หักหน้าชะลอฟ้องของก.ยุติธรรม วันนี้ศาลยุติธรรมขอแก้ไขพรบ. ประมวลกฎหมายอาญารอการลงโทษแทนติดคุก
หักหน้าชะลอฟ้องของก.ยุติธรรม วันนี้ศาลยุติธรรมขอแก้ไขพรบ. ประมวลกฎหมายอาญารอการลงโทษแทนติดคุก
นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม แถลงกรณี พ.ร.บแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2559 ได้แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การรอการกำหนดโทษ การรอการลงโทษ และการกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติ ว่า มีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษจำคุกจำเลยที่กระทำผิดไม่ร้ายแรง โดยไม่จำเป็นต้องนำวิธีการแก้ไขฟื้นฟูจำเลยมาใช้เพื่อป้องกันมิให้กระทำผิดซ้ำ และกำหนดวิธีการเยียวยาผู้เสียหายอย่างเหมาะสม และยังเป็นการกำหนดมาตรการทางเลือกอื่นนอกจากการลงโทษจำคุกและปรับ
ดังนั้นนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา จึงออกคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับวิธีการรอการกำหนดโทษ การรอการลงโทษและการกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติพ.ศ. 2559 เพื่อให้ผู้พิพากษาใช้พิจารณาประกอบดุลยพินิจได้อย่างเหมาะสมแก่คดีต่างๆ โดยข้อเท็จจริงที่ศาลจะนำมาใช้ประกอบดุลยพินิจนั้น อาจได้จากการสอบถามจำเลย จากสำนวนสอบสวนหรือรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติ
ทั้งนี้ การที่ศาลจะรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษนั้น ให้มุ่งเน้นในกรณีที่เป็นการกระทำผิดครั้งแรกและจำเลยยังไม่สมควรถูกพิจารณากำหนดโทษให้เป็นมลทินติดตัว หรือหากจำเลยกระทำความผิดซ้ำ แต่ยังมีเหตุที่สามารถแก้ไขปรับปรุงและกลับตัวได้ ซึ่งศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ โดยเน้นการใช้มาตรการเพื่อแก้ไขฟื้นฟูและป้องกันไม่ให้จำเลยกระทำความผิดซ้ำ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น การรู้สำนึกถึงการกระทำความผิดและการชดใช้เยียวยาให้แก่ผู้เสียหายและการแก้ไขหรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดแก่สังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิด
นายสืบพงษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนโทษจำคุกควรนำมาใช้เมื่อจำเลยกระทำความผิดอาญาร้ายแรง และน่าจะเป็นอันตรายต่อสังคม และเมื่อต้องจำคุกก็ให้คำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการจำคุกระยะสั้น โดยใช้การกักขังหรือลงโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 23 หรือมาตรา 55 ประกอบด้วย มาตรการต่างๆ ที่ระบุไว้ในคำแนะนำฉบับนี้จะส่งผลให้จำเลยที่กระทำความผิด ที่ไม่ร้ายแรงได้รับโอกาสแก้ไขความผิดของตน โดยไม่มีมลทินติดตัว สร้างความรู้สำนึกในการกระทำความผิดให้แก่จำเลย รวมถึงเพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ทางด้านราษฎรอาวุโส กล่าวว่า คสช.โดยกระทรวงยุติธรรมพยายามที่จะออกก.ม ชะลอฟ้อง สำหรับโทษจำคุกไม่เกิน5ปี แต่ได้รับการคัดค้านจากศาลยุติธรรมทุกครั้งโดยอ้างเหตุผลหักล้างจนก.ยุติธรรมไม่สามารถออกก.มนี้ได้
จนมาถึงยุคคสช.มีแนวโน้มก.มชะลอฟ้องอาจออกได้ อาจเป็นเหตุให้ศาลยุติธรรมเร่งขอแก้ไขพรบ.ดังกล่าวมาใช้บังคับแทน
ราษฎรอาวุโส กล่าวต่อว่า เพื่อรักษาอำนาจของศาลไว้ วิธีการนี้ก็เป็นการดีที่สุด ต่อไปคนจะติดคุกน้อยลงโดยไม่ต้องวิ่งเต้นโดนหลอกให้เสียเงิน หรือไม่ต้องมีข้อครหาในสังคมว่าทำไมคดีทุจริตใหญ่ๆไม่ติดคุก รอลงอาญา แต่คดีคนจนๆทำผิดไม่เจตนาติดคุกทั้งสิ้น
ตนไม่รู้ว่า ศาลยุติธรรมจะแก้ปัญหาข้อครหาของสังคมเพื่อรักษาระบบตัวเองให้ปชช.เชื่อถือได้อย่างไร เพราะทุกวันนี้ตนเชื่อว่าปชช.สิ้นศรัทธาในความยุติธรรมมานานแล้ว แต่ไม่มีใครกล้าพูดออกมา
ใส่ความเห็น