อจ.กฎหมายถามศาลรธน.ใช้กฎหมายข้อไหนเรียกปชช.เจ้าของอำนาจอธิปไตยไปชี้แจงขณะที่ปชช.เห็นด้วยศาลไม่ใช่เทวดาจึงทำผิดไม่ได้

เมื่อวันที่30 สิงหาคมทื่พรรคอนาคตใหม่(อนค.) นายปิยบุตร  แสงกนกกุลเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ อดีตอาจารย์สอนกฎหมายม.ธรรมศาสตร์ ปริญญาเอก แถลงถึงกรณีมีบุคคลจำนวนหนึ่งถูกร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องดูหมิ่นศาลและละเมิดอำนาจศาลเช่นนายโกวิทวงศ์สุรวัฒน์พ่อนายจอห์นวิญญูว่ารัฐธรรมนูญประกาศเอาไว้ว่าประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยดังนั้นเจ้าของอำนาจคือประชาชนการที่ประชาชนคนทั่วไปวิพากษ์วิจารย์องค์กรต่างๆที่ใช้อำนาจอธิปไตยนั้นจึงเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตยเพราะทำไมเจ้าของอำนาจจะวิจารณ์องค์กรที่ใช้อำนาจไม่ได้

เราจะเห็นประชาชนวิจารณ์.. วิจารณ์นักการเมืองสภารัฐบาลเช่นเดียวกันก็ต้องวิจารณ์ศาลได้แต่เราเข้าใจว่าศาลเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายอะไรบางอย่างที่ต้องปกป้องคุ้มครองศาลเช่นเดียวกันตรงนี้เราไม่ปฏิเสธเพียงแต่กฎหมายที่ใช้ปกป้องคุ้มกันนั้นจะทำอย่างไรให้สมดุลกับเสรีภาพของประชาชนในการวิพากษ์วิจารณ์ของศาล

อดีตอาจารย์สอนกฎหมายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปริญญาดอกเตอร์กล่าวต่อว่า  กฎหมายเรื่องการละเมิดอำนาจศาลบัญญัติไว้เพื่อใช้เวลาที่มีใครมาขัดขวางการพิจารณาของศาลปิดล้อมชุมนุมที่ศาลหรือเมื่อศาลมีคำสั่งแล้วไม่เคารพศาลก่อความไม่สงบวุ่นวายในศาลรวมไปถึงการติดสินบนต่างๆในศาลกฎหมายจึงมีลักษณะพิเศษที่ให้อำนาจศาลดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องผ่านตำรวจเพื่อต้องการความฉับไวเพื่อป้องกันไม่ให้ใครมาขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของศาล

อีกเรื่องคือเรื่องดูหมิ่นศาลคือดูหมิ่นตัวบุคคลเช่นตุลาการหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีหรือขัดขวางการพิจารณาคดีเรื่องนี้จะดำเนินการโดยการไปแจ้งความหรือตัวผู้เสียหายจะฟ้องศาลดำเนินคดีก็ได้

ซึ่งกรณีของศาลรัฐธรรมนูญวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในมาตรา38 วรรค3 เขียนว่าการวิจารณ์การวินิจฉัยหรือคำสั่งของศาลนั้นหากทำโดยสุจริตไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคายเสียดสีหรืออาฆาตมาดร้ายเหล่านี้ไม่ถือเป็นละเมิดอำนาจศาลซึ่งการจะละเมิดอำนาจศาลหรือไม่อย่างไรโดยธรรมชาติของการวิจารณ์คำวินิจฉัยไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาลอยู่แล้ว

แต่พอคุณไปเขียนกฎหมายแบบนี้แปลว่าคุณตีขอบเอาไว้แล้วว่าจะวิจารณ์อย่างไรถึงไม่เป็นการละเมิดอำนาจศาลถ้าวิจารณ์ออกนอกกรอบเรื่องความโดยสุจริตไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคายเสียดสีหรืออาฆาตมาดร้ายเหล่านี้ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลทันทีซึ่งตนเห็นว่าการเขียนกฎหมายแบบนี้ทำให้มีขอบเขตการใช้กฎหมายอำนาจละเมิดอำนาจศาลกว้างจนเกินไป

นายปิยบุตร  กล่าวอีกว่ากรณีวันนี้ที่นายโกวิทถูกเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญเรียกตัวไปตนก็นั่งสงสัยอยู่ว่าหนังสือเรียกตัวนายโกวิทนั้นสถานะทางกฎหมายคืออะไรสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจตามกฎหมายข้อไหนเรียกคนไปชี้แจงเราอยู่ในหลักนิติรัฐองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐจะมีอำนาจรัฐต้องมีกฎหมายให้อำนาจตำรวจเราไปก็ต้องมีหมายเรียก

กกต. ก็ปฏิบัติตามกฎหมายของกกต. ปัญหาคือเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญทำจดหมายเรียกนายโกวิทไปชี้แจงวันนี้อาศัยอำนาจตามกฎหมายอะไรตนดูกฎหมายฉบับนั้นก็ไม่เห็นอ้างกฎหมายอะไรเลย

ส่วนอีกคดีที่กำลังจะเปิดกระบวนการพิจารณาคดีในวันที่9 กันยายนคือกรณีของนางสฤณีอาชวนันทกุลนักวิชาการเป็นการดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งโดยใช้เรื่องละเมิดอำนาจศาลตาม.วิฯแพ่งแต่ใช้มาตรา32 ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องหนังสือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆในระหว่างที่การพิจารณาคดียังไม่จบแต่กรณีนางสฤณีเป็นวิจารณ์คำพิพากษาที่จบไปแล้วดังนั้นตนจึงอยากฝากว่าศาลเป็นองค์กรตุลาการเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยเคียงคู่ไปกับรัฐสภาและรัฐมนตรีทั้ง3 องค์กรนี้อยู่ในระนาบเดียวกันไม่มีใครใหญ่กว่าใครและเมื่อคุณใช้อำนาจอธิปไตยผ่านกระบวนการตุลาการก็จำเป็นที่จะต้องให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีโอกาสตรวจสอบซึ่งการตรวจสอบที่ดีที่สุดคือการวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันท่านต้องระวังเรื่องการใช้กรณีละเมิดอำนาจศาลมาดำเนินคดีเพราะต่อไปในอนาคตจะทำให้เข้าใจว่าศาลเป็นองค์กรที่แตะต้องไม่ได้เลยหรือเปล่า

วีคลี่นิวส์สอบถามประชาชนเจ้าของอธิปไตยว่าเห็นด้วยกับการกระทำของศาลรธน.หรือไม่  ประชาชนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เห็นด้วยเพราะการวิพากย์วิจารณ์เป็นเสียงสะท้อนของสังคมให้ผู้ใช้อำนาจควรตระหนักถึงสิ่งที่ทำลงไป

ไม่ใช่ทำตัวเหนืออำนาจใครแตะต้องไม่ได้เพราะคนคือคนไม่ใช่เทวดาจึงจะทำผิดให้เป็นถูกหรือถูกให้เป็นผิดโดยไม่แคร์เสียงของคนที่อยู่ร่วมกีนในสังคมหากไม่ต้องการเสียงวิจารณ์ก็ควรจะทำในสิ่งที่ถูกที่ควร