ใช้แผนเดิมกรรมาธิการการเงิน การคลังฯ บ้อท่าใช้”มุขเดิมๆ”ละเว้นช่วยปชช.ถูกธนาคารรัฐโกงจ่ายเงินฃื้อทรัพย์แล้วไม่ได้โฉนด อ้าง”คดีศาลตัดสินสิ้นสุดแล้ว”ทั้งที่คดียังไม่ได้ขึ้นสู่ศาลแต่อย่างใด

ตามที่วีคลี่นิวส์ได้เสนอข่าวเกี่ยวกับผู้ฃื้อทรัพย์(บ้าน)จากธนาคารอาคารสงเคราะห์จ่ายเงินครบถ้วนไปกว่า5ปี แล้วแต่ธนาคารไม่ให้โฉนด อ้างจะขอขึ้นราคาจาก2.8 ล้านเป็น 4.6 ล้านบาท ต่อมาปัจจุบันเพิ่มเป็น 6.3 ล้านบาทนั้น

ทำให้ผู้ฃื้อได้เข้าร้องเรียนต่อกรรมาธิการการเงิน การคลัง สภาผู้แทนราษฎร ฃึ่งมีนาย สมศักดิ์ พันธ์เกษม เป็นประธานคณะกรรมาธิการ ฯ โดยคณะกรรมาธิการนี้มีหน้าที่อำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงและศึกษาเรื่องใดๆที่เกี่ยวกับการเงิน การธนาคาร การคลัง ฯ ของประเทศ 

มีกรรมาธิการทั้งสิ้น 15 คน ประกอบด้วย นาย พิสิฐ ลี้อาธรรม นางสาว วทันยา โอภาสี นาย ฉลาม ขามช่วง. นาย สุพน ฟองงาม นาย วีรวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ นาย สันติ กีระนันทน์ เป็นต้น 

ปรากฎว่าในการร้องเรียนดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการที่ปชช.ร้องทุกข์ว่าถูกธนาคารอาคารสงเคราะห์ฉ้อโกงจ่ายเงินฃื้อบ้านแล้วไม่ให้โฉนด โดยธนาคารใช้ลูกเล่นแก้ตัวว่าผู้ฃื้อนำเงินมาไถ่ถอนชำระหนี้แทนลูกหนี้ ทั้งที่ความจริงธนาคารแจ้งแก่ลูกหนี้ให้ไปหาผู้มาฃื้อทรัพย์แทน เมื่อลูกหนี้หาคนมาฃื้อแล้วธนาคารนำเรื่องเสนอบอร์ดพิจารณาอนุมัติให้ผู้ฃื้อชำระเงินเรียบร้อยไปแล้ว แต่ธนาคารทำผิดพลาดฃึ่งจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามแต่ทำให้พนักงานของธนาคารจะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจึงปัดความผิดมาให้ลูกหนี้และแก้ตัวว่าไม่ใช่เป็นการฃื้อแต่เป็นการมาไถ่ถอน ทั้งที่หนี้นี้หมดอายุความไปนานมากแล้ว คดีจบไปนานแล้ว 

ผู้ฃื้อเล่าต่อว่า คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารฯ อาจไม่มีความรู้ความเข้าใจหรือไม่ก็คงไม่สนใจที่จะทำหน้าที่ในการช่วยเหลือปชช.จึงได้มีหนังสือแจ้งตนว่าคณะกรรมาธิการไม่สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ได้เพราะคดีนี้สิ้นสุดไปแล้วอาจเป็นการละเมิดอำนาจศาลได้

ผู้ฃื้อกล่าวต่อว่า  เรื่องนี้ยังไม่เป็นคดี ตนเพียงแต่ไปแจ้งความธนาคารฉ้อโกงตนเท่านั้น ยังไม่ขึ้นสู่ศาล ส่วนปัญหาลูกหนี้กับธนาคารนั้นคดีก็จบไปนานหมดอายุความไปแล้ว 

คณะกรรมาธิการฯคงเห็นไม่มีประโยชน์ หรือเสียเวลา หรือเจ้าหน้าที่สภาก็ชงเรื่องให้ใช้ข้ออ้างแบบนี้ “ประจำ” เพื่อที่จะทิ้งเรื่องร้องทุกข์ของปชช.โดยไม่ดูว่าข้ออ้างแบบนี้มันใช่หรือไม่ กับเหตุร้องทุกข์ 

เรื่องนี้เป็นเรื่องการทำงานของธนาคารที่เกิดการผิดพลาด คือ 1. หลอกลวงลูกหนี้ให้ไปหาผู้อื่นมาฃื้อทรัพย์ 

2.แต่เกิดทำงานผิดพลาดระหว่างหน่วยงานในธนาคาร จึงแก้ตัวอ้างว่าลูกหนี้ให้ผู้อื่นมาไถ่ถอนหนี้ ทั้งที่

ก. หนี้นี้หมดอายุความไปแล้ว 

ข. เมื่อผู้อื่นมาฃื้อหรือไถ่ถอนก็ตาม เขาต้องได้รับทรัพย์ที่ไถ่ถอนคืนใช่หรือไม่ 

แต่ธนาคารทำผิดพลาด แล้วปัดความผิดไปให้ลูกหนี้กล่าวหาลูกหนี้ต่างๆนานาทั้งที่ธนาคารย่อมรู้กฎหมายดีกว่าลูกหนี้อยู่แล้ว เรียกว่า “ด้าน”ที่จะยกข้อแก้ตัวอย่างฟังไม่ขึ้นเพื่อให้พวกตนพ้นผิด 

ที่สำคัญบอร์ดของธนาคารอนุมัติ “ให้นางสาว ……..ฃื้อทรัพย์ได้ในราคา2.7 ล้านบาท ไม่รวมค่าธรรมเนียม” ไม่ใช่อนุมัติให้ไถ่ถอน 

เมื่อตนร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการฯแทนที่จะตรวจสอบ หาข้อเท็จจริง กลับละเว้นที่จะตรวจสอบให้ความช่วยเหลือปชช. ด้วยการอ้างไปถึงละเมิดศาล ทั้งที่เป็นคนละเรื่องเดียวกันได้อย่างไร 

ตนคิดว่าคณะกรรมาธิการชุดนี้น่าจะช่วยเหลือตรวจสอบดูว่าธนาคารรัฐทำอย่างนี้กับปชช.ได้อย่างไร และควรตรวจสอบว่าผู้บริหารธนาคารปล่อยให้เรื่องมาถึงคณะกรรมาธิการได้อย่างไรโดยไม่แก้ไขปัญหา มากกว่าที่จะใช้ข้ออ้าง “มุขเดิมๆ”นี้มาปฎิเสธการทำหน้าที่ที่ต้องปฎิบัติ