อัยการจังหวัดเชียงรายยื้อแก้ต่างให้สปก.ยื่นคำร้องต่อศาลแสดงสิทธิในที่ดินพิพาทมูลเหตุคุณตาช๊อคเสียชีวิต พร้อมสปก.เชียงรายไม่สนคำสั่ง”ธรรมนัส”ให้ปักป้ายห้ามผู้ใดเข้าครอบครองโดยยังไม่ได้รับสิทธิ หลังศาลตัดสินคลาดเคลื่ยนในคดี 

จากกรณีที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีหมายสั่งให้สำนักงานบังคับคดีเชียงรายดำเนินการขับไล่จำเลยทั้งสอง คือ นาง ณรีพัฒน์ สวัสดิเสวี ออกจากคุ้มนายพล รีสอร์ต ดอยแม่สลอง และยึดทรัพย์ที่ดินคุณตา วัย 75 ปี จนเกิดช๊อคเสียชีวิตไปเมื่อวันที่3 กค64 ตามคำพิพากษาที่ 1175|61 , 559|62 และ ศาลฎีกาที่ 3195|63 นั้น 

ทำให้สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ได้ออกหนังสือมายืนยันว่าที่ดินที่นางณรีพัฒน์ ถูกขับไล่นั้นเป็นที่ดินของสปก. ไม่ใช่ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติตามที่ศาลตัดสิน 

โดยสำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมได้ทำหนังสือถึงอัยการจังหวัดเชียงรายเพื่อขอให้อัยการจังหวัดเชียงราย ช่วยแก้ต่างให้กับสปก.ว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในข่ายบังคับคดีตามคำพิพากษาและจำเลยทั้งสองมิได้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ฃึ่งเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสปก.ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่3195|63 ลงวันที่ 8ก.ค64 โดยพิพากษาให้บุคคลทั้งสองคือนาง ณรีพัฒน์และคุณตา ที่เสียชีวิต คืนสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กิจการโรงแรมและร้านอาหารให้แก่โจทก์ โดยประสงค์ให้ศาลพิจารณาว่า ที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวสปก.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และอยู่ในอำนาจกำกับดูแลของสปก.ดังรายละเอียดที่แนบ

จึงขออนุเคราะห์อัยการจังหวัดเชียงรายช่วยมอบหมายแก้ต่างคดีให้ โดยสปก.ส่งนาย กมลวัฒน์ ศรีสุข นิติกร สปก.เป็นผู้ประสานคดีกับสำนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย 

( ภาพประกอบ) 

โดยหนังสือดังกล่าวมีถึงอัยการจังหวัดเชียงรายในวันที่ 9 เมษายน 2564 แต่อัยการจังหวัดเชียงราย ไม่ดำเนินการให้ และยื้อเรื่องไว้  อ้างว่า สปก.สามารถยื่นเรื่องต่อศาลได้เอง พร้อมกลับส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการภาค5 พิจารณาเมื่อปลายเดือนมิย.จนปัจจุบันสามเดือนแล้ว ก็ยังไม่มีผล

ความล่าช้านี้สอดคล้องกับสำนักงานบังคับคดีเชียงรายฃึ่งได้รับหนังสือแจ้งข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่สปก.กรุงเทพทางโทรศัพท์ แล้วพร้อมกับจำเลยที่2 ยื่นหนังสือชี้แจงขอความเป็นธรรมและข้อเท็จจริงมามอบให้สำนักบังคับคดีเชียงรายลงรับเมื่อวันที่19เมษายน64 (ภาพประกอบ)

ฃึ่งในวันนั้นเจ้าหน้าที่สำนักงานบังคับคดีได้บันทึกลงในเอกสารนั้นว่า ตรวจสอบแล้วยังไม่ได้รับหมายบังคับคดีแต่อย่างใด 

ทำให้เมื่อหมายคำสั่งศาลมาถึงสำนักงานบังคับคดีเชียงรายในวันที่8 มิถุนายน 64 จึงปรากฎในเวลาไม่กี่วันถัดมาคือวันที่15 มิถุนายน 2564 ขณะที่หนังสือจากสปก.กำลังเดินทางมาถึงสำนักงานบังคับคดีในช่วงบ่าย คลาดกันไม่กี่ชั่วโมง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้เดินทางไปดอยแม่สลองเพื่อติดประกาศขับไล่จำเลยที่สองให้ออกจากบ้านและที่ดินพิพาท ที่ศาลฎีกาในคดีนี้ชี้ว่ายังเป็นที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ขณะที่การสู้คดีของฝ่ายจำเลยค้านว่าที่ดินเป็นของสปก.อำนาจในการพิจารณาให้ผู้ใดได้สิทธิครอบครองอยู่อาศัยทำกินเป็นอำนาจของสปก. ตามพรบ.ปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กำหนดไว้เป็นกฎหมายพิเศษ ที่ปัจจุบันสปก.ยังไม่ได้มอบสิทธินั้นให้ใคร 

ด้วยเหตุนี้สปก.จึงแสดงสิทธิในที่ดินพิพาทนั้น เพื่อให้อัยการจังหวัดเชียงรายทำหน้าที่แก้ต่างให้สปก.

แต่อัยการจังหวัดเชียงรายก็มิได้รีบดำเนินการ  นิติกรของสปก.ที่รับหน้าที่ประสานงานก็นิ่งเฉย สำนักงานบังคับคดีเชียงรายก็เร่งไปขับไล่ ทั้งที่รู้ก่อนหน้าจากสปก.แล้วว่าที่ดินที่จะไปขับไล่นั้นเป็นที่ดินของสปก.ไม่ใช่ที่ดินของจำเลยทั้งสอง

การเร่งรีบขับไล่ก็เพื่อมิให้จำเลยที่2ได้อยู่อาศัยต่อไป 

ขณะที่มีหนังสือสั่งการจากรท.ธรรมนัส พงษ์เผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯผู้รับผิดชอบงานสปก. ในวันที่ 2 มีนาคม 2564 ให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีคำพิพากษามีความคลาดเคลื่ยน โดยสั่งให้สปก.เชียงรายชะลอการดำเนินการจัดที่ดินแปลงพิพาทและเข้าดูแลพื้นที่ด้วยการปักป้ายปิดประกาศห้ามผู้ใดเข้าถือครองทำกินในที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสปก.จนกว่าสปก.จะพิจารณาจัดที่ดินตามเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกำหนดไว้ (ภาพประกอบ)

แต่ปรากฎว่า สปก.เชียงราย กลับไม่สนใจคำสั่งของรัฐมนตรี ไม่ยอมทำป้ายไปติดประกาศตามสั่ง เป็นเหตุให้มีคนกลุ่มหนึ่งบุกเข้าไปรื้อป้ายประกาศที่จำเลยที่สองลงทุนทำแทนสปก.ให้ พร้อมบุกเข้าไปในอาคารทรัพย์สินพิพาท โดยสปก.เชียงรายเมื่อทราบเรื่องกลับแสดงอาการไม่พอใจพร้อมบอกให้จำเลยที่2 ไปแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกเอาเอง

การดำเนินการในคดีพิพาทนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามเนื่องจากมูลค่าทรัพย์สินที่ดินสปก.นี้มีมูลค่าถึง 120 ล้านบาท เป็นปลาย่างชิ้นปลามันกันทีเดียว