ด้วยความเคารพ

โดย พัชรินทร์ 

e-mail :   nokgrajips@gmail.com

 

ตั้งคำถามถึงศาลยุติธรรม

ในฐานะสรยุทธ์เป็นนักข่าว เป็นนักอ่านข่าว อยากรู้จริงๆตอนฟังคำพิพากษานั้น “ยอมรับหรือไม่ยอมรับ” “เชื่อมั่นหรือไม่เชื่อมั่น”

สำหรับตนเองแล้ว ในคดีที่เจอ คำตัดสิน จากการเขียนคำพิพากษาแล้ว บางท่านเขียนได้ดีมาก จนทำให้ต้องยอมรับ แต่บางตอนอาจมีบ้างที่ความเข้าใจคลาดเคลื่ยนในทั้งข้อเท็จจริงและข้อก.ม

พอไปถึงชั้นอุทธรณ์ ท่านวิชา มหาคุณ บอก การเขียนคำพิพากษาต้องไม่เขียนแบบตีหัวเข้าบ้าน

เช่น จำเลยแบ่งโฉนดได้ช้า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา

ความจริงเมื่อจำเลยยื่นแบ่งโฉนดแล้ว หน้าที่ของการทำการรังวัด แบ่งแยก ออกโฉนด เป็นกรอบระยะเวลาของกรมที่ดินกำหนด 90วันทำการ จึงไม่ใช่เป็นเรื่องที่จำเลยจะทำช้าเองได้

พอขึ้นถึงศาลฎีกา การเขียนของทนายจึงสำคัญมาก เขียนโดยไม่มีข้อกฎหมายรองรับกล่าวอ้าง มีแต่ข้อเท็จจริงขึ้นไป

ศาลฎีกา ก็ใช้มาตรา23แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตัดสิน คดีไม่มีสาระ ไม่รับฎีกา

คำถามคือ คดีไม่มีสาระ มีหลักเกณฑ์ อย่างไร

ไม่มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ในคำพิพากษาให้นำมาใช้เป็นบรรทัดฐานทางคดีได้

ทำให้ความกังขาของสังคมต่อศาลยุติธรรม มัวหมอง

โดยเฉพาะเมื่อรธนกำหนดให้ปทไทยมีระบบศาลยุติธรรมสามศาล ชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา

แต่ กลับมีกฎข้อบังคับ 1.ให้คดีสิ้นสุดที่ชั้นอุทธรณ์
2. คดีแพ่ง คดีคุ้มครองผู้บริโภค คดีล้มละลาย ฯลฯ ต้องขออนุญาตฎีกา (จากระบบสิทธิกลายเป็นระบบขออนุญาต แสดงว่าปทไทยในทางความยุติธรรมเรามี สองระบบ คือ ระบบสิทธิ หมายถึงปชชสามารถใช้สิทธิในทางศาลได้สามศาล (คดีอาญา) แต่ปัจจุบันเราใช้สิทธิทางศาลในบางคดีได้ด้วยระบบขออนุญาต

เป็นสองระบบ ในปทเดียวกัน ทนายเผลอเรอเมื่อไรไม่ยื่นขออนุญาตก่อน คดีตกม้าตายทันที
สร้างความยุ่งยากให้เกิดขึ้น เพียงเพราะต้องการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา

เพราะผู้พิพากษาศาลฎีกามีน้อย มีงานหลายด้าน อย่างเวลานี้ที่เห็นคือต้องเป็นอาจารย์รับเชิญไปบรรยายป.วิแพ่งของกรมบังคับคดี ยังที่ต่างๆ เพื่อให้ความรู้ทางก.ม นี้ ต้องเป็นอาจารย์สอนก.ม ตามมหาวิทยาลัย ไม่นับรวมต้องไปประชุมสัมมนา มากมาย จนทำให้ศาลฎีกาที่มีจำนวนเพียง100กว่าท่านไม่สามารถพิจารณาคดีได้ทัน

ระบบสิทธิ ในการต่อสู้คดี สามศาล จึงเปลื่ยนแปลง เพิ่มเติม ลดน้อยถอยลง มาเป็นระบบขออนุญาต ด้วย

ฃึ่งปัจจุบันคดีแพ่งที่เกิดขึ้นหลัง พ.ย 58 ทุกคดี ต้องขออนุญาตฎีกาทั้งสิ้น

ในการขออนุญาตฎีกา นั้น เขาทำกันอย่างนี้
– ต้องเตรียมเอกสารคำร้อง ขออนุญาตฎีกา (ฝ่ายปชสศาลบอกว่า ใช้ 15ชุด ยื่นพร้อมกันกับคำฎีกา ที่ต้องใช้เอกสาร 15 ชุด เช่นกัน

(จะเปลืองกระดาษกันมากมายขนาดไหน)

หากศาลฎีกา ไม่อนุญาต ยกคำร้อง คำฎีกา ที่ส่งไปถูกทิ้งเสียของทันที

ทำไมต้อง15ชุด เพราะมีผู้พิพากษา ที่ต้องพิจารณาคำขอ15 ท่าน จึงต้องเตรียมพร้อมให้ท่าน เมื่อท่านพิจารณาอนุญาตแล้ว คำฎีกานั้นจึงจะจัดส่งให้องค์คณะที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
คำถามว่า 1. เมื่อท่านอนุญาตแล้วค่อยส่งคำฎีกา ต่อมาได้หรือไม่

2. จะยกเลิกมาตรา23แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ได้หรือไม่

3. จะยกเลิกระบบขออนุญาตได้หรือไม่

4. จะใช้สิทธิทางศาลตามรัฐธรรมนูญกำหนดได้หรือไม่

ขอฝากคำถามนี้ไปยังศาลยุติธรรม ได้โปรดพิจารณา