บนความทุกข์ระทมของลูกหนี้มีรอยยิ้มดีใจจากหน่วยงานยุติธรรมหลายแห่ง ฟ้องศาลก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ฟ้องบังคับคดีก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมขายทอดทรัพย์

เหล่านี้เป็นผลประโยชน์บนความทุกข์ของคนเป็นหนี้ ที่ต้องจ่ายชำระแทนเจ้าหนี้เป็นจำนวนแห่งละ2.5 % ของวงเงินขายทอดทรัพย์ ของวงเงินฟ้องศาล

หากรัฐบาลสามารถทำให้คนไม่เป็นหนี้ เพราะมีกิน มีใช้ ธุรกิจราบรื่นไม่ติดขัดปัญหานี้จะไม่เกิด แต่เมื่อเกิดมาแล้วค่าธรรมเนียมที่เรียกๆกันถึง2.5%นั้นมันแพงเกินเหตุที่ลูกหนี้(เจ้าหนี้ก็ให้ลูกหนี้จ่ายแทน) สมควรจ่ายหรือไม่

เมื่อข้าราชการเหล่านั้นกินเงินเดือนจากปชช.อยู่แล้ว รัฐบาลเก็บภาษีจากปชชไปบริหารจัดการอยู่แล้ว จะมาเรียกเงินค่าดำเนินการหวังเอาเงินจากภาษีอื่นๆอย่างขูดรีดจะถูกต้องหรือ

ตัวเลขการเปิดเผยรายได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดีปี59 ระยะเวลาเพียงแค่ แปดเดือนสามารถขายทอดทรัพย์ได้ถึง 103,008,196,024 บาท หากคิดเป็นค่าธรรมเนียมในการขาย กรมบังคับคดีจะมีรายได้เข้าถึง 2575 ล้านบาท และปีหน้าคาดว่าจะขายทรัพย์ได้ถึง201000ล้านบาท สะท้อนภาพได้ว่าธุรกิจเสียหาย หรือหนี้ของปชช.ในปี59สูงพุ่งพรวดรอการขายทอดทรัพย์เป็นเท่าตัว ของปีนี้

เงินค่าธรรมเนียมตัวนี้ส่งผลให้กรมบังคับคดีเร่งรีบที่จะทำผลงานการขายทอดตลาดให้เร็วที่สุด เพราะรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกส่งกลับมาให้กรมไว้ใช้จ่าย เป็นสวัสดิการให้พนักงาน กิน เที่ยว สัมมนา

ฃึ่งผู้บริหารปัจจุบันมีแนวนโยบายให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้ ในการต่อสู้คดีเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้เอาเปรียบลูกหนี้ ขณะเดียวกันพนักงานบังคับคดี และ พิทักษ์ทรัพย์ จะถูกกวดขันเรื่องการทุจริตอย่างเข้มงวด

เช่นเดียวกับศาลยุติธรรมจะได้รับเงินค่าธรรมเนียมในการวางศาลฃึ่งไม่เปิดเผยว่าปีหนึ่งๆได้จำนวนกี่พันล้านบาท เงินจำนวนนั้นส่งเข้ากระทรวงการคลังแต่บางส่วนส่งกลับมาให้ใช้จ่ายเป็นสวัสดิการ กิน เที่ยว สัมมนา เช่นกัน

เงินจำนวนเหล่านี้คือเงินบนความทุกข์ นำ้ตา ของลูกหนี้ ทั้งนั้น หากคิดจะแก้ไขก.ม ประมวลแพ่งและพาณิชย์ และ อาญา ตลอดจนวิธีพิจารณาความแพ่ง ความอาญา อย่าลืมที่จะแก้ไขลดค่าธรรมเนียมศาล ลดค่าธรรมเนียมขาย ให้เพียงแค่1%ก็ไม่รู้จะรวยเท่าไรกันแล้ว

 

http://www.led.go.th/datacenter/pdf/prb20-2557.pdf

พรบ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใหม่บางมาตรา