สภาทนายความ บทบาทไม่น่าชื่นชมกับลาภยศที่ได้มารุ่นแล้วรุ่นเล่า

การที่ศูนย์ดำรงธรรมนครสวรรค์ออกมาเตือนปชช.ให้ระวังทนายความจำพวกเลวหลายประการ ส่งผลให้สภาทนายความถึงกับร้อนรนขู่ฟ้องหมิ่นประมาทศูนย์ธำรงธรรมแห่งนั้น

แทนที่จะตรวจสอบว่าทนายความมีความประพฤติดังที่กล่าวจริงหรือไม่และพร้อมที่จะช่วยกันขจัดทนายเลวออกไปจากสารบบ

กลับกลายเป็นการต่อต้าน ปกป้อง ทนายด้วยกันเองว่า ในปทไทยนี้ไม่มีทนายเลวเกิดขึ้นสักคนเดียว

จะเห็นก็แต่ความเลวนั้นปิดไม่มิด สภาทนายความจึงจำต้องออกหน้ามากำจัดให้สังคมเห็นเช่นกรณีทนายโกงเงินประกันของเด็กหญิงคนหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้

สภาทนายความเป็นหน่วยงานที่มีการกินเงินงบประมาณของรัฐไปบริหารจัดการปีหนึ่งเป็นสิบล้านบาท ฉะนั้นคนที่ร้องเรียนทนายความชั่ว สภาทนายความจึงมีคณะกรรมการมรรยาททนายความคอยตรวจสอบพฤติกรรมความชั่วของทนายด้วยกันเอง

แต่ทนายชั่วมีหรือจะกลัว
เพราะสภาทนายความมาด้วยการเลือกตั้งด้วยสิทธิและเสียงของสมาชิกทนายความด้วยกันเอง

จึงต้องพยายามที่จะช่วยเหลือ รักษาฐานเสียงของตนเองไว้อย่างแน่นอนมากกว่าเสียงของปชช.ซึ่งไม่ได้มีประโยชน์ต่อการเข้ามาดำรงตำแหน่งอันใหญ่โตในสภาทนายความ

ความใหญ่โตของการเข้ามาดำรงตำแหน่งในสภาทนายความโดยเฉพาะนายกสภาทนายความคือการเข้าไปมีบทบาทในทางการเมือง จึงเห็นว่าตำแหน่งในวิชาชีพ ทนาย จึงถูกคัดสรรเลือกเข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกสนช หรือ องค์กรต่างๆ ที่มีอำนาจ

คนที่เป็นนายกสภาทนายความ จึงมีบทบาท มีตำแหน่ง เป็นที่ต้องการของทนายความที่อยากจะก้าวเข้ามามีอำนาจในทางสังคม

ฃึ่งปชช.หวังว่าจะเข้ามาทำหน้าที่ให้สมกับที่ส่วนหนึ่งของการดำเนินกิจการของสภาทนายความมาจากเงินภาษีของปชช.เช่นกัน

แต่เมื่อเกิดทนายชั่ว ทนายเลว ที่หน่วยงานรัฐเตือนปชชเช่นนี้ ควรหรือที่สภาทนายความจะออกอาการ ดิ้นสาด ขู่เอาผิดหน่วยงานของรัฐที่กล้าออกมาเปิดเผย

แม้กระทั่งสื่อ สภาทนายความยังไม่ละเว้นที่จะอวดอำนาจบารมี

อยากรู้ว่าทนายเลว ทนายชั่ว ทนายกินสองทาง ทนายทอดทิ้งคดี ลองเปิดรับเรื่องราวดู หรือไม่ลองถาม คุณ ปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ผู้นำต่อสู้ทางสาธารณสุข ดูว่า เธอเจออะไรมาในการต่อสู้คดี เธอเจอทนายแบบไหนมา จึงทำให้เธอต้องแพ้คดีโดยไม่น่าจะแพ้

