ผงะศาลยุติธรรมเบิกงบประมาณภาษีของปชช.ใช้ในการประชุมและเบี้ยประชุมปี61เป็นเงินถึง196 ล้าน ภาคปชช.วอนปปช.และองค์กรเอกชนเข้าตรวจสอบ

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 62  ที่หอประชุมใหญ่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ ร่วมอภิปรายในวาระแจ้งให้ทราบเรื่องรายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรมสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2561 โดยระบุว่า การเปิดให้ ส.ส.ได้อภิปรายเกี่ยวกับเรื่องศาลนั้น สะท้อนว่า เรายืนยันเรื่องหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ทั้ง 3 ฝ่ายไม่มีใครใหญ่กว่าใคร เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชน เราเพียงตรวจสอบถ่วงดุลกันและกัน การอภิปรายเป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบของ ส.ส.แม้ท้ายที่สุดเป็นวาระแจ้งเพื่อทราบ ไม่มีการลงมติ แต่อย่างน้อย คงเป็นประโยชน์ สำนักงานศาลยุติธรรม สตง.และสำนักงบประมาณ ซึ่งในการอภิปรายครั้งนี้จะอยู่ใน 2 ประเด็น คือ 1. ความเห็นของผู้สอบบัญชี และ 2.งบประมาณซึ่งเจาะจงงบการเงินส่วนการเงินที่เกี่ยวกับค่าใช้สอย
.
นายปิยบุตร​ กล่าวว่า ประเด็นที่ 1 ผู้สอบบัญชี คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ทำรายงานผู้สอบบัญชีเสนอต่อประธานศาลฎีกา เป็นความเห็นอย่างมีเงื่อนไข หมายความว่า รายงานการเงินศาลยุติธรรมถูกต้องตามมาตรฐาน เว้นแต่มีบางรายการที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนนี้จากการสุ่มตรวจพบว่ามีปัญหา 3 ข้อ 1. เกี่ยวกับรายการที่มียอดคงเหลือตามบัญชีต่ำกว่ารายละเอียด คือ เงินสดหายไปจากบัญชี 162 ล้านบาท 2.คุรุภัณฑ์ประเมินแล้วมูลค่าหายไป 40 ล้านบาท และ 3.เงินฝากศาลจังหวัดนนทบุรี 6 บัญชี มีการบันทึกไม่ตรงกับเช็คที่มีการสั่งจ่าย ซึ่งจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องบัญชี เห็นว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องทางบัญชีที่ค่อนข้างร้ายแรง เรื่องเหล่านี้หากเป็น บริษัท มหาชน ผู้ถือหุ้นอาจเรียกร้องความรับผิดชอบจากคณะกรรมการบริหารได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นองค์กรบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งกรณีนี้หัวหน้า คสช.ก็เคยใช้อำนาจตาม ม.44 ให้ยุติการทำหน้าที่มาแล้ว จึงอยากทราบว่า ระบบตรวจสอบการรับผิดชอบนี้ ทางสำนักงานศาลยุติธรรมมีการรับผิดชอบอย่างไรในเรื่องที่เกิดขึ้น
.
ประเด็นที่ 2 งบการเงินแสดงผลการเงินส่วนค่าใช้สอย ซึ่งจากการตรวจสอบมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากปี 2560 สูงถึง 330 ล้านบาท ขณะที่รายการอื่นไม่เพิ่มหรือเพิ่มเล็กน้อย ซึ่งพอไล่ดูทีละรายการค่าใช้สอยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการประชุม ซึ่งในปี 2560 อยู่ที่ 24 ล้านบาท ขณะที่ 2561 เพิ่มเป็น 196 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 172 ล้านบาท หมายความว่าค่าใช้จ่ายการประชุม คือ เบี้ยประชุมในการประชุมใหญ่ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ซึ่งมีการออกระเบียบเริ่มจ่ายตั้งแต่ตุลาคม 2560 ซึ่งจากการค้นไปอีกว่า เอาระเบียบอะไรมาจ่ายก็พบว่า เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560 ประธานศาลฎีกาในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม หรือ กบศ. ได้ลงนามในประกาศระเบียบว่าด้วยเรื่องเบี้ยประชุมในการประชุมใหญ่และการประชุมแผนกคดีในศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ซึ่งระเบียบฉบับนี้ องค์กรต่างๆ จะออกต้องมีกฎหมายให้อำนาจ ซึ่งก็อ้างถึง ม.17 (1) พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 เมื่อไปตรวจสอบก็เขียนว่า ให้ กบศ.มีอำนาจออกระเบียบ แต่เพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องเบี้ยประชุมในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและศาลอุทธรน์
