เรียนรู้หมายค้นแบบจู่โจมกับกฎการใช้กำลัง  อิง ก.ม ไทย

เป็นที่วิจารณ์กันมากต่อกรณีการบุกจับตามหมาย ของกิงปราบหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมากระทำการเกิดเหตุ เกินเลยของก.ม หรือไม่

นาย ธีรรัฐ บุนนาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทรัพย์สินฯ ได้โพสเฟฃบุ๊คที่ไม่เกี่ยวกับคดีที่กำลังเป็นอยู่ ถึงการบุกจับตามหมายของศาล ว่า

“แหมม.. ตำรวจจะเข้ามาค้นมาจับ ผมไม่ว่า.. แต่ทำไมต้องถีบประตู ถีบหน้าต่างด้วย..
ผมผิด..ผมยอมรับ.. แต่ตำรวจเข้าค้นโดย พังทำลายทรัพย์สินผมเสียหาย.. กระจกแตกหมด..ตำรวจต้องรับผิดชอบมั้ยครับท่าน..”

ผู้ต้องขังคนหนึ่งโอดครวญขึ้น.. หลังจากได้ฟังคำพิพากษาที่ศาลอ่านจนจบ

คำถามของเขา ยังดังแว่วอยู่ในหัวผม แม้เวลาจะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว

.. ตอนนั้น ผมช่วยราชการอยู่ที่ศาลอาญาธนบุรี.. มีคดียาเสพติดที่ตำรวจเข้าจับกุม ผู้กระทำผิดข้อหามีเมทแอมเฟตตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย..

ตำรวจมาขอหมายค้นจากศาลก่อน.. แล้วเข้าไปค้นบ้านจำเลยแบบ.. พัง (ประตู) ก่อนพูด..

ผลการค้นคือ พบยาเสพติดภายในบ้าน.. จำเลยรับสารภาพ
แต่ก็บ่นว่า ตำรวจทำรุนแรงเกินไป..

ทำแบบนี้.. ตำรวจมีสิทธิทำได้มั้ย..เพราะเป็นการค้นโดยศาลออกหมายค้นให้..

ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลเขาออกหมายค้นได้ 2 แบบ คือ..

1. หมายค้น (warrant) แบบปกติทั่วไป ซึ่งตำรวจจะต้องแสดงตน.. กดกริ่ง.. หรือเคาะประตู ก่อนเข้าตรวจค้น..เพื่อให้โอกาส เจ้าของบ้านได้ทราบ จะได้ไม่สำคัญผิดว่าตำรวจเป็นคนร้าย

2. หมายค้นแบบจู่โจม (no-knock warrant) เป็นหมายค้นที่ตำรวจ ไม่ต้องเรียกให้เปิดประตูก่อน.. สามารถใช้กำลังพังประตูเข้าไปได้เลย..

หมายค้นแบบนี้ ศาลมักออกให้กับตำรวจหน่วยปฎิบัติการพิเศษ.. คอมมานโด.. หรือหน่วยจู่โจม..

แต่การขอหมายค้นแบบนี้ศาลจะออกให้ก็ต่อเมื่อ #ตำรวจแสดงหลักฐานให้ศาลเชื่อว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเข้าค้นโดยฉับพลัน

#เพื่อป้องกันการทำลายหลักฐานหรือป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตำรวจเท่านั้น

หมายค้นแบบจู่โจมนี้ บางมลรัฐกำหนดให้ศาลออกได้.. บางมลรัฐไม่มีกฎหมายให้ศาลออก แต่มีในทางปฎิบัติ ..

แต่บางมลรัฐกลับมีกฎหมายห้ามมิให้ศาลออก..เพราะมีหลายกรณีที่ ตำรวจจู่โจมแล้ว คนบริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บ หรือตาย..
เช่น ปาระเบิดเสียงเข้าไปโดนเด็กทารกในบ้าน.ทำให้เกิดบาดเจ็บจากความร้อนของระเบิด

บางทีเจ้าของบ้าน ก็ไม่ทราบว่า คนที่พังประตูเข้ามานั้นเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ .. คิดว่าโจรจึงยิงต่อสู้..ผลคือ เจ้าของบ้านไม่ตาย.. ตำรวจก็ตาย..

สำหรับประเทศไทยเรา ไม่มีการออกหมายค้นแบบจู่โจมนะครับ.. มีแค่หมายค้นแบบตามปกติ

การออกหมายค้นนั้น.. ตำรวจจะมายื่นคำร้องขอศาลออกหมายค้น พร้อมแสดงหลักฐานที่น่าเชื่อว่ามีเหตุสมควรออกหมายค้น..
ถ้าศาลไม่เชื่อ ท่านก็ยกคำร้อง..
แต่ถ้าศาลเชื่อ.. ท่านก็จะออกหมายค้นให้..

ส่วนวิธีการเข้าค้น จะเลือกใช้หน่วยไหน.. จะต้องใช้กำลังจู่โจมมั้ย..ต้องพังประตูหน้าต่างหรือไม่ ..จึงเป็นดุลพินิจโดยแท้ของตำรวจที่ต้องรับผิดชอบเอง..

เมื่อกฎหมายไทยไม่รองรับให้ศาลออกหมายค้นแบบจู่โจมได้.. แต่ก็ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลออกหมายค้นแบบจู่โจม เมื่อเขามาขอ..

จึงมีปัญหาน่าคิดว่า.. ถ้าศาลออกหมายค้นตามปกติให้ .. แต่ตำรวจไปค้นแบบจู่โจม โดยไม่ตะโกนบอกกล่าวเจ้าของบ้านเขาก่อน..ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา ..
เช่น ข้าวของเขาเสียหาย.. หรือมีคนบาดเจ็บล้มตาย..

