จิตของเราเปรียบอุปมาเหมือนเด็กอ่อน อ่อนแออยู่

เพราะเหตุนั้นแลสติเปรียบเหมือนพี่เลี้ยง ก็เจ้าของนั่นแหละจิต นั่นแหละพอมันระลึกขึ้นก็แม่นสติแล้ว

สตินั้นอบรมจิต
ครั้นอบรมจนมันรู้เท่าตามความเป็นจริงแล้ว มันจึงหายความหลงความสว่าง ความหลงความสว่างนั่นก็หลงเพราะไม่มีสติ
ครั้นมีสติคุ้มครอง หัดทำให้มันแน่วแน่ ให้มันแม่นยำ ให้มันสำเนียกแล้ว มันจะรู้แจ้งทุกสิ่งอย่าง

สติเป็นเครื่องตี คือตีสนิมของมัน เปรียบดวงจิต เรียกว่าความหลงเรียกว่าอวิชชา จิตมันหลง
ขึ้สนิมมันก็อยู่กับอวิชชา มันหลงนั่นแหละ ขี้สนิมโอบมัน

แต่ก่อนจิตผ่องใส พระพุทธเจ้าจึงว่า ปภัสสรมิทัง ภิกขุเว จิตตัง ตัญจโข อาคันตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปักกิลิฏฐัง
จิตเดิมธรรมชาติเลื่อมประภัสสร แต่อาศัยอาคันตุกะกิเลสคือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสทั้งหลาย เข้ามาสัมผัสแล้วมันหลงไปตาม จึงเป็นเหตุให้จิตนั้นเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่รู้เท่าอวิชชา
ความโง่เรียกอวิชชา

เหมือนกันกับเหล็ก เหล็กนั้นมันก็ดี ๆ อยู่นั้นแหละ แต่สนิมมันเกิดขึ้นในเหล็กนั่นแหละ
แต่เขาตีขัดเกลาจนเป็นดาบคมได้ ใช้การได้
ถ้าไม่ตีมันก็อยู่ยังงั้น สนิมกินเสียจนใช้ไม่ได้

จิตของเราก็ดี อาศัยสติเป็นเครื่องขัดเกลา อาศัยสติเป็นผู้คุ้มครอง

จากหนังสือ อนาลโยวาท หลวงปู่ขาว อนาลโย หน้าที่ ๑๘๒

สวนพนาสนธิ์ ๓/ศูนย์สัมมนาป่าพนาสนธิ์-แบ่งปัน
๖๑.๐๖.๒๘