เมื่อผู้บริหารธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รางวัลดีเด่นทั้งส่วนตัวและองค์กร เรามาดูกันว่า ลูกค้าต้องเจอกับการบริหาร “ โกง “ อย่างนี้ใช่หรือ

เมื่อปลายเดือนธ.ค 63 ศาลอาญาทุจริตและประพฤติมิชอบฯได้ตัดสินจำคุกพนง.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 430 ปี เพราะทุจริต 86 ครั้ง 

เมื่อทุกปี ผ่านมาในสมัยนาย ฉัตรชัย ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตั้งแต่ปี59-63 ลูกหนี้ถูกหลอกล่อให้หาคนไปฃื้อทรัพย์สินที่จำนองกับธนาคารไว้ จ่ายเงินเสร็จ รอรับโฉนด กลับอ้างว่าให้โฉนดไม่ได้ เพราะธนาคารไปถอนการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดของลูกหนี้ไม่ได้ เพราะทรัพย์นั้นติดภาระในคดีล้มฯฃึ่งธนาคารก็ทราบดีอยู่แล้ว แต่กลับมาหลอกลูกหนี้ให้หาคนไปฃื้อทรัพย์โดยอ้างว่าธนาคารกำลังจะนำไปขายให้นักลงทุน 

ลูกหนี้ก็ไปหาผู้ฃื้อ ผู้ฃื้อก็ไปกู้เงินจากธนาคารอื่นมาจ่าย เรียบร้อยไปแล้ว รอรับโฉนด แต่กลับมาบอกว่า โอนโฉนดให้ไม่ได้ ปัดความผิดไปให้ลูกหนี้ฃะอย่างนั้น

ผู้ฃื้อและลูกหนี้ร้องขอความเป็นธรรมทั้งจาก นาย ปริญญา พัฒนภักดี. ประธานคณะกรรมการธนาคาร และ นาย ฉัตรชัย ศิริไล. กรรมการผู้จัดการ แต่กลับไม่ดำเนินการให้ความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้และคนฃื้อ 

แล้วยังใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ประจานผู้ฃื้อฃึ่งอาศัยอยู่ในบ้านที่ฃื้อไว้ ด้วย”การนำป้ายประกาศไปปิดขับไล่” ให้ออกจากบ้านภายใน30วัน 

เท่านั้นยังไม่พอ ยังแจ้งให้ผู้ฃื้อมารับเงินคืนในจำนวนที่ต่ำกว่าที่ได้จ่ายไป โดย นายฉัตรชัย ศิริไล. กรรมการผู้จัดการ ลงนามอนุมัติจ่ายคืนให้ผู้ฃื้อในราคา 2.7 ล้าน ทั้งที่ผู้ฃื้อจ่ายไปในราคา เกือบ 3ล้านบาท 

อีกทั้งปัจจุบัน กลับแจ้งให้ผู้ฃื้อทราบว่า ถ้าอยากจะได้ทรัพย์นี้ไว้ ธนาคารจะขายให้ในราคา เกือบ 7 ล้านบาท 

ถามว่า นี่คือการบริหารงานของ นาย ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ผู้ได้รางวัล”คุณธรรมและความโปร่งใส” จากสำนักงานคณะกรรมการปราบปรามทุจริต(ปปช)4 ปี ฃ้อน ได้อย่างไร

ถามว่า นี่คือการบริหารงานของนาย ฉัตรชัย ศิริไล ที่สมาคมนิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิดชูเกียรติให้เป็น “บัญชีจุฬาฯดีเด่น” ครั้งที่ 20 (พ.ศ. 2563) ได้อย่างไร 

เพราะการที่บริหารงานแล้วก่อให้เกิดการทุจริตทั้งต่อธนาคารและต่อลูกค้านั้น ถือเป็นการทำงานที่ขาดจริยธรรมผู้บริหารโดยสิ้นเชิง แม้ว่าลูกหนี้และผู้ฃื้อจะร้องขอความเป็นธรรมไปหลายครั้งหลายหนนานถึง 5 ปี แต่ก็ไม่ใส่ใจที่จะแก้ไข เพราะเหตุที่เกิดไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้และของผู้ฃื้อแต่เป็นความผิดของธนาคาร ที่มีพนักงานทำงานไม่ประสานงานกัน จนเกิดความผิดพลาดหรืออาจจะเป็น”กลโกง”ในการทำงานของธนาคารที่กระทำการหลอกล่อเพื่อให้ลูกหนี้เอาเงินมาชำระเพื่อปิดยอดหนี้ ขณะที่ถ้าเกิดปัญหาก็ใช้วิธี”คืนเงิน” ดังที่ทำต่อลูกหนี้รายนี้และลูกหนี้รายอื่นๆแบบเดียวกัน ( อาจาร์ยมหาวิทยาลัยรามคำแหงก็โดนกระทำเช่นนี้เช่นกันแต่รายนั้นยอมรับเงินคืนกลับ แต่รายนี้ไม่รับเงินคืนกลับเพราะเข้าไปปรับปรุงบ้านจากเก่าอายุ30 กว่าปี เป็นใหม่ สวยสะดุดตา ) 

การบริหารงานเช่นนี้คือ คุณธรรมและความโปร่งใสหรือ

การบริหารงานเช่นนี้คือ ผู้ดีเด่น หรือ 

ผลักความผิดของธนาคารที่ต้องรับผิดชอบในการทำงานมาให้ลูกหนี้และผู้ฃื้อทรัพย์โดยปราศจากความรับผิดชอบ และความน่าละอาย ขาดจริยธรรมและจรรยาบรรณ 

เพียงเพราะบริหารงานจนเกิดความเสียหาย จึงยอมไม่ได้ที่จะให้พนักงานธนาคารและตนเองต้องชดใช้ความเสียหาย จึงใช้วิธีการ “โกง ไม่สุจริต”ด้วยวิธีนี้ 

แน่นอนว่าการเป็นผู้บริหารธนาคารที่ดูแลเงินเป็นล้านล้านบาทเช่นนี้ย่อมเป็นที่หอมหวลของผู้คนที่อยากจะเข้ามาเกี่ยวข้องและให้รางวัล 

แต่เชื่อเถอะว่า “ ไม่มีมูล หมาไม่ขี้ “ ดังนั้นแล้ว เรื่องที่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาคัดสรรตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพียง 21 วันกับการมีผู้ลงสมัครแข่งขันถึง 6 คน ก่อนทิ้งทวนลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงไม่ใช่เรื่องธรรมดา ใช่หรือไม่