เผยความเลวร้ายของธนาคารอาคารสงเคราะห์ เตรียมใช้ศาลเป็นเครื่องมือยื้อคดีซื้อทรัพย์แล้วไม่โอนโฉนดเพื่อบีบให้ผู้ซื้อชำระเงินเพิ่ม

จากกรณีผู้ซื้อทรัพย์จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ชำระเงินซื้อบ้านจากธนาคารนานกว่าสามปี แต่ธอส.ไม่ยอมโอนโฉนดให้ เพราะโฉนดยังไม่ใช่สิทธิของตัวเองนั้น เมื่อธอส.ได้สิทธินั้นมาแล้วจากการประมูลซื้อทรัพย์ เมื่อเร็วๆนี้แทนที่จะรีบโอนโฉนดให้แก่ผู้ซื้อ กลับจะมาเรียกเงินเพิ่มอีกให้เท่ากับที่ตนได้ไปประมูลซื้อทรัพย์นั้นมา ทั้งที่ได้ตกลงขายทรัพย์รับเงินที่ขายกันเรียบร้อยแล้วก็ตาม

​             ปรากฏว่าธนาคารเริ่มใช้กระบวนการเล่ห์เหลี่ยมทางกฎหมายบีบผู้ซื้อด้วยการว่าจ้างบริษัทเอกชน ชื่อ เดอะแวลูเอชั่น แอนด์ แมนเนจเมนท์ เป็นเรือนหมื่นบาท เพื่อให้ติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้ทั้งที่รู้ว่าคดีหมดอายุความไปนานมากแล้ว เพื่อหลอกลวงข่มขู่ให้ลูกหนี้ซึ่งอาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์หลงเชื่อ และบริษัทนี้แม้จะทราบเรื่องแล้วก็ยังดำเนินการข่มขู่ลูกหนี้ต่อไปโดยไม่กลัวเกรงว่าลูกหนี้อาจใช้สิทธิในทางกฎหมายฟ้องกลับได้เช่นกัน

​​นอกจากนี้ยังว่าจ้างบริษัท รักษาความปลอดภัย มารีน เสียเงินเป็นจำนวนมากเช่นกันเพื่อนำประกาศมาติดประจานผู้ซื้อทรัพย์ให้ออกจากบ้านที่ซื้อภายในสามสิบวัน   โดยอ้างว่าบ้านนี้เป็นทรัพย์ของธนาคาร ทั้งที่ผู้ซื้อชำระเงินให้ธนาคารเรียบร้อยไปแล้วเมื่อสามปีก่อน แต่สามปีนั้นธนาคารไม่สามารถโอนโฉนดให้ผู้ซื้อได้ เพราะธนาคารดำเนินการผิดพลาดในการขายทรัพย์

​​เมื่อธนาคารแก้ไขปัญหาได้แล้วแทนที่จะเรียกให้ผู้ซื้อไปรับโอนโฉนดกลับแจ้งจะขอคืนเงินให้ผู้ซื้อ เมื่อผู้ซื้อไม่ไปรับเงินคืน ธนาคารใช้วิธีที่ไม่รู้มีมาตราใดในกฎหมาย กล่าวว่า เมื่อธนาคารได้อนุมัติคืนเงินให้ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อไม่มารับเงิน ถือว่าธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ ดังนั้นทรัพย์นี้จึงเป็นของธนาคาร

​​ธนาคารจึงคิดจะใช้ศาลเป็นเครื่องมือเพื่อจะให้ศาลตัดสิน เนื่องจากธนาคารขายทรัพย์ในราคา ๒.๘ ล้านบาท แต่ธนาคารไปประมูลซื้อทรัพย์มาในราคา ๔.๖ ล้านบาท ทำให้ต้องมีผู้รับผิดชอบในส่วนต่างดังกล่าวแม้ว่าส่วนต่างนั้นจะเป็นตัวเลขทางบัญชีก็ตาม ดังนั้นธนาคารคงคาดคิดว่า เมื่อคดีไปถึงศาล ศาลคงจะให้ธนาคารชนะเพราะเป็นธนาคารรัฐที่ปล่อยให้เสียหายไม่ได้ และกรณีนี้ศาลฎีกาได้เคยตัดสินให้ธนาคารชนะสั่งให้กรมบังคับคดียึดทรัพย์ตามคำขอของธนาคารทั้งที่กรมบังคับคดีไม่ยึดให้เนื่องจากคดีขาดอายุความ และศาลชั้นต้นก็เห็นชอบกับกรมบังคับคดี เนื่องจากธนาคารไม่ปฎิบัติตามระเบียบในการยื่นคำขอยึดทรัพย์ให้ถูกต้อง โดยธนาคารเพียงแค่มาวางเงินค่ายึดไว้เท่านั้น

​​แต่ศาลฎีกาก็ได้ตัดสินสั่งให้กรมบังคับคดีดำเนินการยึดทรัพย์ให้ธนาคาร

​​ครั้งนี้ธนาคารคงหวังเช่นนั้นอีกเพราะเป็นธนาคารรัฐศาลย่อมเห็นใจมากกว่าบุคคลทั่วไป นับเป็นความเลวร้ายขององค์กรที่ควรจะสร้างสมความดีให้กับสังคมแต่กลับกระทำการที่คิดว่าเป็นคนธรรมดาเพียงคนเดียว คงไม่ทำให้องค์กรเสียหายได้ โดยเฉพาะกรรมการผู้จัดการ นาย ฉัตรชัย ศิริไล ทราบเรื่องแล้วแต่ไม่ดูแลแก้ไขปล่อยให้ฝ่ายบังคับคดีสร้างเรื่องความเท็จรายงานใส่ร้ายลูกหนี้และผู้ซื้ออย่างน่าละอาย เช่น ลูกหนี้พาผู้ซื้อไปเจรจาขอชำระหนี้แทน , ลูกหนี้ยอมรับในเงื่อนไขที่ต้องเป็นผู้ไปเจรจากับเจ้าหนี้รายอื่นเพื่อให้ความยินยอมแก่ธนาคารไปขอถอนการยึดทรัพย์นี้ออกมาจากกรมบังคับคดี ซึ่งเป็นการสร้างเรื่องอย่างที่คนดีดีไม่มีใครจะทำเช่นนั้นได้

​​ผู้ซื้อทรัพย์จึงได้เตรียมการแจ้งความธนาคารและกรรมการผู้จัดการในฐานฉ้อฉล ฉ้อโกง หมิ่นประมาท ทำให้เสียทรัพย์ในฐานะผู้จ้างวานบริษัทเอกชนทั้งสอง พร้อมเอาผิดบริษัทดังกล่าวด้วย