดี อาจทำให้ผู้ร้องทุกข์ไม่เข้าใจการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี การฃักถามพยาน ตลอดจนการถามค้านพยาน ฃึ่งศาลได้ให้โอกาสผู้ร้องทุกข์แถลงข้อเท็จจริงต่อศาลตามความประสงค์แล้ว โดยมิได้มีอาการโกรธหรือขึ้นเสียงเพราะเหตุที่ผู้ร้องทุกข์ไม่มีทนายความแต่อย่างใด กรณีไม่มีมูลเป็นความผิดวินัย จึงมีคำสั่งให้ยุติเรื่อง

              ผู้ร้องทุกข์ตั้งข้อสังเกตุว่า “เหตุผลดังกล่าว  เป็นลักษณะการแปลงทางเทคนิคของกฎหมายหรือไม่ ตรงตามเจตนารมย์ของระเบียบ ขัดพรบ. และรธน.หรือไม่ เพราะการเรียกคืนและโอนสำนวนคดีนี้ทำให้ผู้ร้องทุกข์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจริงอย่างที่ร้องทุกข์  และร้องทุกข์ก่อนหน้าที่จะมีการตัดสิน ส่วนเหตุผลที่แจ้งมานั้น ว่า” เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วเป็นธรรม “ เป็นไปตามระเบียบดังที่กำหนดไว้หรือไม่ สำหรับตนแล้วคิดว่า ไม่น่าใช่  เป็นการยกเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อมั่นในการพิจารณารับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนโดยเฉพาะตนมีพยานในการขึ้นศาลในวันนั้นด้วย “

อย่างไรก็ตามองค์กรศาลยุติธรรมเป็นองค์กรสำคัญของระบบความยุติธรรม หากเสียฃึ่งความเชื่อมั่นของประชาชนแล้ว เป็นเรื่องที่สังคมไม่อาจยอมรับได้ องค์กรศาลก็จะเสื่อมไปในที่สุด  

โดยเฉพาะคำว่าอคติกับพวกพ้องแยกกันไม่ออก เพราะศาลคือปุถุชนย่อมมีความโลภ โกรธ หลงเป็นธรรมดา  แต่ความธรรมดานั้นย่อมส่งผลต่อกรรมที่จะเกิดขึ้น ศาลจึงต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่อคติ เป็นอิสระและไม่มีผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

น่าพิจารณาว่าศาลล้มละลายเป็นศาลที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเงินทอง ทำไมจึงใช้คำว่า”เชี่ยวชาญ”ฃึ่งไม่รู้ว่าเชี่ยวชาญจริงอย่างไรจึงดำรงตำแหน่งในศาลนี้ได้คราวละหลายปี ย้ายสลับตำแหน่งกันไปในศาลนี้จนแตกต่างจากศาลอื่นได้ ผู้ร้องทุกข์กล่าวในที่สุด

ลักษณะอย่างนี้เป็นการแปลงทางเทคนิคของกฎหมายหรือไม่