ศาลแจงยู่ยี่ติดคุกเพราะศาลฎีกา”ไม่รับฎีกา” ปชช.อาวุโสข้องใจสภาฝักถั่วยกมือออกก.ม ให้ศาลใช้ทำลายความยุติธรรมของปชช.ที่พึ่งได้รับตามที่รธน.กำหนดได้อย่างไร
โฆษกศาลยุติธรรมชี้แจงทำไมให้ประกันตัวลูก “วรกร จาติกวณิช” ข้อหามียาเสพติดโคเคน เพียง 15000บาท
นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล โฆษกศาลยุติธรรม ตอบคำถามสังคมที่ข้องใจเรื่องการให้ประกันตัวนายพันธิตร มหาเปารยะ ลูกชาย นาง วรกร จาติกวณิช ภรรยา นาย กรณ์ จาติกวณิช เปรียบเทียบกับคดีของ นาง ยู่ยี หรือ นาง นางชัชชญา หรือ นาง อลิสา อินทุสมิต ว่า ศาลชั้นต้นได้ให้ประกันตัวทั้งสองคนด้วยเงินประกัน 15000บาทเช่นกัน
แต่คดีของนาง ยู่ยี่นั้น พนักงานอัยการฟ้อง นางชัชชญาในข้อหานำยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตเพิ่มมาอีกข้อหาซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 2 (โคเคน) ไว้ในครอบครองเพียงข้อหาเดียวโดย
“ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนางชัชชญา 15 ปี ปรับ 1.5 ล้านบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับฎีกา ให้ยกคำร้อง ดังนั้น คุณยู่ยี่จึงต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ จำคุก 15 ปี”
ส่วนคดีของนาย โรม รังสิมันต์ ที่สังคมสงสัยว่าแค่ยกสามนิ้วแสดงอยากเลือกตั้ง ทำไมต้องประกันตัวถึง 100000บาทนั้น โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวว่า คดีนี้
พนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เสนอให้ศาลพิจารณา ซึ่งเป็นลักษณะความผิดต่อความมั่นคง และมีอัตราโทษสูงการปล่อยตัวชั่วคราวจึงต้องใช้วงเงินประกันสูงตามไปด้วย
ทางด้านประชาชนอาวุโส ข้องใจต่อว่า การที่นางยู่ยี่ แม่ลูกสาม ถูกอัยการตั้งข้อหาเพิ่มเติมนำยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น ข้อหานี้มีไว้ใช้กับคนไทยหรือคนต่างชาติ เมื่อคนไทยเดินทางเข้าปทตัวเอง ก.ม ข้อนี้จึงต้องตีความหรือไม่
และศาลฎีกาใช้ก.ม ม.23 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ใช่หรือไม่ จึงมีคำสั่ง “ไม่รับฎีกา” ทั้งที่เป็นคดีอาญา ทั้งที่เป็นเรื่องคดีที่มีสาระที่ต้องควรพิจารณา เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการติดคุกติดตารางของปชช.
เป็นเรื่องสิทธิที่ปชช.ผู้ตกเป็นจำเลยควรได้รับความยุติธรรม
ศาลยุติธรรม ใช้ก.ม นี้ โดยขัดรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ระบบตุลาการต้องมีการพิจารณาสามศาลหรือไม่
ประชาชนอาวุโสตั้งคำถามต่อศาลพร้อมเรียกร้องให้นักกฎหมายเข้ามาดูแลช่วยเหลือว่า ตนสงสัยว่าในการเสนอออกกฎหมายที่กล่าวนี้ ทำไมคนในสภาจึงยกมือเป็นฝักถั่วให้ออกมาได้ การออกก.ม นี้เป็นคุณสำหรับใคร เป็นโทษสำหรับใคร
การมีคำสั่ง ไม่รับฎีกา มีการวางแนวทางเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือประโยชน์ของจำเลย การอ้างม.23 ดังกล่าวเปิดช่องว่างให้จำเลยเสียโอกาสในการเรียกร้องหาความเป็นธรรมจากศาลฎีกาที่มีความรู้ความเข้าใจก.มได้ดีกว่าศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ แม้ว่าศาลทั้งสองจะมีประสบการณ์ทำงานนานก็จริง แต่ศาลฎีกา นานกว่าประสบการณ์มากกว่า แต่ไม่อยากทำงานหรืออย่างไร จึงต้องตราก.ม ริดรอนสิทธิที่จำเลยพึงจะได้ออกไป
ใส่ความเห็น