.
“จากการตรวจสอบไปอีก พบว่าประธานศาลฎีกาท่านก่อนเคยมีเรื่องเข้าที่ประชุม กบศ. เมื่อ 11 กันยายน 2560 ว่า หากต้องการออกระเบียบเบี้ยประชุม ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ดังนั้น ท่านจึงไม่ยอมลงนาม แต่พอคนปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่ง กลับมีการออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมขึ้นมา อ้างถึง ม.17 (1) ซึ่งในภายหลัง ในช่วงต้นปีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ฉบับ 4 ปี 2562 มีเรื่องสำคัญคือมีการเพิ่ม ( 1/1) ใน ม.17เพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการ กบศ. ออกระเบียบกำหนดเบี้ยประชุมสำหรับข้าราชการตุลาการซึ่งเข้าร่วมประชุมใหญ่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ซึ่งเรื่องนี้มีนัยยะสำคัญ เพราะตอนใช้อำนาจตาม ม.17 (1) ออกระเบียบนั้นมีปัญหาทางกฎหมายหรือไม่ จึงเพิ่ม (1/1) ขึ้นมาตอนที่ สนช.ผ่านกฎหมายเรื่องนี้” นายปิยบุตร กล่าว
.
นายปิยบุตรกล่าวว่า ผ่านมา 1 ปี ค่าใช้จ่ายในการประชุมเพิ่ม 172 ล้าน ซึ่งตอนนี้มีกฎหมายรองรับแล้ว แต่ขอตั้งคำถาม เรื่องความเหมาะสม ซึ่งระเบียบที่ประชุมกำหนดเบี้ยประชุมให้ครอบคลุมที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและชั้นศาลอุทธรณ์ ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษ และศาลอุทธรณ์ภาค 1-9 ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของศาลรวมแล้ว 12 ที่ประชุมใหญ่ที่จะได้เบี้ยประชุมนี้ รวมแล้วผู้พิพากษา 1,101 คน โดยระดับประธานศาลจะได้ 10,000 บาท ผู้พิพากษา​ที่เป็นองค์ประชุมได้ 8,000 ผู้พิพากษาที่เข้าร่วมประชุมขั้น 4 ได้ 8,000 บาท ผู้พิพากษา​ที่​เข้า​ร่วม​ประชุม​ชั้น 3 ได้ 6,000 บาท
ทั้งหมดนี้ สำนักงบประมาณทำตัวเลขประมาณการไว้ใช้จ่าย ราว 207 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 17.2 ล้านบาทต่อเดือน ประเด็นดังกล่าวนี้ ถือว่ามีปัญหาเรื่องความเหมาะสม ตรงที่ผู้พิพากษาแต่ละท่านมีเงินประจำตำแหน่ง มีรถประจำตำแหน่ง มีบ้านพัก เดือนๆหนึ่งคิดเป็นจำนวนเงินแสนกว่าบาท แต่ในการมาปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ยังได้เบี้ยประชุมอีก ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันระหว่างข้าราชการ ทั้งๆที่ข้าราชการฝ่ายนิติบัญญัติ​ บริหาร ตุลาการควรมีศักดิ์และศรีเท่าเทียมกัน
.
“ผมไม่ต้องการเรียกร้องว่าเราต้องได้เบี้ยประชุม ไม่ได้ต้องการเรียกร้องให้ ส.ส.ได้เบี้ยประชุมเหมือนศาล แต่ผมเรียกร้องว่าถ้าเป็นไปได้ในอนาคต ขอให้ยกเลิกเบี้ยประชุมเสียดีกว่า ผมขออนุญาตสรุปแบบนี้ พวกเราปกครองในระบอบ​ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์​ทรง​เป็น​ประมุข​ ทุกวันนี้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติถูกตรวจสอบอย่างหนักเต็มที่ แต่ระบบการตรวจสอบองค์กรตุลาการนั้นไม่เข้มข้นเท่ากับพวกเรา การประกันความเป็นอิสระของศาลไม่ได้แปลว่าศาลจะต้องรอดพ้นจากการตรวจสอบได้ ผมเรียนว่าในต่างประเทศผู้แทนราษฎรของเขามีผู้ตรวจการที่เอาไว้ตรวจสอบการใช้อำนาจของกองทัพบ้าง ศาลบ้าง แต่ของประเทศไทยวันนี้ เราถูกลิดรอนอำนาจตรงนี้ไป ผมเรียกร้องว่า จะเป็นไปได้ไหมที่ กบศ. จะยกเลิกระเบียบเบี้ยประชุมนี้ ซึ่งจะเป็นพระคุณอย่างมากต่อแผ่นดินไทย ที่จะได้ช่วยประหยัดงบประมาณลงไปได้ถึง 207 ล้านบาท” นายปิยบุตรกล่าว

