เชิญประธานศาลฎีกา นักกฎหมาย ฯลฯ เปิดคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งสกลนครตัดสิทธิผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง กรณีเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ เป็นกรณีศึกษา เอาความจริงหรือตัวหนังสือ

เมื่อวานนี้สำนักข่าวอิศราได้เผยแพร่คำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งต่อการตัดสิทธิถอดถอนชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งพรรคอนาคตใหม่ที่สกลนคร ว่า สำนักข่าวอิศรา ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์ ศาลฎีกา พบว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2562 ศาลฏีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ณ จ.สกลนคร ได้เผยแพร่รายละเอียดคำพิพากษาคดี นายภูเบศวร์ เห็นหลอด ผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ เขต 2 จ.สกลนคร ไว้โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คดีนี้มีผู้ร้องคือ ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร

ผู้คัดค้านคือ นายภูเบศวร์ เห็นหลอด

โดยผู้คัดค้านได้ค้านในเรื่องพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรฯ ( ขอให้ถอนชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขต )

ซึ่งผู้ร้องยื่นคําร้องว่า ผู้ร้องประกาศรายชื่อ ผู้คัดค้านเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือก ตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร พรรคอนาคตใหม่

ต่อมาผู้ร้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้คัดค้านแล้วพบว่า ผู้คัดค้านขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับ เลือกตั้งหรือเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ . ศ . 2561

เนื่องจากผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของ ห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ซึ่งมี วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการสถานี วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และออกหนังสือพิมพ์

ผู้คัดค้านจึงเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการ หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ  ขอให้ถอนชื่อผู้คัดค้านออกจากประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร พรรคอนาคต ใหม่

สำหรับในส่วนของผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านว่า ห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ประกอบกิจการการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย ที่ระบุในวัตถุประสงค์ข้อที่ 43 ว่า ประกอบ กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ รับจัดทําสื่อโฆษณา สปอร์ตโฆษณา เผยแพร่ข้อมูล เป็น เพียงแบบวัตถุประสงค์สําเร็จรูปแนบคําขอจดทะเบียน เท่านั้น

อีกทั้งหจก.ฯ ดังกล่าวได้สิ้นสภาพนิติบุคคลไปตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2562 แล้ว จึงขอให้ยกคําร้อง

ต่อมาศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้ตรวจพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่เสนอต่อศาล แล้ว เห็นว่าคดีไม่จําเป็นต้องไต่สวนพยานหลักฐาน จึงให้งดการไต่สวน

จากนั้น ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งตรวจสํานวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความ ไม่ได้โต้แย้งกันรับฟังเป็นยุติว่า ผู้ร้องประกาศรายชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร พรรคอนาคตใหม่

โ ดยที่ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และออกหนังสือพิมพ์

ต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 ผู้คัดค้านจดทะเบียนเลิก ห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่

เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 98 บัญญัติว่า “ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

… . ( 3 ) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ … ”

และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ . ศ . 2561 มาตรา 42 บัญญัติเช่นเดียวกันว่า “ บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

… ( 3 ) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการ หนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ … ” ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ มิได้

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้คัดค้านเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการ ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ และออกหนังสือพิมพ์ ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 98 ( 3 )

และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ. ศ . 2561 มาตรา 42 ( 3 )

ผู้ร้องอ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวแต่ไม่ได้ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียง และโทรทัศน์ และออกหนังสือพิมพ์ จึงฟังไม่ขึ้น

แม้ต่อมาวันที่ 6 มีนาคม 2562 ผู้คัดค้านจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจํากัด มาร์ส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิสแล้ว แต่เป็นระยะเวลาหลังจาก ผู้คัดค้านยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว จึงต้องถือว่า ในวันที่ผู้คัดค้านยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้คัดค้านยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้น ในกิจการหนังสือพิมพ์หรือ สื่อมวลชน

ผู้คัดค้านจึงเป็นบุคคลอันมีลักษณะ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามบทบัญญัติดังกล่าวและไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คําร้องของผู้ร้องฟังขึ้น

จึงมีคําสั่งให้ถอนชื่อ นายภูเบศวร์ เห็นหลอด ผู้คัดค้าน ออกจากประกาศรายชื่อ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดสกลนคร ของพรรคอนาคตใหม่

