ศาลยุติธรรมเปิดช่องทางรับฟังความคิดเห็น “ทุกความเห็น”มีค่า
(เฉพาะบุคลากรศาล555)

แล้วปชช.จะแสดงความเห็นที่มีค่านั้นส่งให้ศาลยุติธรรมนำไปปรับปรุงแก้ไขหรือชี้เบาะแสช่องทางการใช้ดุลพินิจที่ไม่สุจริตและดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ ด้วยการตรวจสอบดุลพินิจนั้นโดยตัดคำว่า “ไม่อาจก้าวล่วงได้”ออกไปได้อย่างไร จึงจะเป็นธรรม เพราะเมื่อปชช.ชี้ช่องร้องทุกข์ก็จะให้ผลการตรวจสอบว่า”เป็นดุลพินิจ”

องค์กรศาลต้องเปิดช่องทางแจ้งให้ปชชรู้ว่า การใช้ดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้นั้น กรณีพฤติการณ์ของการใช้ดุลพินิจนั้นมีลักษณะอย่างใดจึงเข้าข่ายเป็นการใช้ดุลพินิจ”ไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย” เพื่อให้ปชช.ช่วยกันตรวจสอบพฤติการณ์เป็นหูเป็นตา ช่วยองค์กรให้เป็นที่เชื่อมั่นความยุติธรรม ให้แก่องค์กรศาลได้

แม้ว่าดุลพินิจนั้นต้องเป็นอิสระและปราศจากการแทรกแฃง แต่ดุลพินิจนั้นต้องสุจริตและเป็นไปตามข้อกฎหมาย จึงจะเป็นดุลพินิจที่ไม่อาจก้าวล่วงได้

ถ้าไม่สุจริตไม่เป็นไปตามข้อกฎหมาย ดุลพินิจนั้นจึงต้องมีการตรวจสอบโดยไม่เห็นแก่พวกพ้องแม้การตรวจสอบนั้นจะไม่เฉพาะเรื่อง”การทุจริต” ชัดเจน ก็ตาม ก็มีหลายปัจจัยของการใช้ดุลพินิจไม่ชอบที่”เพื่อนฝากเพื่อนช่วยดู” “รัฐเข้าข้างรัฐ” และ “อีโก้อคติต่อคู่ความ “ ฃึ่งมีเยอะฃะด้วย

เพราะศาลยุติธรรมไม่มีข้อกำหนด นำผู้พิพากษา เข้าคอร์บำเพ็ญธรรม ปฎิบัติสมาธิ เช่นการไปดูงานต่างประเทศ การจัดอบรม อื่นๆให้เท่าเทียมกัน

ปชช.จึงเห็นความน่าเกลียดน่าชังในองค์กรศาลมากขึ้นทุกวัน
เพราะอะไร ถ้ามิใช่ตัวของตัวเป็นผู้สร้างขึ้นมาเอง

ขอบคุณท่านประธานศาลฎีกาคนใหม่ ที่จะทำให้ ปชช.เชื่อมั่นความยุติธรรมกลับคืนมา

แต่ถ้าให้ผู้พิพากษาอยู่ในตำแหน่งนานเกินสองปี ขึ้นไป อย่างเช่นที่ศาลล้มละลาย คดีเกี่ยวกับเงินหนาแน่น ความเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ความเป็นผู้มีอิทธิพลจะไม่บังเกิดหรือ

เคยประเมินบ้างไหม