ทางด้านความคิดเห็นของปชช. วีคลี่นิวส์ได้สอบถามพบว่าปชช.ส่วนใหญ่ต่างพากันเรียกร้องให้ปปช.และองค์กรเอกชน ช่วยกันตรวจสอบการใช้งบประมาณของศาลยุติธรรม ที่นำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมตกถึงเดือนละ17.5 ล้านบาท รวมกว่า196ล้านบาทได้อย่างไร

ขณะเดียวกันขอให้ช่วยตรวจสอบการจัดฃื้อเครื่องบอดี้สแกนประจำศาลทุกแห่งและทุกชั้น อย่างที่พบเจอที่ศาลล้มละลาย

รวมทั้งรถหุ้มเกราะ ที่มีการตั้งงบประมาณฃื้อถึง16คันด้วย

ผู้อาวุโสรายหนึ่งบอกว่าดีใจเป็นอย่างยิ่งที่มีพรรคการเมืองได้ตรวจสอบองค์กรนี้ เพื่อให้ได้ความโปร่งใสในการนำเงินภาษีของปชช.ไปใช้โดยไม่เหมาะสม

ปิยบุตร : อภิปรายงบการเงินศาลยุติธรรม ประชุมสภาฯ 26 มิ.ย. 62

[ พบค่าใช้จ่ายประชุมเพิ่ม 172 ล้านบาท ออกระเบียบ "เบี้ยประชุม" ผู้พิพากษา จี้ถามความเหมาะสม ! ]"ทุกวันนี้ฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารถูกตุลาการตรวจสอบอย่างเต็มที่ แต่ตุลาการไม่มีระบบตรวจสอบใด ๆ เลย ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรอิสระ แถมยังมีอำนาจปกป้องศาลจากการดูหมิ่นด้วย เสนอระบบการตรวจสอบถ่วงดุลศาล เข้าใจว่าต้องมีอิสระในการตัดสิน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะรอดจากการตัดสินทุกรูปแบบ แล้วใครจะเป็นผู้ตรวจสอบ? ต่างประเทศมีระบบถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน เรียกว่า OMBUDSMAN ผู้ตรวจการ เพื่อตรวจสอบกองทัพก็ดี ศาลก็ดีฝากไปถึงคณะกรรมาธิการศาลยุติธรรมนะครับ ว่าช่วยยกเลิกการให้เบี้ยประชุมในที่ประชุมใหญ๋ศาลฎีการและศาลชั้นอุทธรณ์ ถ้ายกเลิกได้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งต่อแผ่นดินนี้ ที่เราจะได้ประหยัดงบประมาณไปถึง 207 ล้านบาทต่อปี และเกิดความเสมอภาคระหว่างทุกส่วนราชการครับ ขอบคุณครับ"ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการ #พรรคอนาคตใหม่ กล่าว ระหว่างการอภิปรายเรื่องงบการเงินศาลยุติธรรม จากรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำนักงานศาลยุติธรรมสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2561 —-ปิยบุตร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ยืนยันเรื่องหลักการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ว่าทั้ง 3 ฝ่ายไม่มีใครใหญ่กว่าใคร เป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนทั้งสิ้น เราเพียงตรวจสอบถ่วงดุลกันและกัน ประเด็นที่ 1 ผู้สอบบัญชี คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ทำรายงานผู้สอบบัญชีเสนอต่อประธานศาลฎีกา เป็นความเห็นอย่างมีเงื่อนไข หมายความว่า รายงานการเงินศาลยุติธรรมถูกต้องตามมาตรฐาน เว้นแต่มีบางรายการที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่วนนี้จากการสุ่มตรวจพบว่ามีปัญหา 3 ข้อ 1. เกี่ยวกับรายการที่มียอดคงเหลือตามบัญชีต่ำกว่ารายละเอียด คือ เงินสดหายไปจากบัญชี 162 ล้านบาท 2.