(สามารถดาวน์โหลดคำพิพากษาต้นฉบับได้ที่ http://www.supremecourt.or.th/file/election_18032019/1706-62.pdf)

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วีคลี่นิวส์ ออนไลน์ ได้สอบถามความเห็นจากราษฎรอาวุโส ผู้หนึ่ง ให้ความเห็นว่า 

อยากเรียนเชิญ ประธานศาลฎีกา  ผู้พิพากษา  นักกฎหมาย  นักธุรกิจ  ประชาชนทั่วไป อ่านคำสั่งในคดีนี้ 

เป็นกรณีศึกษา การขาดคุณสมบัติของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ว่าด้วย เป็นเจ้าของหรือหุ้นในสื่อ 

ประเด็นที่ต้องศึกษาคือ  การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนี้มี”วัตถุประสงค์”ตามแบบมาตรฐานที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หน่วยราชการที่ทำหน้าที่รับจดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน อำนวยความสะดวกเตรียมไว้ให้ผู้ขอจดทะเบียนได้หยิบใช้อย่างสะดวกนั้น เป็นการดำเนินกิจการทั้งหมดในคราวเดียวกันหรือไม่หรือแยกเฉพาะเพียงวัตถุประสงค์เดียวที่ระบุภายหลังว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ขอจดทะเบียนนั้นประกอบกิจการที่แท้จริงตามวัตถุประสงค์ข้อไหน 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และ  กรมสรรพากร จะยึดจากการที่บริษัทแจ้งจดประเภทตามวัตถุประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งเป็นตัวบันทึกว่าบริษัทนั้นดำเนินธุรกิจนั้นใช่หรือไม่

กรณีนี้คือ ห้างหุ้นส่วนนี้ดำเนินธุรกิจก่อสร้าง หรือ ดำเนินธุรกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือดำเนินธุรกิจตามที่จดวัตถุประสงค์ไว้ทั้งหมด 

เสียดายที่ศาลในคดีนี้ ไม่เปิดโอกาสให้มีการ”ไต่สวน” จึงไม่มีคำให้การของหน่วยงานรัฐทั้งสองมาให้คำตอบว่า ห้างหุ้นส่วนนี้ประกอบธุรกิจตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดที่มีวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งในเรื่องของการทำธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ระบุในวัตถุประสงค์นั้นด้วย หรือ ประกอบธุรกิจเพียงแค่ การก่อสร้าง ที่ห้างหุ้นส่วนนั้นแจ้งระบุไว้ ต่อหน่วยงานรัฐทั้งสองแห่ง ใดกันแน่ 

กรณีศึกษาที่สองคือ  คำว่า “เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ “ ต่อกรณีว่า “ ความจริงเป็นเพียงแค่ข้อความที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์จดแจ้งกับความจริงที่ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อ” ต่อกรณีว่า การประกอบกิจการของห้างหุ้นส่วนนี้จริงคือ ก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย นั้น 

อย่างใดคือการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนนี้ จะยึดความจริงหรือยึดตัวหนังสือ เป็นหลักในการพิจารณา 

คดีนี้ศาลที่ตัดสินคดีได้ยึดตัวหนังสือในการจดวัตถุประสงค์ข้อ43 ของห้างหุ้นส่วนนี้เป็นหลักในการตัดสิน ว่า “ประกอบ กิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ รับจัดทําสื่อโฆษณา สปอร์ตโฆษณา เผยแพร่ข้อมูล “ 

โดยไม่จำต้องมีการ”ไต่สวน “ และคำคัดค้านของผู้ลงสมัครฃึ่งเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วนนี้ ก็”ฟังไม่ขึ้น” จึงมีคำสั่งให้ถอดถอนชื่อออกจากการลงสมัครรับเลือกตั้ง 

แต่ผลของคำสั่งนี้จะเป็นบรรทัดฐานในคดีนี้ต่อไปในภายภาคหน้า ฃึ่งควรที่จะได้เป็นกรณีศึกษาว่า ผลของคำสั่งนี้เป็นที่ยอมรับ ยอมเข้าใจ หรือมีข้อที่ควรพิจารณา