ตำรวจไม่ต้องรับผิดชอบเลยเพราะอ้างได้ว่า ศาลออกหมายค้นให้แล้ว..
หรือว่าตำรวจต้องรับผิด ถ้าทำไปโดยไม่มีเหตุจำเป็นเพราะศาลไม่ได้อนุญาตให้ทำลายทรัพย์สินเขาได้..

ที่กล่าวมาให้คิดนี่.. เฉพาะแต่กรณีที่ตำรวจกระทำการโดยสุจริตนะครับ..

หากกระทำโดยไม่สุจริต..ค้นโดยใช้กำลังเกินสมควร.. โดยไม่จำเป็น.. หรือโดยกลั่นแกล้งให้เขาอับอายเสียหาย.. แม้จะมีเจตนาดี… ก็ผิด

เช่น จับกุมเขาแล้ว ก็ใส่กุญแจมือ เลือกที่จะพาเขาเดินผ่านตลาดเพื่อให้คนดูเยอะๆ.. นัยว่า ต้องการปรามไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง..

แบบนี้ ไม่ว่าจะมีหมายค้นแบบไหน.. และแม้ว่าการค้นนั้นจะชอบด้วยขั้นตอนก็ตาม..

แต่ถ้ามีการกระทำบางอย่างที่ส่อเจตนาไม่สุจริต.. ก็อาจก่อให้เกิดความรับผิดได้

ส่วนเรื่องกฎการใช้กำลัง (Rules of Engagement) หรือ RoE นั้น..เป็นเรื่อง การตัดสินใจใช้กำลัง หรือใช้อาวุธในกรณีที่เหมาะสม..
นำมาใช้ ได้ทั้งในเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐภายในประเทศและใช้ในเรื่องระหว่างประเทศ..

เช่น ตำรวจ จะเข้าตรวจค้น หรือจะจับกุมบุคคลใด.. ควรใช้กำลังและอาวุธ.. หรือไม่ ต้องคำนึงสถานการณ์ในขณะนั้น ว่าเกิดภัยขึ้นหรือไม่.. อันตรายมากน้อยเพียงใด ที่ต้องใช้กำลัง.. หรืออาวุธ .. และควรใช้เพียงใด.. จึงจะเหมาะสม

หากฝ่าฝืนกฎ ROE ..คือตัดสินใจผิดพลาด ใช้กำลัง หรืออาวุธ ในสถานการณ์ที่ยังไม่ควรใช้… เจ้าหน้าที่นั้น ก็อาจมีความผิด ทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย..

การปฎิบัติหน้าที่ของทหาร และการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจ จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำเรื่อง RoE มาประกอบการพิจารณาด้วย..

ดังนั้น แม้ตำรวจจะมีสิทธิค้นเพราะมีหมายค้น.. แม้จะมีสิทธิจับเพราะศาลออกหมายจับให้แล้ว..

แต่วิธีการค้น.. และวิธีการจับที่เหมาะสม และจะไม่เป็นความผิดทางอาญาและทางวินัยนั้น.. วิธีดำเนินการ จะต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมาย รวมทั้งแนวปฎิบัติ (directive) ในเรื่องกฎการใช้กำลังของหน่วยงานนั้นๆด้วย

เรื่อง RoE นี้.. ถ้าอยากเห็นตัวอย่างที่ชัดเจน.. ลองดูในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 83 วรรคสาม เรื่องการจับ นะครับ

RoE นี้ เป็นวิชาสำคัญมากวิชาหนึ่งของนายทหารพระธรรมนูญของกองทัพสหรัฐอเมริกาที่ต้องเรียน..

ผู้เขียนเคยไปเรียนหลักสูตรหนึ่งของกองทัพบกสหรัฐฯ.. แม้เขาจะอนุญาตให้เข้าถึงชั้นความลับระดับสูง (G 7-8) ได้.. แต่เขาก็ยังไม่ยอมให้เราเข้าเรียนวิชานี้.. ทำนองว่า เป็นความลับ ที่ไม่ต้องการให้ต่างชาติรับรู้..

พอเห็นเพื่อนๆนายทหารชาวอเมริกันที่ได้เข้าไปเรียนเดินออกมาจากห้อง.. ผู้เขียนรีบปรี่เข้าไปเลียบเคียงพูดคุย..

ไม่ได้อยากรู้ความลับของใครหรอก.. เพราะไม่มีประโยชน์อะไรกับเรา ..แต่ด้วยความอยากรู้เชิงวิชาการว่า RoE มันจะเกี่ยวกับการปฎิบัติการทางทหารของเขาในต่างแดนอย่างไร..

ถามไปได้ 2-3 คน..

คำตอบที่ได้ ..ก็เหมือนๆกัน คือ..

“เฮ้ย.. ไอว่านะ..ที่ยูไม่เข้าไปเรียนอ่ะดีแล้ว.. เพราะอะไรรู้มั้ย.. ก็เพราะขนาดไอ เป็นคนอเมริกันแท้ๆ.. ยังฟังแล้วไม่รู้เรื่องเล้ย.. น่าเบื่อชะมัด..
ไอนี่ ง่วงนอนฉิบเป๋ง..
.. RoE .Roแอ.. อะไรของมันฟะ..”

555

ปล. โพสต์นี้ ให้ความรู้เรื่อง หมายค้นแบบจู่โจมที่ไม่มีในกฎหมายไทย และเรื่องกฎการใช้กำลัง ที่ชาวบ้านทั่วไปไม่เคยเรียน..
ไม่เกี่ยวข้องกับคดีความใดๆนะครับ