กรมบังคับคดีกับการขอข้อมูลข่าวสารลามไป“ดุลพินิจชอบด้วยก.ม”ของข้าราชการ

เมื่อวาน20ตค 64 เวลา บ่าย ผู้เขียน ขับรถไกลจากที่ทำงานฝั่งบางกะปิ ลาดพร้าว ข้ามไปคนละฟากฟ้ากรมบังคับคดี บางขุนนนท์เพื่อจะไปขอเอกสาร ข้อบังคับกรมบังคับคดีพ.ศ 2558และ คำสั่งกรมบังคับคดี เลขที่451|2549  เกี่ยวการการจรรยาบรรณของเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีและแนวการปฎิบัติงานในการบังคับคดี เพื่อให้ข้อมูลปชช.ว่า ในการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี ต้องปฎิบัติตามหน้าที่ที่กรมบังคับคดีกำหนดไว้เป็นวินัยที่ต้องปฎิบัติ มิให้ออกนอกลู่นอกทาง เพื่อเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยใช้ดุลพินิจที่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงที่ละเอียดรอบคอบก่อนมีความเห็นหรือคำสั่ง มิให้ผู้ใดเสียหายเดือดร้อน  

ปรากฎว่า หัวหน้าฝ่ายข้อมูลข่าวสาร ชื่อ นางสาว ต. ออกมาอรรถธิบายด้วยใบหน้าบึ้งตึง ว่า จะขอไปทำไม จึงบอกว่าจะขอเอาไปดำเนินคดี 555 เธอถามว่าคดีอะไรพอบอกเลขคดีไป เธอบอกให้ติดต่อกับเจ้าของสำนวนคดีได้เลย จึงถามเธอว่าเอกสารที่ขอนี้มันไปเกี่ยวข้องกับเจ้าของสำนวนได้อย่างไร ว่าแล้วเธอก็โทรไปแจ้งเจ้าของสำนวนให้รู้ว่ามีคนมาขอเอกสาร ดังกล่าว

เป็นถึงระดับหัวหน้าฝ่ายข้อมูลข่าวสารแต่ไม่สามารถแยกเรื่องได้ว่าข้อมูลอะไรที่เป็นข้อมูลราชการข้อมูลอะไรที่เป็นข้อมูลในสำนวนคดีที่ผุ้อื่นไม่สามารถล้วงเข้าไปดูได้ แถมมาอธิบายให้คนขอข้อมูลนี้รุ้ถึงวิธีการขอข้อมูลในสำนวนว่าคนไม่เกี่ยวข้องในคดีไม่สามารถขอดูข้อมูลได้

จึงถามว่า ข้อมูลราชการว่าด้วย ข้อบังคับกรมบังคับคดี พ.ศ 2558และ คำสั่งกรมบังคับคดี เลขที่451|2549 มันจะไปอยู่ในสำนวนคดีได้อย่างไร  เธอยังไม่get พล่ามต่อไปด้วยหน้าบึ้งตึงประหนึ่งประชาชนคือขี้ข้าว่า ไปเอาข้อมูลนี้มาจากไหนก็ไปเอาจากตรงนั้น พอบอกว่าเอามาจากในอินเตอร์เน็ตแต่อยากได้ฉบับจริงจากกรมบังคับคดี พร้อมลงนามรับรองด้วย เธอก็ยังไม่getอีกบอกว่าให้ไปขอจากเจ้าของสำนวนและถ้าเกี่ยวข้องในคดีก็สามารถให้เจ้าของสำนวนลงนามรับรองได้เลย

ว่าแล้วเธอพล่ามต่อว่า ถ้าอยากได้จริงๆก็ให้ทำเป็นหนังสือยื่นขอมาจะได้ส่งให้เลขานุการกรมอนุมัติและมารับในวันหลัง 

โอ้แม่เจ้า นี่คือวิธีการทำงานของข้าราชการ ผู้รับใช้ประชาชนหรือเป็นเจ้านายประชาชนกัน(โว้ย) จึงถามเธอว่า เขียนเป็นหนังสือตรงนี้ยื่นตรงนี้ได้ไหม ( คิดในใจว่าบ้านตูข้าก็อยู่ไกลมากเฉพาะค่ารถไปกลับนี้ก็ตกประมาณ 700 บาท รวมค่าทางด่วนเที่ยวละ165 ไปกลับก็ 330 บาท ค่าน้ำมันรถเบนฃ์อีกลิตรละ 3-4บาท ไปกลับนี่คงจะสัก 80 กิโล ล่อไป 300 รวมค่าสึกหรอก็คงประมาณ700บาท) 

กรมบังคับคดีก็น่าจะมีบริการขอข้อมูลข่าวสารผ่าน ทางอีเลคทรอนิกส์หรือให้ประชาชนติดต่อช่องทางที่มันสะดวกๆจะได้ไม่ต้องไปรบกวนท่านข้าราชการที่ไม่พร้อมจะบริการประชาชนแต่อยากจะมีกินมีใช้กับเงินของประชาชนที่เสียสละเงินจ่ายเป็นค่าจ้างให้ กินให้ใช้ ถ้าไม่อยากจะบริการประชาชนก็ลาออกไปนอนอยู่บ้าน เงินของประชาชนจะได้ไม่เสียข้าวสุกข้าวสาร (แรงไปไหมนี่) 

จะดีกว่าไหม หรือถ้าประชาชนเขาไปถึงที่ก็น่าที่จะมีบริการone stop service ฃึ่งก็เห็นเปิดห้องบริการเอาไว้ อยู่แล้ว ก็น่าจะมีบริการนี้เข้าไปแทรกอยู่ด้วย 

การขอข้อมูลข่าวสารเรื่องธรรมดาอย่างนี้มันจะอะไรกันหนักหนา หรือเพราะว่าถ้าประชาชนได้ข้อมูลนี้ประชาชนจะรุ้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐต้องปฎิบัติงานกันอย่างไร คนไหนที่ปฎิบัติงานไม่ถูกต้อง ก็จะต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำของตนเองและเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีก็โดนฟ้องเป็นจำนวน มากถึงกับต้องมีการแก้ไขหยิบเอาคำว่า“ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย”มาใช้เป็นเกราะป้องกันเจ้าหน้าที่ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ยุคนี้หากินกับผลประโยชน์ที่จะได้รับไม่จากเจ้าหนี้ก็ลูกหนี้ได้เพราะมีเกราะป้องกันนี้นี่เอง

 และเมื่อคดีขึ้นสู่ศาล ฃึ่งเป็นข้าราชการด้วยกัน เป็นปุถุชนด้วยกัน หากมีจิตสำนึกถึงเงินที่ประชาชนเสียสละมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้ข้าราชการมาทำงานสักนิด คำว่าดุลพินิจชอบด้วยกฎหมายต้องพิสูจน์ด้วยว่าชอบด้วยกฎหมายอย่างไร  ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนเป็นฝ่ายพิสูจน์การใช้ดุลพินิจที่อ้างกันง่ายๆโดยไม่รู้ว่าชอบได้อย่างไร

เพราะคำว่าชอบย่อมหมายถึงการกระทำที่ถูกที่ควรเป็นที่ยอมรับของกฎกติกาสังคม ไม่ใช่ชอบเพราะคิดเองเออเองของข้าราชการ เพราะมันง่ายดีที่จะรับทรัพย์ตบกระเป๋าหรือเข้าข้างพวกเดียวกัน 

นกกระจิบ