นายกรัฐมนตรีออกมาตัดพ้อว่าเงินเดือนนายกฯในไทยน้อยกว่านายกฯในแถบอาเฃียน เมื่อเทียบกับเงินเดือนอาชีพผู้พิพากษา อาชีพที่ดำรงไว้ฃึ่งความเป็นธรรมให้กับปชช.ก็ดูจะไม่แตกต่างกัน

ยอดรับแสนหกต่อเดือนเกือบเท่าเงินเดือนนายกรัฐมนตรี

เงินจำนวนนี้ไม่ได้มากเลย หากตั้งใจทำงานเพื่อให้ความเป็นธรรมกับปชช.
การแจกจ่ายเป็นค่ารถประจำตำแหน่ง เงินประจำตำแหน่ง ค่าครองชีพชั่วคราว มันแยกย่อยจนทำให้สงสัยว่า เงินค่ารถประจำตำแหน่ง ทั้งที่อนุญาตให้นั่งทำงานที่บ้านได้นั้น เป็นการใช้ก.มภาษีให้ถูกต้องหรือไม่

เมื่อเห็นการหักภาษีณที่จ่าย เดือนละ10000 บาทมันก็น่าจะสูงเอาการ

สรุปคือ รายได้ต่อเดือนนี้ไม่มาก ถ้าจะเทียบกับความรับผิดชอบงานที่ได้รับ แต่ความจริงใช่หรือ

การตัดสินคดีความ เป็นความรับผิดชอบใหญ่หลวง ตัดสินผิดก็ลงนรกไปทุกวันๆๆๆ ถูกสาปแช่งทุกวันๆตัดสินถูกก็ขึ้นสวรรค์คนเจริญพร

ไม่นับที่มีหน้าม้าทำให้เสียชื่อเสียง เรียกร้องเงินค่าสั่งคดี
เงินแค่นี้หากทำหน้าที่ได้เต็มภาคภูมิของชีวิตและวงศ์ตระกูล จึงไม่มาก

แต่ระดับสูงไปถึงชั้นฎีกา เงินคงมากกว่านี้ เยอะ แต่กลับทำงานน้อย เพราะพยายามอย่างยิ่งที่จะลดงานศาลฎีกาลง ด้วยการออกก.มมาริดรอนสิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมของปชช .
1. คดีสิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์
2. คดีต้องขออนุญาตฎีกา
3. คดีไม่มีสาระ

เหล่านี้คือการทำให้ระบบยุติธรรมของปชช.ตามที่
รธน.กำหนดอำนาจตุลาการมี 3 ชั้นศาล แต่ถูกริดรอนสิทธิเหลือเพียง 2 ชั้นศาล ถูกกั้นสิทธิต้องถูกพิจารณาก่อนคดีสู่ศาลฎีกา

เพื่ออะไร เพื่อศาลฎีกาจะได้ทำงานน้อยๆ นั่งเขียนหนังสือก.ม และออกปชส.หนังสือด้วยการเป็นคนสอนก.มตามมหาลัย หรือ ไปต่างปท. ดูงาน เป็นว่าเล่น

แถมออกก.ม มาอีกว่า ห้ามถวายฎีกาต่อในหลวง

ดูคดียู่ยี่เป็นตัวอย่าง จากที่โฆษกศาลแถลง ว่า “ศาลฎีกาไม่รับฎีกา” ทำให้ยู่ยี่ต้องติดคุกทันทีถึง15 ปี ทั้งที่หากคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาอาจเปลื่ยนแปลงคำตัดสินจากประสบการณ์ที่มากกว่าศาลอุทธรณ์ก็เป็นได้

ดังนั้นรายรับที่ได้ต่อการทำหน้าที่จึงทำให้ปชช.มองว่าเป็นรายรับที่ไม่คุ้มค่ากับการที่ปชช.ต้องจ่ายไป แล้ว
การใช้อภิสิทธิ์ในการต่างๆสอดคล้องกับการตัดสินคดีที่ใช้ดุลยพินิจแตกต่างกันในทางคดี

ทำให้เกิดความเสื่อมในองค์กรตลอดมา
ถึงเวลาที่ศาลยุติธรรมจะต้องปัดกวาดบ้านเพื่อเรียกความศรัทธาของปชช.กลับคืนมา

บ้านป่าแหว่งจึงสะท้อนถึงความรู้สึกของปชช.ทั้งปทได้เป็นอย่างดี

 

พัชรินทร์