ทำไม “ทนาย” จึงไม่ชอบให้ลูกความ “ถาม”
ทนายประเภทอย่างนี้ “อย่าไปจ้างว่าความเด็ดขาด “
เพราะจะเอาแต่เงิน ขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกความ

หาคนใหม่ได้เลย ยิ่งประเภทชอบพูดจา เสียงดัง ข่ม ลูกความ
ยิ่งต้องหลีกหนีให้ไกลๆ เพราะนั่นคือพยายามสร้างภาพตัวเองให้ดูว่าเก่ง

การไม่ตอบคำถาม คือการไม่มีความรู้จริงที่จะอธิบายให้ลูกความเข้าใจเรื่องได้ถูกต้อง หรือ ก็จิตใจไม่ดีงาม เพราะกลัวว่าลูกความรู้ทางคดีแล้วไม่จ้างตัวเอง ทั้งที่ความจริงอาจไม่จ้างเพราะเรียกค่าทนายสูงเกินเหตุ หรือ คุยๆไปเห็นพฤติกรรม การพูดจา ของทนาย แล้วไม่ต้องด้วยอัธยาศัยกันก็เป็นไปได้

สภาทนายความ ควรมีมาตรการกำหนด การประกอบวิชาชีพ ทนาย จะต้องจัดทำ

1. รายงานผลทางคดีให้ลูกความทราบทุกนัด

หากทนายไม่จัดทำรายงานผลคดี ฃึ่งจริงแล้วก็มีการกำหนดไว้อยู่แล้วแต่ละเลยไม่กระทำกันให้ถือว่ามีความผิด จรรยาบรรณ มีบทลงโทษ เอาจริงกันสักที

2.แสดงความคิด ความเห็น ในการสู้คดี ในทุกนัดที่จะเกิดขึ้น ให้ลูกความได้รู้ ได้เข้าใจ และ ตัดสินใจ ร่วมกัน โดยต้องตอบคำถามคาใจของลูกความให้กระจ่าง มิใช่เอาเสียงเข้าข่ม เอาความรู้งูๆปลาๆเรียกทรัพย์ตบเงินค่าทนายแต่ไม่ทำการบ้านในการต่อสู้คดี เพราะหากลูกความแพ้ กูก็ไม่เดือดร้อน เพราะกูฟันเงินค่าทนายไปเป็นแสนๆๆบาทแล้ว ช่างหัวมึง ต้องกำหนดให้มีสัญญาว่าจ้างทนายและกำหนดวิธีการว่าความ ดำเนินคดี รายการที่ต้องทำ โดยสคบ.

3. อัตราค่าว่าจ้างทนายต้องเป็นธรรม และ มีราคาสมเหตุสมผล
เป็นสินค้าควบคุมราคา โดยกำหนดภาคประชาชนและสคบ สภาทนายความ เข้าควบคุมราคา และผลงานการทำงานของทนายความที่ให้บริการแก่ลูกความต้องมีมาตรฐานอย่างไร มาเป็นเกณฑ์ในการว่าจ้าง

4. สภาทนายความควรมีบุคคลภายนอกเข้าร่วมเป็นกรรมการ
(หากไม่รับงบประมาณจากรัฐ อาจไม่ต้องมี แต่ถ้ารับงบจากรัฐ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีกรรมการภายนอกเข้าร่วมสังเกตุการณ์การทำงานของสภาทนายความเพื่อป้องกันการครหาเล่นพวก โดยเฉพาะ คณะกรรมการมรรยาททนายความ )

5. การเรียกค่าที่ปรึกษา จำต้องมีการกำหนด ลักษณะงาน และ วิธีการ ความรู้ความสามารถ ของ ทนาย เพื่อควบคุมวิชาชีพ “ที่ปรึกษา” มิใช่ลูกความมีปัญหาอยากติดต่อว่าจ้างทนาย พอจะเล่าเรื่องให้ เวลา “สิบนาที” เพื่อพูดคุย ถ้าคุยเกินจะคิดค่า”ปรึกษา”3000-5000บาท เลียนแบบในต่างปท. โดยไม่ได้ดูว่า ลักษณะของคนในปทไทย มีความพร้อมเพียงพอที่จะรับมือกับการดำเนินการในลักษณะนี้หรือไม่ เนื่องจากสังคมไทย เป็นสังคมที่มีระดับคนความรู้ต่างกัน โดยเฉพาะในต่างจว. ฃึ่งหากคิดเวลาในการให้คำปรึกษาคงจะหมดกันเป็นครึ่งวันกว่าจะเล่ากว่าจะทำความเข้าใจ สภาทนายความควรจัดอันดับประเภททนายความชำนาญงานด้านคดี ไว้เพื่อบริการให้ปชชรับทราบ ทุกวันนี้ปชช.ที่เดือดร้อนต้องหาทนายใช้วิธีสุ่มเสี่ยงหาทนาย โดยไม่รู้ว่าทนายนั้นมีความชำนาญในเรื่องที่จะว่าความคดีนั้นหรือไม่ เช่นทนายคดีล้มละลาย เป็นคดีชำนัญพิเศษ ต้องมีความรู้ทั้งทางบัญชี ก.ม และ ธุรกิจ เช่นเดียวกับศาล ก็ควรจะคัดสรรผู้พิพากษาที่มีความรุ้ ทั้งทางก.ม บัญชี และธุรกิจ มาตัดสินคดีความ เพราะหากรู้แต่ก.ม ก็จะไม่รู้วิธีการในการทำธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ทำให้อาจตัดสินผิดพลาด เกิดบาปแก่ตนเองและครอบครัว

6. ค่าทนายที่เรียกกันสูงๆแพงๆอยู่ในขณะนี้ เป็นการสร้างภาระที่หนักอึ้งให้กับปชช. เพราะไม่มีการควบคุมมาตรฐานการทำงานทำให้ปชช.ได้รับความเดือดร้อนตกเป็นผู้เสียหายเพราะไม่มีปัญญาว่าจ้างทนายความ ฃึ่งก็ไม่รู้ว่ามีความสามารถพอที่ปชช.จะเชื่อใจไว้วางใจในความรู้ ความสามารถที่จะต่อสู้คดีให้สมกับราคาค่าจ้างที่ต้องจ่ายได้อย่างไร

ดังนั้น หน่วยงานรัฐที่ควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพทนาย จึงควรเข้ามามีบทบาท เพราะลำพังจะอาศัยสภาทนายความมาเป็นตัวหลักในการแก้ปัญหา”ค่าจ้างทนายแพง” คงยาก เนื่องจากคงไม่มีทนายด้วยกันคนไหนคิดอยากทุบพวกตัวเองที่ต้องอาศัย”เสียง”ในการลงคะแนนเลือกตั้ง จึงต้องควรมีภาคประชาชนเข้าไปร่วมอยู่ในสภาทนายความ เพื่อการทำงานจะได้มีผลต่อปชช.ไปในทางที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

นกกระจิบ นกกระจาบ