คุรุภัณฑ์ประเมินแล้วมูลค่าหายไป 40 ล้านบาท 3.เงินฝากศาลจังหวัดนนทบุรี 6 บัญชี มีการบันทึกไม่ตรงกับเช็คที่มีการสั่งจ่าย ซึ่งจากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องบัญชี เห็นว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องทางบัญชีที่ค่อนข้างร้ายแรง เรื่องเหล่านี้หากเป็น บริษัทมหาชน ผู้ถือหุ้นอาจเรียกร้องความรับผิดชอบจากคณะกรรมการบริหารได้ เช่นเดียวกัน ถ้าเป็นองค์กรบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือส่วนราชการเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งกรณีนี้หัวหน้า คสช. ก็เคยใช้อำนาจตาม ม.44 ให้ยุติการทำหน้าที่มาแล้ว จึงอยากทราบว่า ระบบตรวจสอบการรับผิดชอบนี้ ทางสำนักงานศาลยุติธรรมมีการรับผิดชอบอย่างไรในเรื่องที่เกิดขึ้นประเด็นที่ 2 งบการเงินแสดงผลการเงินส่วนค่าใช้สอย เพิ่มจากปี 2560 สูงถึง 330 ล้านบาท ขณะที่รายการอื่นไม่เพิ่มหรือเพิ่มเล็กน้อย พอไล่ดูทีละรายการค่าใช้สอยที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการประชุม ซึ่งในปี 2560 อยู่ที่ 24 ล้านบาท ขณะที่ 2561 เพิ่มเป็น 196 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 172 ล้านบาท หมายความว่าค่าใช้จ่ายการประชุม คือ เบี้ยประชุมในการประชุมใหญ่ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ ผ่านมา 1 ปี ค่าใช้จ่ายในการประชุมเพิ่ม 172 ล้าน ตอนนี้มีกฎหมายรองรับแล้ว แต่ของตั้งคำถาม เรื่องความเหมาะสม ซึ่งระเบียบที่ประชุมกำหนดเบี้ยประชุมให้ครอบคลุมที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและชั้นศาลอุทธรณ์ ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษ และศาลอุทธรณ์ภาค 1-9 ซึ่งที่ประชุมใหญ่ของศาลรวมแล้ว 12 ที่ประชุมใหญ่ที่จะได้เบี้ยประชุมนี้ รวมแล้วผู้พิพากษา 1,101 คน โดยระดับประธานศาลจะได้ 10,000 บาท ผู้พิพากษาที่เป็นองค์ประชุมได้ 8,000 ผู้พิพากษาที่เข้าร่วมประชุมขั้น 4 ได้ 8,000 บาท ผู้พิพากษาที่เข้าร่วมประชุมชั้น 3 ได้ 6,000 บาท ทั้งหมดนี้สำนักงบประมาณทำตัวเลขประมาณการไว้ใช้จ่าย ราว 207 ล้านบาทต่อปี คิดเป็น 17.2 ล้านบาทต่อเดือน ประเด็นดังกล่าวนี้ถือว่ามีปัญหาเรื่องความเหมาะสม ตรงที่ผู้พิพากษาแต่ละท่านมีเงินประจำตำแหน่ง มีรถประจำตำแหน่ง มีบ้านพัก เดือนๆ หนึ่งคิดเป็นจำนวนเงินแสนกว่าบาท แต่ในการมาปฏิบัติหน้าที่ของท่าน ยังได้เบี้ยประชุมอีก ปิยบุตรเห็นว่าทั้งหมดนี้น่าจะเพียงพอแล้ว ไม่ต้องมีเบี้ยประชุมอีก จึงขอเรียนถามไปถึงเลขาธิการศาลยุติธรรมว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะพิจารณาต่อไปช่วยยกเลิกระเบียบการกำหนดเบี้ยประชุมศาลฎีกาและศาลชั้นอุทธรณ์ #อนาคตใหม่ #ปิยบุตร #ประชุมสภา #ศาลยุติธรรม #งบการเงิน

Posted by Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล on Wednesday, June 26, 2019