เพราะอะไร ไปถามดู

เมื่อหลายเดือนก่อนมีคำร้องเรียนไปถึงคณะกรรมการมรรยาททนายความ โดยคนอาชีพสื่อ แจ้งเรื่องราวพฤติกรรมของทนายคนหนึ่ง ที่ฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยฉ้อโกง เป็นคดีอาญา เป็นคดีติดคุกหากจำเลยผิด

แต่ปรากฎว่ายังไม่ทันศาลจะไต่สวน ทนายคนนี้ขอถอนคดีออกจากสารบบ เพราะจำเลยสู้คดี

แทนที่สภาทนายความจะกวดขันพฤติกรรมของทนายความจริงตามกล่าวหาหรือไม่ หรือผิดถูกอย่างไรควรตรวจสอบ

กลับปรากฎว่า คณะกรรมการมรรยาททนายความ กลับมีคำสั่ง ยกคำกล่าวหา ไม่รับคำกล่าวหา เพราะพูดง่ายๆว่า คำกล่าวหาขาดอายุความในการร้องทุกข์

โดยใช้เทคนิคในการตีความทางกฎหมาย ที่ว่า “นับจากวันที่รู้ว่ากระทำความผิด”

ผู้ร้องรู้ว่าทนายความกระทำผิด เมื่อได้รับคำปรึกษาคดีจากทนายความคนหนึ่งฃึ่งเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการมรรยาททนายความที่รับอาสาช่วยเหลือสังคมผ่านทางเฟฃบุ๊ค

ส่วนคณะกรรมการมรรยาททนายความ ตัดสิน ว่า “นับจากวันที่รู้ว่ากระทำความผิด” คือ วันที่ศาลได้ตัดสินคดีนี้ คือ วันที่ทนายความขอถอนฟ้องคดี นั่นเอง

เทคนิค วิธีนี้ ศาลเองก็ชอบใช้

เป็นเทคนิคที่น่าละอาย น่าสมเพช

เพราะ ปชช.ไม่ใช่ผู้รู้กฎหมาย ไม่ใช่ทนายความ จึงจะรู้ในทันทีว่าทนายคนนั้นมีความผิดในวิชาชีพ ในจรรยาบรรณ

ถ้าอย่างนั้นจะกำหนดออกมาทำไมว่า”นับจากวันที่รู้ว่ากระทำความผิด”
ทำไมไม่ระบุไปเลยว่า “นับจากวันที่ศาลตัดสิน “
จะได้ไม่ทำให้ปชช.ต้องรู้สึกสังเวช เวทนา

ก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในองค์กร และภาพพจน์ ของ องค์กรนั้นๆ

เพียงเพราะจะขี้เกียจสอบ หรือ จะช่วยเหลือพวกกันเอง ไม่ทราบ แต่มันทำให้คนๆหนึ่งต้องรู้สึกถึงความไม่ชอบ ไม่เป็นธรรม เกิดขึ้น

เกิดการด่าทอสาปแช่ง ความอยุติธรรมจากการใช้เทคนิคด้านๆแบบนั้น

กรณีศูนย์ดำรงธรรมออกมาเตือนปชช.ถึงทนายที่มีลักษณะเลวๆหลายประการจึงเป็นเรื่องที่สภาทนายความควรที่จะรับไปติดตามตรวจสอบว่ามีทนายเลวแบบนั้นจริงหรือไม่ ถ้ามีสภาทนายความจะกำจัดออกไปอย่างไร ปชช.ที่พบทนายเลวจะทำอย่างไรได้บ้าง

อย่างนี้จึงน่าสรรเสริญ คุ้มกับเงินส่วนหนึ่งที่รัฐเอางบประมาณภาษีของปชช.ไปให้ใช้ช่วยเหลือ

คุ้มกับที่เอาหน่วยงานเอกชนเข้าไปดำรงสถานะทางสังคมแต่ไม่ได้ช่วยสังคมให้เกิดประโยชน์ดีขึ้น

สภาทนายความจึงควรจะปัดกวาดบ้านตนเองให้สะอาด ดีกว่าที่จะมาขู่ผู้คนให้กลัวเกรงเช่นนี้

มันน่าสมเพช มากกว่า จริงหรือไม่
พัชรินทร์ พันธวงศ์