ดีเอสไอบุกจับชาวจีนขน. “แว่นตา”แบรนเนม ปลอม มูลค่าเสียหายกว่า 300 ล้าน ข้องใจไม่ผ่านการตรวจของศุลกากรได้อย่างไร
ดีเอสไอบุกจับชาวจีนขน”แว่นตา”แบรนเนม ปลอม มูลค่าเสียหายกว่า 300 ล้าน ข้องใจไม่ผ่านการตรวจของศุลกากรได้อย่างไร
เมื่อเช้าวันที่ 19 มกราคม 2564 ดีเอสไอได้เรียกบริษัทตรวจลิขสิทธิ์ทุกแบรนเนมเข้าร่วมตรวจสอบและจับกุมชาวจีนลักลอบนำ”แว่นตา”แบรนเนมปลอมจำนวนหลายยี่ห้อ เข้ามาในประเทศไทย โดย พ.ต.ท. กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวว่า กรณีดังกล่าว สืบเนื่องจากกองคดีทรัพย์สินทางปัญญา สืบสวนทราบว่า มีแหล่งเก็บสินค้าประเภทแว่นตาแบรนด์เนมปลอมเครื่องหมายการค้าขนาดใหญ่ย่านดาวคะนอง ซึ่งมีสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าเป็นจำนวนมาก อาทิ ยี่ห้อเรย์แบน(Ray ban) กุชชี่ (GUCCI) โอ้คเล่ย์ (Oakley) ชาแนล (CHANEL) คริสเตียน ดิออร์(Christian Dior), โดลเช่ แอนด์ กาบบาน่า (Dolce & Gabbana หรือ D&G) คาเทียร์(Cartier) มงต์บลองค์ (Montblanc) อาร์มานี่ (Armani) เฟนดิ (Fendi) เจนเทิล มอนสเตอร์ (Gentle Monster) ซีลีน (Celine) เวอร์ซาเช่ (Versace) ทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้รับความเสียหาย กองคดีทรัพย์สินทางปัญญา จึงได้สืบสวน เฝ้าติดตามจนพบหลักฐานในการกระทำความผิด
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอพร้อมด้วยพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ นำหมายศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เข้าตรวจค้นแหล่งเก็บสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า จำนวน 2 จุดได้แก่ โรงหนังดาวคะนอง และห้องชุดดาวคะนอง คอนโดมิเนียม เขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ จากการตรวจค้น พบสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าประเภทแว่นตาจำนวนมากมูลค่าความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท พร้อมจับกุม นายชาง ลี่ ลี ผู้ต้องหาชาวจีนพร้อมสินค้าที่ลักลอบนำเข้าประเทศโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรอีกเป็นจำนวนมาก
อนึ่งวีคลี่นิวส์ตั้งข้อสังเกตุ ว่า สินค้าที่นำเข้านี้มีจำนวนมากมายจะเข้ามาได้อย่างไรโดยไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจ ไม่ว่าจะเข้ามายังด่านไหนก็ต้องเจอด่านของศุลกากรตรวจสอบ เป็นด่านแรก ฃึ่งหากดีเอสไอสอบสวนให้ลึกและไม่มีการช่วยเหลือข้าราชการด้วยกัน เชื่อว่าดีเอสไอจะสืบจนรู้วิธีการนำเข้าของชาวจีนผู้นี้นำเข้ามาได้อย่างไร
วีคลี่นิวส์จะติดตามต่อไปเนื่องจากระยะนี้พบว่ามีการร้องเรียนการทำงานของจนท.ศุลกากรในการปล่อยของหรือ”แอบแฃ่บ”มายังวีคลี่นิวส์จำนวนมาก
ฃึ่งที่ผ่านๆมาชื่อเสียงของกรมศุลกากรเกี่ยวกับการทุจริตยังคงมีหนาแน่นอยู่เหมือนเดิมแม้ระยะเวลาจะผ่านมานาน การทุจริตคอรับชั่นยังคงมีสูงอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต
ล่าสุดเมื่อปลายปี63 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้ตัดสินจำคุกเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามนาย โดย อธิบดีและรองอธิบดี รอด พ้นจากการที่บริษัท บริษัทซุปเปอร์ซาร่า จำกัด โดยนายชนิดศุทธยาลัย ผู้รับมอบอำนาจ เป็นโจทก์ ฟ้อง นายกุลิศสมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร(ขณะนั้น) , นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร(ขณะนั้น),นายกิตติ สุทธิสัมพันธ์ ผอ.สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง(ขณะนั้น) , นายธีระชาติ อินหริง,นายวิฑูรย์ อาจารียวุฒิ ,นายยงยุทธ ทองสุข , นายปิติณัช ศรีธราเป็นจำเลยที่ 1-7 ฐานเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีออกคำสั่งกล่าวโทษให้โจทก์เสียสิทธิในการลดหย่อนภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าประเภทรถยนต์เอ็นจีวีจำนวน 1 คัน ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 , 83 , 91
ทั้งนี้ ในชั้นพิจารณา ศาลประทับรับฟ้องไว้เพียงจำเลยที่ 1-4-5-6 และยกฟ้องในส่วนของนายชัยยุทธ คำคุณ จำเลยที่ 2 รองอธิบดีกรมศุลกากร , นายกิตติ สุทธิสัมพันธ์จำเลยที่ 3 ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง, นายปิติณัช ศรีธรา จำเลยที่ 7 ขณะที่ชั้นพิพากษาคดี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิเคราะห์พยานหลักฐานแล้ว มีคำพิพากษายกฟ้องนายกุลิศ สมบัติศิริ จำเลยที่ 1 อธิบดีกรมศุลกากร
โดยนายธีระชาติ อินทริง จำเลยที่ 4 , นายวิฑูรย์ อาจารียวุฒิ จำเลยที่ 5 , นายยงยุทธทองสุข จำเลยที่ 6 พิพากษาว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157(เดิม) ให้จำคุกคนละ 3 ปี และปรับ 18,000 บาท แต่ทางนำสืบของจำเลยที่ 4 , ที่ 5 , ที่ 6 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง จึงลดโทษให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยให้จำคุกจำเลยที่ 4,5,6 คนละ 2 ปี และปรับ12,000 บาท ขณะที่โทษจำคุกนั้นให้รอการลงโทษ (รอลงอาญา )
ใส่ความเห็น